ถ้าคุณลงทุนในกองทุน GS India Equity ด้วยเงิน 100 บาทเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
มาวันนี้ จำนวนเงินที่ลงไปจะกลายเป็น 264 บาท
คิดเป็นผลตอบแทน 10.2% และที่สำคัญ ชนะดัชนี MSCI India IMI ที่ทำได้ 8.2%
อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้ GS India Equity ทำผลตอบแทนได้ดีขนาดนี้?
┏━━━━━━━━━━━━━┓
🍭DCA ที่ FinVest เจ๋งอย่างไร? กดดูเลย👆
🍭มัดรวมโปรโมชันกองทุนหลายต่อ ที่เดียวจบ อ่านเพิ่มเติม👆
┗━━━━━━━━━━━━━┛
อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้กองทุนหุ้นอินเดียจาก Goldman Sachs Asset Management ทำผลตอบแทนได้ดีขนาดนี้? เอาล่ะถ้าพร้อมแล้วไปกันเลย
1.เลือกธุรกิจที่ดี
ความเก่งอย่างแรกของกองทุนหุ้นอินเดียนี้คือการเลือกหุ้น กองทุนจะมองหาคีย์หลักๆ 2 อย่างก่อนจะเลือกหุ้นเข้าพอร์ต
- คุณภาพของตัวธุรกิจ: เน้นที่ ความได้เปรียบในการแข่งกัน คุณภาพในการจัดการบริษัทและกลยุทธ์ รวมถึงหลัก ESG
- สภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม: วิเคราะห์การเติบโตของอุตสาหกรรม ความดุเดือดในการแข่งขัน และการเข้ามากำกับของทางการ
โดยกองทุนอินเดียนี้คัดเลือกบริษัทจาก 800 บริษัท เหลือลงทุนเพียง 70-100 บริษัทเท่านั้น
2.ใช้วิธีประเมินมูลค่าที่เหมาะสม
ความยากอย่างหนึ่งในการลงทุนอินเดียคือ ตลาดหุ้นอินเดียมักถูกมองว่า “แพง” อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้การประเมินมูลค่าแบบทั่วไป ใช้แล้วมองไม่เห็นโอกาส
ทำให้ทางทีมของ Goldman Sachs เลือกใช้วิธีการประเมินมูลค่าหลากหลายวิธี เพื่อหาหุ้นที่น่าสนใจที่สุด โดยใช้วิธีการตั้งแต่
- DCF
- Sum of the parts
- Relative Valuation
- Asset light Valuation
เพื่อให้ได้บริษัทที่น่าสนใจที่สุดเข้าพอร์ตการลงทุน
3.เน้นลงทุนในหุ้นขนาดเล็กและกลาง เลยสร้างผลตอบแทนที่เผ็ดร้อนได้
นอกจากการเลือกหุ้นที่ดี ในราคาที่ดึงดูด เข้าพอร์ตการลงทุนแล้ว ทาง GS India Equity ยังเน้นไปที่หุ้นขนาดเล็กและขนาดกลางอีกด้วย เนื่องจากยังมีรันเวย์ให้เติบโตอีกมาก เมื่อเทียบกับหุ้นขนาดใหญ่
โดยในพอร์ตการลงทุนแบ่งสัดส่วนหุ้นขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ได้ดังนี้ (31 พฤษภาคม 2566)
- หุ้นขนาดเล็ก 30% (ดัชนีชี้วัดมี 15%)
- หุ้นขนาดกลาง 16% (ดัชนีชี้วัดมี 15%)
- หุ้นขนาดใหญ่ 52% (ดัชนีชี้วัดมี 70%)
การเพิ่มน้ำหนักในหุ้นขนาดเล็ก ทำให้ผลตอบแทนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ของ GS India Equity (31 พฤษภาคม 2566) ทำผลตอบแทนได้ 10.2% ต่อปี ขณะที่ดัชนีชี้วัด India IMI ที่ทำได้แค่ 8.2% ดีกว่าดัชนีชี้วัดขึ้นไปอีก
4.ผลงานทั้งหมดของ GS India Equity เกิดจากทีมงานที่มีคุณภาพ
ผลงานที่ Outperform แบบนี้ต้องยกความดีความชอบให้ทีมงานผู้จัดการกองทุนที่อยู่เบื้องหลัง โดยกองทุนบริหารงานโดยทีมงาน 8 ท่าน นำทีมโดยคุณ Hiren Dasani, CFA และยังเป็น co-head of Emerging Markets
มากไปกว่านั้น ทีมงานภาคพื้นอินเดียนำทีมโดยคุณ Aman Batra หัวหน้าแผนกวิเคราะห์หุ้นอินเดียประจำเมืองมุมไบ ประสบการณ์ทำงานกว่า 22 ปี
โดยทั้งทีมมีการเข้าพบบริษัทจดทะเบียนในหนึ่งปีไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันครั้ง เพื่อติดตามข้อมูลการทำงานของบริษัทต่างๆ
5.GS India Equity ได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจอินเดียที่โตวันโตคืน
อีกเรื่องที่ไม่พูดคงไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจอินเดียตอนนี้อยู่ในช่วงที่กำลังโต เป็นเหมือน “ลมใต้ปีก” ของกองทุน ทำให้การลงทุนในอินเดียยิ่งทวีความน่าสนใจกว่าเดิม
เศรษฐกิจอินเดียมีประเด็นอะไรน่าสนใจบ้าง? ขอสรุปให้สั้นๆ ดังนี้
- อายุเฉลี่ยของประชากรอยู่ที่ 28 ปี (ต่ำกว่าจีน 10 ปี)
- กำไรบริษัทจดทะเบียนคาดว่าจะโต 11.5% จนถึงปี 2030
- หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ต่ำ (น้อยกว่า 40%)
- GDP per capita ตอนนี้อยู่ที่ 2,100 เหรียญต่อคน เทียบเท่าของประเทศจีนเมื่อปี 2006
6.ช่องทางการลงทุนใน GS India Equity
จะเห็นว่าภาพรวมเศรษฐกิจอินเดียอยู่ในช่วงขาขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะขึ้นต่อไปเรื่อยๆ จะดีกว่าไหมถ้าเราจะกระโดดขึ้นรถ ไปลงทุนในอินเดีย ผ่านกองทุนอินเดียที่ทำได้ดีกว่าดัชนีชี้วัดอย่างกอง GS India Equity
- ลงทุนผ่าน GS India Equity Base Acc USD โดยตรงได้แล้วผ่านแอป FinVest
- หรือจะซื้อผ่าน Feeder Fund อย่าง TMBINDAE ก็แสนง่ายผ่านแอป FinVest
┏━━━━━━━━━━━━━┓
💫FinVest แอปลงทุนแบบใหม่ ที่ได้รวบรวมกองทุนทั่วโลก มาให้คุณเลือกกองทุนที่เหมาะสม และตรงกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ได้ง่าย ๆ
⭐️ลงทุนได้ทั้งไทยและเทศ แอปแรกในไทย ให้คุณลงทุนได้จาก 42 บลจ. ชั้นนำ
⭐️ใช้งานง่าย เริ่มต้นแค่มือถือเครื่องเดียว ทำได้ตั้งแต่เปิดบัญชียันซื้อขายง่ายแค่ปลายนิ้ว
⭐️เคียงข้างคุณ มีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยอัปเดตสภาพตลาด รวมถึงชี้เป้าการลงทุน
เริ่มลงทุน – แอป FinVest
สอบถาม – Line
ติดตาม – Instagram
อ่านบทความ – Website
┗━━━━━━━━━━━━━┛
#FinVest #YourWingsYourWays #GSAM #GoldmanSachs #India
อ้างอิง: Goldman Sachs Asset Management, IMF, UBS, Government of India, DPIIT
*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
**การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน