อย่าเพิ่งลงทุน SSF RMF ถ้ายังไม่ได้ Check 13 ข้อนี้ โดย FinVest

อย่าเพิ่งลงทุน SSF RMF ถ้ายังไม่ได้ Check 13 ข้อนี้ โดย FinVest

หย่ะ หย่ะ หย่ะ อย่าเพิ่งลงทุน SSF RMF ทีเดียวเชียว ถ้าไม่ได้เหลียวมอง 13 Check 13 ข้อนี้

.

┏━━━━━━━━━━━━━┓

🍭DCA ที่ FinVest เจ๋งอย่างไร? กดดูเลย👆

🍭มัดรวมโปรโมชันกองทุนหลายต่อ ที่เดียวจบ อ่านเพิ่มเติม👆

┗━━━━━━━━━━━━━┛

.

อย่าเพิ่งลงทุน SSF RMF ถ้ายังไม่ได้ Check 13 ข้อนี้ โดย FinVest

.

อย่าเพิ่งลงทุน SSF RMF ถ้ายังไม่ได้ Check 13 ข้อนี้ โดย FinVest

.

1. ผลตอบแทนที่คาดหวังเป็นอย่างไร ?

  • ถ้าต้องการปกป้องเงินต้น พร้อมกับสิทธิลดหย่อน เราแนะนำกองทุน Money Market 
  • ถ้าต้องการผลตอบแทน 2-5% ต่อปี เราแนะนำกองทุนตราสารหนี้
  • ถ้าต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้นราวๆ 4-5% ต่อปี อาจต้องลงทุนในกองทุน Multi-Asset
  • ถ้าต้องการผลตอบแทน 7-9% อาจเป็นกองทุนหุ้น
  • ถ้าต้องการผลตอบแทนมากกว่านั้น พร้อมความเสี่ยงที่มากกว่า อาจต้องลงในกลุ่ม Thematic
  • ถ้าต้องการ Hedge Port ให้เสถียรขึ้น เราแนะนำกองทุน Commodity

.

2. อ่าน Fund Fact Sheet หรือยัง ?

ก่อนลงทุน เราขอเชิญชวนให้นักลงทุนอ่าน FactSheet อย่างน้อยหนึ่งครั้ง

โดยสิ่งที่เราจะได้คร่าวๆ จากการอ่าน FactSheet คือ

  • นโยบายการลงทุน
  • กองทุนลงทุนในสินทรัพย์อะไร
  • ค่าธรรมเนียมเป็นอย่างไร
  • ความเสี่ยงเป็นอย่างไร

แล้วถ้าอ่านไม่เป็นล่ะ ? เรามีวิธีอ่านให้แล้ว ⏲️ อ่าน หนังสือชี้ชวน กองทุนรวม ยังไง ให้เข้าใจ ใน 5 นาที

.

3. ต้องการลงทุนนานแค่ไหน ?

  • ถ้าสามารถลงทุนได้ 10 ปี เราแนะนำ SSF
  • ถ้าต้องการลงทุนเพื่อเป้าหมายการเกษียณ เราแนะนำ RMF
  • ถ้าอยากออมเงิน แต่ไม่อยากผูกมัด เราแนะนำกองทุนรุ่นปกติ

.

4. อายุเท่านี้ SSF หรือ RMF ดี ?

  • ถ้าอายุน้อยกว่า 45 SSF เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
  • ถ้าอายุมากกว่า 45 RMF เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

ทำไมเป็นแบบนั้น ชวนอ่าน อายุเท่านี้ อยากลดหย่อนภาษี จะเลือก SSF หรือ RMF ดีต่างกันยังไง ?

.

5. รับความเสี่ยงได้แค่ไหน ?

  • ถ้าเสี่ยงได้มาก ทนเห็นเงินต้นติดลบ 20-30% แนะนำกองทุนหุ้น
  • ถ้ารับความเสี่ยงได้ปานกลาง แนะนำกองทุน Multi-Asset 
  • ถ้ารับความเสี่ยงได้ต่ำ แนะนำกองทุนตราสารหนี้
  • ถ้ารับไม่ได้เลย แนะนำกองทุน Money Market แต่ก็มีความเสี่ยงที่เงินจะโตได้ไม่มาก

.

6. อยากติดตามข่าวสารมากแค่ไหน ?

  • ถ้าไม่อยากติดตามมาก แนะนำกองทุนกลุ่ม Multi-Asset

.

7. ต้องการผลตอบแทนในรูปแบบใด ?

  • ถ้าต้องการเงินปันผล ต้องเลือก SSF แต่ก็ต้องเสียภาษีบนเงินปันผลบางส่วนนะ
  • ถ้าอยากให้เงินโตแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ก็เลือกได้ทั้ง SSF RMF

.

8. ต้องการลงทุนทุกปีหรือไม่ ?

ข้อนี้หลายคนอาจไม่รู้ แต่ว่าการซื้อ RMF จำเป็นต้องซื้อ อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และต้องไม่ระงับการซื้อ RMF เกิน 1 ปี (อย่างน้อยที่สุดคือต้องซื้อปีเว้นปี)

ในขณะที่ SSF ถ้าเจอที่ใช่ ถูกใจแล้ว เจอ จ่าย จบ ได้เลย

.

