ใครถือกองทุน Pimco ต้องรู้ ตราสารหนี้ AT1 ของ Credit Suisse คืออะไร ทำไมมูลค่าเป็นศูนย์ได้ แล้วถือได้ต่อหรือพอแค่นี้? โดย FinVest

ใครถือกองทุน Pimco ต้องรู้ ตราสารหนี้ AT1 ของ Credit Suisse คืออะไร ทำไมมูลค่าเป็นศูนย์ได้ แล้วถือได้ต่อหรือพอแค่นี้? โดย FinVest

ใครถือกองทุน Pimco ต้องรู้ ตราสารหนี้ AT1 ของ Credit Suisse คืออะไร ทำไมมูลค่าเป็นศูนย์ได้ แล้วถือได้ต่อหรือพอแค่นี้? โดย FinVest

ใครถือกองทุน Pimco ต้องรู้ ตราสารหนี้ AT1 ของ Credit Suisse คืออะไร ทำไมมูลค่าเป็นศูนย์ได้ แล้วถือได้ต่อหรือพอแค่นี้? โดย FinVest
ใครถือกองทุน Pimco ต้องรู้ ตราสารหนี้ AT1 ของ Credit Suisse คืออะไร ทำไมมูลค่าเป็นศูนย์ได้ แล้วถือได้ต่อหรือพอแค่นี้? โดย FinVest
ใครถือกองทุน Pimco ต้องรู้ ตราสารหนี้ AT1 ของ Credit Suisse คืออะไร ทำไมมูลค่าเป็นศูนย์ได้ แล้วถือได้ต่อหรือพอแค่นี้? โดย FinVest
ใครถือกองทุน Pimco ต้องรู้ ตราสารหนี้ AT1 ของ Credit Suisse คืออะไร ทำไมมูลค่าเป็นศูนย์ได้ แล้วถือได้ต่อหรือพอแค่นี้? โดย FinVest

เมื่อกิจการหนึ่งล้มลง ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับผลชดเชยหลังผู้ถือตราสารหนี้เสมอ แต่ไม่ใช่กับกรณีของ Credit Suisse ที่ ณ ตอนนี้ ผู้ถือ CoCo Bond ถูกบันทึกลดมูลค่า (Write-Down) จนมูลค่าเป็นศูนย์ ในขณะที่ผู้ถือหุ้นกลับได้รับสิทธิชดเชยก่อน มันเกิดขึ้นได้อย่างไร FinVest จะเล่าให้ฟัง

1.ในปี 2009 หลังจากวิกฤตซับไพร์ม เกณฑ์ Basel III ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมเสถียรภาพของธนาคารหลังจากการล้มของธนาคาร Lehman Brothers และธนาคารอื่นๆ

2.ถ้าให้พูดถึงเกณฑ์ของ Basel แบบสั้นๆ มันคือกติการ่วมกันระหว่างธนาคารในการจัดตั้งเงินกองทุนสำรอง เพื่อให้ธนาคารสามารถรองรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการดำเนินงาน ซึ่งก็มีการปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามยุคสมัย จนมาถึงตัว Basel III 

จุดที่ Basel III ถูกพัฒนาขึ้นมาเนื่องจากในตอนที่ธนาคารต่างๆ ล้มในวิกฤตซับไพร์ม สาเหตุมาจากการขาดสภาพคล่องนั่นเอง ลองจินตนาการง่ายๆ ว่าสภาพคล่องของธนาคารคือน้ำมันของเครื่องบิน ต่อให้เครื่องบินของคุณทำมาแข็งแรงแค่ไหน แต่ถ้าสภาพคล่องหมด เครื่องบินก็ตกอยู่ดี

หลักเกณฑ์ดังกล่าวกำหนดให้ธนาคารต้องแบ่งสัดส่วนประเภทของเงินกองทุนของธนาคารให้ชัดเจน เพราะธนาคารต้องใช้สำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าไม่มีการจัดการตรงนี้ให้ดีอาจจะก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง

ซึ่งในหลัก Basel III ได้มองว่า ถ้าธนาคารไหนมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงมาก ย่อมมีเสถียรภาพมากกว่า แต่คำถามต่อมาคือสินทรัพย์ใดบ้างที่จะถูกนิยามเป็นเงินกองทุน

3.ทำให้เงินกองทุนถูกแบ่งเป็นชั้น ๆ (Tier) ตามความเสี่ยง และถ้าหากธนาคารเกิดปัญหา เงินกองทุนส่วนที่อยู่ล่างสุด จะโดนตัดจำหน่ายก่อน เพื่อให้ธนาคารยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งชั้นล่างสุดเราเรียกว่า Common Equity Tier 1 (CET1) ที่ส่วนใหญ่ทางบัญชีมักจะเป็นส่วนทุน ยกตัวอย่างเช่น หุ้นสามัญ หรือกำไรสะสม 

