บางครั้งก็เห็นกองทุนตราสารหนี้ บางครั้งก็เห็นกองทุนหุ้น
เอ๋แล้วแบบนี้ กองทุนมันมีกี่ประเภท แล้วเราลงทุนอะไรผ่านกองทุนได้บ้างนะ
มาทำความรู้จักกับประเภทของกองทุนกัน
┏━━━━━━━━━━━━━┓
🍭DCA ที่ FinVest เจ๋งอย่างไร? กดดูเลย👆
🍭มัดรวมโปรโมชันกองทุนหลายต่อ ที่เดียวจบ อ่านเพิ่มเติม👆
┗━━━━━━━━━━━━━┛
ทำไมต้องรู้จักประเภทของกองทุน
ประเภทของกองทุนก็เหมือนแคตตาล็อกสินค้า ถ้าเรารู้ว่ามีสินค้าอะไร อยู่หมวดไหนขายบ้าง จะทำให้เราเห็นภาพกว้างๆ ก่อนที่เราจะซื้อสินค้าใดๆ ก็ตาม
กลับมาที่เรื่องของการลงทุน ประเภทของกองทุนมีผลต่อการกลยุทธ์การจัดพอร์ต ดังนั้น รู้ไว้ดีกว่าไม่รู้
กองทุนรวมสามารถแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ได้ 5 กลุ่มดังนี้
1.กลุ่มตราสารทุน
ลงทุนในคราสารทุน (หุ้น) เป็นหลัก โดยอาจจะใช้เกณฑ์การสร้างพอร์ตจากขนาดตลาดของหุ้น ภูมิลำเนา หรือกลุ่มอุตสาหกรรม ก็ได้
2.กลุ่มตราสารหนี้
ลงทุนในตราสารหนี้เป็นหลัก โดยจะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ 2 กลุ่ม ได้แก่ ตราสารหนี้ในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน และต่างประเทศ
3.กลุ่มกองทุนรวมผสม
ลงทุนทั้งหุ้นและตราสารหนี้ในกองทุนเดียว แบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ กองทุนผสมในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน และต่างประเทศ
4.กลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์/กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน/กองทุน REIT
กองทุนกลุ่มนี้จะเน้นการลงทุนไปที่อสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐาน และ REIT
5.กองทุนรวม Commodities
เน้นลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่เป็น Commodities เช่น น้ำมัน โลหะมีค่า เป็นต้น
ประเภทของกองทุนรวม แบ่งตาม AIMC
1.กองทุนรวมตราสารทุน
กองทุนรวมตราสารทุนในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน
1.1 Equity Small – Mid Cap
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นไทยที่มี market capitalization ไม่เกิน 50,000 ล้านบาทโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ การพิจารณาค่า market capitalization ให้ดู ณ วันสิ้นไตรมาสที่รายงาน
ตัวอย่างเช่น ASP-SME
1.2 Equity Large Cap
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นใน SET50 โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น JB25
1.3 Equity General
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นใน SET mai หรืออื่น ๆ
ตัวอย่างเช่น ABSM
กองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ
1.4 US Equity ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนของประเทศอเมริกา โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น K-USXNDQ-A(A)
1.5 Japan Equity
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น LHJAPE-A
1.6 European Equity
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนต่างประเทศกลุ่มยุโรป โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น MEURO
1.7 Greater China Equity
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนต่างประเทศกลุ่มเกรทเทอร์ไชน่า คือ จีน ฮ่องกง และไต้หวัน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น KWI DRAGON
1.8 Global Equity
ตราสารทุนต่างประเทศทั่วโลกที่เน้นลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศในทวีปยุโรป เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80%
ตัวอย่างเช่น ONE-UGG-RA
1.9 Emerging market
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนต่างประเทศกลุ่ม emerging market ในทวีปเอเชีย ละตินอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น K-GEMO
1.10 Asia Pacific Ex Japan
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนต่างประเทศกลุ่มเอเชียแปซิฟิค เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และ เกาหลี เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนของประเทศญี่ปุ่น < 10% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น SCBAXJ(A)
1.11 India Equity
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนของประเทศอินเดีย โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น KF-INDIA
1.12 ASEAN Equity
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนต่างประเทศกลุ่ม ASEAN โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น KT-ASEAN-A
1.13 Vietnam Equity
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนของประเทศเวียดนาม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น PRINCIPAL VNEQ-A
กองทุนรวมตราสารทุนประเภท Sector Fund
1.14 Health Care
กองทุนลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนของกลุ่ม Healthcare โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น MHEALTHG
1.15 Energy
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนกลุ่ม Energy โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น K-ENERGY
กองทุนรวมตราสารทุนประเภทกองทุนรวมดัชนี
1.16 SET 50 Index Fund
กองทุนรวมดัชนีหรือกองทุนรวมอีทีเอฟโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อัตราผลตอบแทนของกองทุนใกล้เคียงกับอัตราผลตอบแทนของดัชนี SET50 มากที่สุด
ตัวอย่างเช่น M-S50
2.กองทุนรวมตราสารหนี้
กองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน
2.1 Short Term Government Bond
ลงทุนในเงินฝากตราสารหนี้ของภาครัฐตามที่สำนักงานกำหนดให้ลงทุนได้โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และเฉลี่ยจะมีอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง <= 1 ปี
ตัวอย่างเช่น PRINCIPAL DAILY FIX
2.2 Mid Term Government Bond
ลงทุนในเงินฝากตราสารหนี้ของภาครัฐตามที่สำนักงานกำหนดให้ลงทุนได้โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และเฉลี่ยจะมีอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง > 1 – 3 ปี
ตัวอย่างเช่น KFGOVRMF
2.3 Short Term General Bond
ลงทุนในเงินฝากตราสารหนี้ทั่วไปตามที่สำนักงาน กำหนดให้ลงทุนได้โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และเฉลี่ยจะมีอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง <= 1 ปี
ตัวอย่างเช่น KKP S-PLUS
2.4 Mid Term General Bond
ลงทุนในเงินฝากตราสารหนี้ทั่วไปตามที่สำนักงานกำหนดให้ลงทุนได้โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และเฉลี่ยจะมีอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง > 1 – 3 ปี
ตัวอย่างเช่น KFAFIX-A
2.5 Long Term General Bond
ลงทุนในเงินฝากตราสารหนี้ทั่วไปตามที่สำนักงานกำหนดให้ลงทุนได้โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และเฉลี่ยจะมีอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง >= 3 ปี
ตัวอย่างเช่น KTILF
2.6 Money Market – Government
กองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารหนี้ระยะสั้นของภาครัฐตามที่สำนักงานกำหนดให้ลงทุนได้โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น K-CASH
2.7 Money Market – General
กองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารหนี้ระยะสั้นของภาครัฐตามที่สำนักงานกำหนดให้ลงทุนได้โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี < 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น K-MONEY
กองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศ
2.8 Emerging Market Bond Fully F/X Hedge
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ต่างประเทศกลุ่ม emerging market ในทวีปเอเชีย ละตินอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ >= 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ
2.9 Emerging Market Bond Discretionary F/X Hedge or Unhedge
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ต่างประเทศกลุ่ม emerging market ในทวีปเอเชีย ละตินอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศบางส่วน หรือตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน หรือไม่ป้องกันความเสี่ยง
ตัวอย่างเช่น SCBEMBOND
2.10 Global Bond Fully F/X Hedge
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ต่างประเทศทั่วโลก ที่เน้นลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศในทวีปยุโรป เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ >= 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ
ตัวอย่างเช่น KKP G-UBOND-H
2.11 Global Bond Discretionary F/X Hedge or Unhedge
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้และเงินฝากต่างประเทศทั่วโลก ที่เน้นลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศในทวีปยุโรป เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศบางส่วน หรือตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน หรือไม่ป้องกันความเสี่ยง
ตัวอย่างเช่น SCBGLOB
2.12 High Yield Bond
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสาร non-investment grade/unrated โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น USDHY-A
3. กองทุนรวมผสม
กองทุนรวมผสมในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน
3.1 Aggressive Allocation
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินตลอดจนการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุน 0-100% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น KKP SG-AA Extra