9. รู้เงื่อนไขลดหย่อนของ SSF/RMF แล้วใช่ไหม ?

  • SSF ซื้อได้ 30% ของรายได้ รวมไม่เกิน 200,000  บาท และเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • RMF ซื้อได้ 30% ของรายได้ รวมไม่เกิน 300,000 บาท และเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ค่าลดหย่อนอื่นๆ ที่ต้องมารวม มีอะไรบ้าง รู้ก่อนเตรียมตัวก่อน  กองทุนลดหย่อนภาษี SSF & RMF คืออะไร​? แตกต่างกันอย่างไร?

.

10. รู้ข้อบังคับของ SSF/RMF แล้วใช่ไหม ?

การทำผิดกฎของ SSF/RMF 

  • ถ้าผิดเงื่อนไขการขาย จะโดนเรียกคืนภาษีได้รับการลดหย่อนย้อนหลังทุกปี และหากชำระล่าช้า ต้องเสียค่าปรับดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน ของจำนวนเงินภาษีที่ได้รับลดหย่อน รวมทั้ง ต้องนำกำไรไปเสียภาษีด้วย
  • ถ้าผิดเงื่อนไขการซื้อ ต้องนำกำไรส่วนเกินไปเสียภาษีด้วย

.

11. คุณมีสิทธิลดหย่อนภาษีอื่นอีกไหม ?

ข้อนี้ที่เราเจอบ่อยๆ มักจะเป็นข้าราชการที่มีการออมใน กบข. ไปบ้างแล้ว แต่ดันลืมทำการตรวจสอบ พอถึงเวลาแล้วไปซื้อสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ แล้วปรากฏว่าใช้สิทธิลดหย่อนเต็มวงเงินไปหมดแล้ว

ยังไงใครมีสิทธิอะไรก็ตรวจสอบให้ดีๆ จะได้ไม่มาเสียดายทีหลัง

.

12. มีสินทรัพย์ทางการเงินอื่นลดภาษีได้ดีกว่าไหม ?

อาจมีบางคนต้องการซื้อกองทุนเพียงเพื่อ “ลดหย่อนภาษี” แต่ลืมไปว่ามีสินทรัพย์ทางการเงินอย่างอื่น เช่นประกัน ที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน

และสำหรับใครที่ต้องการซื้อกองทุนแค่สิทธิลดหย่อนภาษี เราขอพูดตรงนี้ด้วยความเป็นห่วงและหวังดีว่า โปรดตรวจสอบแผนการเงินส่วนบุคคของตัวเองให้ดี 

  • ถ้าคุณต้องการเงินออมงอกเงย คุณมาถูกทางแล้ว เพราะกองทุนคือคำตอบ
  • ถ้าคุณอยากปิดความเสี่ยง พร้อมกับลดภาษีไปด้วย เราอาจต้องแนะนำให้คุณไปซื้อประกันแทน
  • หรือถ้าคุณอยากลดหย่อนภาษีแล้วได้บุญ การบริจาคอาจเป็นคำตอบที่ดีกว่า

และถึงแม้เราจะขายกองทุน แต่เราเชื่อว่าการมอบสิ่งที่ดี ที่ตรงใจที่สุดให้กับลูกค้าคือหน้าที่ของเรา

.

13. เป้าหมายการลงทุนของคุณคืออะไร ?

ท้ายสุดและสำคัญที่สุด ข้อนี้จะมาชวนทุกคนได้ทบทวนว่าเราลงทุนไปเพื่ออะไร

  • ลงทุนเพื่อเก็บเงินซื้อบ้าน
  • ลงทุนเพื่อเก็บเงินไปเที่ยว
  • ลงทุนเพื่อเก็บเงินแต่งงาน
  • ลงทุนเพื่อนำเงินไปเรียนต่อ
  • อื่นๆ

แต่ไม่ว่าเป้าหมายการลงทุนของคุณคืออะไร พวกเรา FinVest เป็นกำลังใจให้เสมอนะ

.

┏━━━━━━━━━━━━━┓

💫 FinVest แอปลงทุนแบบใหม่ ที่ได้รวบรวมกองทุนทั่วโลก มาให้คุณเลือกกองทุนที่เหมาะสม และตรงกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ได้ง่าย ๆ

⭐️ ลงทุนได้ทั้งไทยและเทศ แอปแรกในไทย ให้คุณลงทุนได้จาก 43 บลจ. ชั้นนำ

⭐️ ใช้งานง่าย เริ่มต้นแค่มือถือเครื่องเดียว ทำได้ตั้งแต่เปิดบัญชียันซื้อขายง่ายแค่ปลายนิ้ว

⭐️ เคียงข้างคุณ มีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยอัปเดตสภาพตลาด รวมถึงชี้เป้าการลงทุน

🔗 เริ่มลงทุน – แอป FinVest

🔗 สอบถาม – LINE

🔗 ติดตาม – Facebook / Instagram

🔗 อ่านบทความ – Website

┗━━━━━━━━━━━━━┛

#FinVest #YourWingsYourWays #SSF #RMF #Checklist

.

*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต

**การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

Related Posts