4.ส่วนชั้นถัดมาเรียกว่า Supplementary หรือ Tier 2 สินทรัพย์ในชั้นนี้ หมายรวมตราสารหนี้ด้อยสิทธิ์ที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขมากมาย เช่น มีกำหนดไถ่ถอนเมื่ออายุเกิน 5 ปี และเมื่อเกิดปัญหาธนาคารไม่สามารถดำเนินการได้ หุ้นกู้ประเภทนี้อาจถูกตัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญ ลดมูลค่า หรือแปลงเป็นหุ้นสามัญ จนกว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากทางการ

5.โดยระหว่าง Tier 1 และ Tier 2 เองก็มีชั้นลอยกั้นอยู่ ซึ่งชั้นลอยที่ว่านี้เราจะเรียกว่า Addtional Tier 1 (AT1) โดยสินทรัพย์ในชั้นลอยนี้ หมายรวม หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีอายุชั่วนิรันด์ แต่ผู้ออกมีสิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด เมื่อผ่านไป 5 ปี 

6.ซึ่ง Coco Bond หรือชื่อเต็มคือ Contingent Convertible Bond ที่เราพูดถึงก่อนหน้านี้ เป็นสินทรัพย์ที่อยู่บนชั้นลอย AT1 นี้เช่นกัน ส่วนสาเหตุที่เรามักได้ยินคนเรียกตราสารชนิดนี้ว่า Basel III Bond เนื่องมาจากหุ้นกู้ดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมาช่วยธนาคารในช่วงที่เกณฑ์ Basel III นั่นเอง

7.แล้ว CoCo Bond ช่วยธนาคารได้อย่างไร? ในทางทฤษฎี เมื่อธนาคารเกิดวิกฤตจนสัดส่วนเงินทุน CET 1 ต่ำกว่าเกณฑ์จนถึงจุด Trigger Point ตัวของ CoCo Bond AT1 จะถูกแปลงเป็นส่วนของทุน โดยไม่ต้องรอให้ทางการตัดสินใจเข้าให้การช่วยเหลือ ทั้งนี้เพื่อให้ส่วนของทุนกลับมาปกติ หรือในบางกรณีที่เลวร้ายกว่านั้นอาจจะจะถูกลดมูลค่าหรือตัดเป็นหนี้สูญได้เช่นกัน ซึ่งเงื่อนไขนั้นขึ้นอยู่กับว่าผู้ออกกำหนดไว้ว่าอย่างไร

8.คำถามคือทำไมนักลงทุนถึงยังเลือกลงทุนในตราสารหนี้ AT1 ทั้งๆ ที่มีโอกาสถูกบันทึกมูลค่าเป็นศูนย์ เหตุผลเพราะนักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าการลงทุนในธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะเจ้าใหญ่ๆ นั้น แทบจะไม่มีความเสี่ยง มากไปกว่านั้น ตราสารหนี้พวกนี้ยังดึงดูดนักลงทุนด้วยผลตอบแทนที่ดีกว่าตราสารหนี้ปกติของธนาคารอีกด้วย ลองคิดตามง่ายๆ ว่าถ้าย้อนกลับไปสัก 5 ปีที่แล้ว จู่ๆ มีคนออกมาบอกว่า Credit Suisse จะล้ม คงไม่มีใครเชื่อแน่ ดังนั้นการซื้อ Coco Bond ก็ดูจะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

9.ตัดภาพมาที่ปัจจุบัน Credit Suisse อยู่ในสภาวะที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจพร้อมสายระโยงระยางรอบตัว เรียกว่าโอกาสรอดน้อยมาก เมื่อถึงจุดนี้ใครๆ ต่างก็คิดว่า ถ้าธนาคารเก่าแก่อายุกว่า 168 ปีแห่งนี้ล้ม ยังไงเสียผู้ถือหุ้นต้องรับผิดชอบก่อนผู้ถือตราสารหนี้อยู่แล้ว

10.แต่หลังจากที่ UBS ธนาคารเพื่อนร่วมชาติตัดสินใจเชิงถูกบังคับจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ ให้เข้าไปอุ้ม Credit Suisse สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ UBS ตัดจำหน่ายตราสารหนี้ AT1 ของ Credit Suisse ทันทีเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของ UBS เอาไว้ ส่งผลให้ตราสารหนี้มูลค่ากว่า 1.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ กลายเป็นศูนย์ในทันที

11.เรื่องดังกล่าวจะไม่แปลกเลยถ้าผู้ถือหุ้นถูกทำแบบเดียวกัน ทว่าผู้ถือหุ้น Credit Suisse กลับได้รับเงินชดเชย 0.8191 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น ประเด็นนี้เองทำให้ผู้ถือตราสารหนี้ AT1 ต่างไม่พอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น

12.ถึงแม้ว่าในตอนที่ Credit Suisse ได้ออกตราสารหนี้ AT1 ได้ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าถ้าธนาคารเกิดปัญหา ตราสารหนี้เหล่านี้จะถูก Permanent Write-Down ทันที แต่ด้วยความรู้สึกไม่ยุติธรรมที่ผู้ถือหุ้นได้รับการชดเชย ทำให้กลุ่มนักลงทุนที่ถือตราสารหนี้ AT1 ก็กำลังเตรียมยื่นเรื่องต่อศาลถึงเรื่องที้เกิดขึ้น 

13.คำถามถัดมาคือกระทบกับนักลงทุนอย่างเราหรือไม่? สำหรับ FinVest ตอนนี้แล้ว สิ่งแรกที่เรานึกถึงและเป็นกังวลที่สุดคือลูกค้าของเราว่ามีกองทุนใดบ้างที่ถือสถานะในตราสารหนี้ AT1 ของ Credit Suisse บ้าง

14.จากการรวบรวมข้อมูลของเรา พบว่า เจ้าที่มีการถือตราสารหนี้ดังกล่าวเยอะที่สุดในโลก ได้แก่ PIMCO ซึ่งแน่นอนว่าบริษัทจัดการลงทุนแห่งนี้เองก็เป็น Master Fund ให้กับกองทุนตราสารหนี้บ้านเราหลายกองทุนเช่นกัน

15.ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่า PIMCO ถือตราสารหนี้ทั้ง AT1 และ ที่ไม่ด้อยสิทธิ ของ Credit Suisse มูลค่าเกือบๆ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถ้าดูจากตัวเลขอาจจะดูเหมือนเยอะ แต่ถ้าเทียบสัดส่วนจากสินทรัพย์ทั้งหมดที่ PIMCO บริหาร (Asset Under Managenet) กว่า 1.74 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ก็จะถูกคิดเป็น 0.22% ของสินทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้น ขอให้นักลงทุนทุกท่านสบายใจได้

16.ทั้งนี้ FinVest ได้รวบรวมกองทุนของ PIMCO ที่มีการลงทุนในตราสารหนี้ AT1 ของ Credit Suisse รวมไปถึงกองทุนในบ้านเราที่มีการลงทุนใน Master Fund เหล่านี้ให้แล้ว

โดยรายชื่อกองทุนที่ได้รับผลกระทบ (มูลค่าหายไป) มีดังนี้ (เรียงจากผลกระทบมากที่สุดไปน้อยที่สุด)

1.กองทุน Master Fund: PIMCO GIS Capital Securities Fund เน้นลงทุนในตราสารหนี้ด้อยสิทธิ รวมถึง CoCos

สัดส่วนที่ลงทุนใน AT1 ของ Credit Suisse 3.49% (ณ สิ้น ธ.ค. 2022)

กองทุน Feeder Fund ที่ได้รับผลกระทบ:

KT-CSBOND


2.กองทุน Master Fund: PIMCO GIS Income Fund เน้นลงทุนในตราสารที่สร้างกระแสรายได้

สัดส่วนที่ลงทุนใน AT1 ของ Credit Suisse ของ Credit Suisse 0.19% (ณ สิ้น ก.พ. 2023)

กองทุน Feeder Fund ที่ได้รับผลกระทบ:

-SCBINC

-UGIS

-KF-SINCOME

-KF-CSINCOM

-PRINCIPAL GFIXED

-TMBGINCOME


3.กองทุน Master Fund: PIMCO Global Investment Grade Credit เน้นลงทุนในตราสารหนี้อันดับเครดิตน่าลงทุนทั่วโลก

สัดส่วนที่ลงทุนใน AT1 ของ Credit Suisse ของ Credit Suisse 0.17% (ณ สิ้น ธ.ค. 2022)

กองทุน Feeder Fund ที่ได้รับผลกระทบ:

-SCBGSIFUND


4.กองทุน Master Fund: PIMCO GIS Diversified Income Fund เน้นลงทุนในตราสารเครดิตทั่วโลกทั้งบริษัทเอกชนและตลาดเกิดใหม่

สัดส่วนที่ลงทุนใน AT1 ของ Credit Suisse Credit Suisse 0.10% (ณ สิ้น ก.พ. 2023)

กองทุน Feeder Fund ที่ได้รับผลกระทบ:

KFDIVERSE


5.กองทุน Master Fund: PIMCO GIS Dynamic Multi-Asset Fund เน้นลงทุนในหลากหลายประเภทตราสารทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารเครดิต ดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และ สินทรัพย์ที่แท้จริง

สัดส่วนที่ลงทุนใน AT1 ของ Credit Suisse ของ Credit Suisse 0.06% (ณ สิ้น ธ.ค. 2022)

กองทุน Feeder Fund ที่ได้รับผลกระทบ:

SCBAA


6.กองทุน Master Fund: PIMCO GIS Global Bond Fund เน้นลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงในพอร์ตโฟลิโอของตราสารหนี้กลุ่มอันดับเครดิตน่าลงทุนสกุลเงินหลักของโลก

สัดส่วนที่ลงทุนใน AT1 ของ Credit Suisse ของ Credit Suisse 0.01% (ณ สิ้น ธ.ค. 2022)

กองทุน Feeder Fund ที่ได้รับผลกระทบ:

KT-BOND

TMBGDF

T-ES-GF

TMBGF


คำแนะนำจาก FinVest: เรามองว่าผลกระทบดังกล่าวยังมีอยู่จำกัด เนื่องจากการเข้าซื้อ Credit Suisse โดย UBS ยังได้ทำให้ส่วนของตราสารหนี้ประเภทอื่น (แสดงดังคอลัมน์สีเขียวใน Chart) สามารถให้ผลตอบแทนจากส่วนชดเชยความเสี่ยงเพิ่มเติมมาชดเชย จากอันดับเครดิตที่ดีขึ้นภายใต้ชื่อของ UBS

มุมมองต่อกลุ่มธนาคารทั่วโลกและไทย: ด้วยเงินกองทุนต่างๆ ของธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ๆ ที่เป็นโครงข่ายสำคัญเชื่อมต่อระบบการเงินของโลกนั้นยังดีกว่าเกณฑ์ จากบทเรียนปี 1997 2008 หรือแม้กระทั่งจากปี 2020 ทำให้เรายังมีมุมมองที่ดีต่อหุ้นกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ในภาพรวม

ถัว ถือ ถอย? ด้วยตราสารหนี้ในตอนนี้ได้ให้ระดับผลตอบแทนเมื่อเทียบความเสี่ยงได้คุ้มค่าแล้ว ประกอบกับการถือลงทุนหลักในสินทรัพย์คุณภาพสูงอย่างพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนกลุ่มอันดับเครดิตน่าลงทุน ของกองทุนเบอร์ 2-4 และ 6 ทำให้สามารถถือและถัวได้ เช่นเดียวกับเบอร์ 5 ที่มีนโยบายเป็น Multi-Asset ในตัวแล้ว อย่างไรก็ตามสำหรับเบอร์ 1 จากการเป็นกลยุทธ์ที่ลงทุนเฉพาะเจาะจงในตราสารหนี้ด้อยสิทธิ ทำให้อาจได้รับผลกระทบจากวัฏจักรเศรษฐกิจขาลง แนะนำให้ถอยก่อน ทั้งนี้เราประเมินว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นกับธนาคารแห่งอื่นในระดับต่ำ เพราะตราสาร AT1 โดยส่วนใหญ่จะไม่ได้มากับเงื่อนไข Permanent Write-Down ดังที่เฉพาะเจาะจงกับของ Credit Suisse เมื่อความกังวลในเรื่องนี้ได้สิ้นสุดลงและวัฏจักรเศรษฐกิจขาลงเป็นการลงที่ดีกว่าที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ ตราสารกลุ่มนี้ก็สามารถเป็นโอกาสลงทุนต่อไปได้ ทั้งนี้นักลงทุนต้องให้ความสำคัญถึงนโยบายการลงทุนและความเหมาะสมต่อเป้าหมายการลงทุนของตนเองเป็นสำคัญ

┏━━━━━━━━━━━━━┓

💫FinVest แอปลงทุนแบบใหม่ ที่ได้รวบรวมกองทุนทั่วโลก มาให้คุณเลือกกองทุนที่เหมาะสม และตรงกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ได้ง่ายๆ

⭐️ลงทุนได้ทั้งไทยและเทศ แอปแรกในไทย ให้คุณลงทุนได้จาก 42 บลจ. ชั้นนำ

⭐️ใช้งานง่าย เริ่มต้นแค่มือถือเครื่องเดียว ทำได้ตั้งแต่เปิดบัญชียันซื้อขายง่ายแค่ปลายนิ้ว

⭐️เคียงข้างคุณ มีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยอัปเดตสภาพตลาด รวมถึงชี้เป้าการลงทุน

🔗เริ่มลงทุน – แอป FinVest https://finve.st/82bxs

🔗สอบถาม – Line https://finve.st/v2nxq

🔗ติดตาม – Instagram https://finve.st/710rb

🔗อ่านบทความ – Website https://finve.st/4datg

┗━━━━━━━━━━━━━┛

#FinVest #YourWingsYourWays #CreditSuisse #Pimco #UBS #AT1 #CoCos

Related Posts