3.2 Moderate Allocation
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินตลอดจนการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี > 25% แต่ < 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น KTSRI-A
3.3 Conservative Allocation
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินตลอดจนการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี <= 25% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น KF1MILD-A
กองทุนรวมผสมต่างประเทศ
3.4 Foreign Investment Allocation
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินตลอดจนการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนต่างประเทศ 0-100% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น BCAP-GMA
4.กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์/Infra/REIT
4.1 Thai Free Hold
ลงทุนในกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
4.2 Thai Lease Hold
ลงทุนในสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิในการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สิน
4.3 Thai Mixed
ลงทุนในกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และลงทุนในสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิในการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สิน
4.4 Fund of Property fund – Thai ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ REIT กองทุน Infrastructure ที่เน้นลงทุนในประเทศโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (มีการลงทุนในต่างประเทศเล็กน้อย < 20% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม)
ตัวอย่างเช่น LHTPROP
4.5 Fund of Property fund – Thai and Foreign
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ REIT กองทุน Infrastructure ที่ลงทุนในต่างประเทศบางส่วนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 20% แต่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น SCBPINA
4.6 Fund of Property fund – Foreign
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ REIT กองทุน Infrastructure ที่เน้นลงทุนในต่างประเทศโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น K-GPROP-A(A)
5.กองทุนรวม Commodities
5.1 Broad Composite Commodities index
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสินค้าโภคภัณฑ์ตามดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ร่วม (Broad commodities index) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น PRINCIPAL GCF
5.2 Commodities Energy
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสินค้าโภคภัณฑ์ด้านพลังงาน เช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และถ่านหิน เป็นต้น โดยไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรง หรือ โดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาที่ให้ผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น KT-OIL
5.3 Commodities Precious Metals
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสินค้าโภคภัณฑ์ด้านโลหะมีค่า เช่น ทองคำ เงิน และแพลตินัม เป็นต้น โดยไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาที่ให้ผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ตัวอย่างเช่น TGoldBullion-UH
5.4 Commodities Agriculture
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสินค้าโภคภัณฑ์ด้านเกษตรกรรม โดยไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาที่ให้ผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
6.กองทุนรวมที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้
6.Miscellaneous
กองทุนรวมที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้
ตัวอย่างเช่น DAOL-FXALPHA-UI-A
┏━━━━━━━━━━━━━┓
💫FinVest แอปลงทุนแบบใหม่ ที่ได้รวบรวมกองทุนทั่วโลก มาให้คุณเลือกกองทุนที่เหมาะสม และตรงกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ได้ง่าย ๆ
⭐️ลงทุนได้ทั้งไทยและเทศ แอปแรกในไทย ให้คุณลงทุนได้จาก 42 บลจ. ชั้นนำ
⭐️ใช้งานง่าย เริ่มต้นแค่มือถือเครื่องเดียว ทำได้ตั้งแต่เปิดบัญชียันซื้อขายง่ายแค่ปลายนิ้ว
⭐️เคียงข้างคุณ มีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยอัปเดตสภาพตลาด รวมถึงชี้เป้าการลงทุน
เริ่มลงทุน – แอป FinVest
สอบถาม – Line
ติดตาม – Instagram
อ่านบทความ – Website
┗━━━━━━━━━━━━━┛
#FinVest #YourWingsYourWays #IPO
อ้างอิง AIMC (สมาคมบริษัทจัดการลงทุน)
*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
**การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน