วิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้นเป็นวัฎจักร ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก มาดูกันว่าในอดีตถึงปัจจุบัน ตลาดทุนผ่านอะไรมาบ้าง
🌪️The Great Depression 1929
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทหารที่ปลดประจำการหลั่งไหลเข้าไปเป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรม ทำให้ค่าแรงตกต่ำ ประกอบกับการขาดแคลนเงินทุนที่จะใช้ซื้อเครื่องจักร ทำให้ภาครัฐต้องปล่อยเงินกู้เพื่อช่วยเหลือ แต่แล้วผลผลิตทางการเกษตรผลิตออกมามากเกินความต้องการส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำตามไปด้วย เงินที่ปล่อยกู้ออกไปส่วนใหญ่กลายเป็นหนี้เสีย ประกอบกับความผิดพลาดของการดำเนินนโยบายจากธนาคารกลาง ภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็มาถึง วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 1929 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลง -11% เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติ และต่อมาไม่กี่วันในวันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 1929 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงอีก -12% หลังจากนั้นตลอดระยะเวลา 3 ปี จากจุดสูงสุดของดัชนีดาวโจนส์ที่ระดับ 381 จุด เมื่อปี 1929 ตลาดไปทำจุดต่ำสุดที่ระดับ 41 จุด ในปี 1932 หรือลดลงไปเกือบ -90% จากจุดที่มันเคยอยู่ (ปัจจุบันดัชนีดาวโจนส์อยู่ที่ระดับประมาณ 33,000 จุด เพิ่มขึ้นมาจากจุดต่ำสุดในตอนนั้นประมาณ 800 เท่า)
🌪️Black Monday 1987
จุดกำเนิดของเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากระบบ Algorithm Trading ที่ใช้คอมพิวเตอร์ส่งคำสั่งเทรดอัตโนมัติ ในปีนั้นหลังจากการทะยานขึ้นอย่างร้อนแรงของตลาดหุ้นทั่วโลกที่เกิดจากการเข้าซื้อตาม ๆ กันของโปรแกรมเทรดอัตโนมัติที่เมื่อมีสัญญาณซื้อเกิดขึ้น ระบบต่าง ๆ ก็จะพากัน trigger ซื้อตาม ๆ กันจนดันราคาหุ้นทั่วโลกให้โตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่แล้ววันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 1987 เริ่มมีกองทุนกองหนึ่งขายหุ้นจำนวนมาก ไป trigger ระบบของกองทุนอื่นให้ขายหุ้นตาม แล้วก็เกิดเป็น Domino Effect กองทุนทั่วโลกพากันเทขายหุ้นจนสร้างความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุนในตลาดให้พากันขายหุ้นหนีตายกันออกมา ทำให้ดัชนีดาวโจนส์ลดลงไปกว่า -22% ภายในวันเดียว เป็นสถิติการลดลงเป็นเปอร์เซ็นต์มากที่สุด และหลังเวลาผ่านไปประมาณ 14 เดือน ดัชนีก็กลับมาทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีกครั้ง
🌪️Dotcom Bubble 2000
อินเทอร์เน็ตทำให้บริษัทเทคโนโลยีเติบโตแบบก้าวกระโดด ดัชนี Nasdaq วิ่งจากระดับ 600 จุดในปี 1996 ไปที่ระดับ 5,000 จุด ในปี 2000 บริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนแบกความคาดหวังว่าจะสามารถทำกำไรและเติบโตอย่างรวดเร็วต่อไปเรื่อย ๆ แต่แล้วเมื่อความจริงที่เกิดขึ้นสวนทางกับความคาดหวัง หลาย ๆ บริษัทมีผลประกอบการไม่ดี เกิดภาวะขาดทุน ความเชื่อมั่นของผู้คนในตลาดก็หมดไป ดัชนี Nasdaq ตกจากระดับ 5,048 จุด ในวันที่ 10 มีนาคม 2000 ไปอยู่ที่ระดับ 1,139 จุด ในวันที่ 4 ตุลาคม 2002 หุ้นดังอย่าง Amazon ร่วงจากระดับราคา $100 ลงไปเหลือ $7 (จนถึงตอนนี้หุ้น Amazon มีราคาเพิ่มขึ้นกว่า 142 เท่าใน 20 ปี)
🌪️Subprime Crisis 2008
วิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพเกิดจากการที่สถาบันการเงินปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่ไม่ได้มีคุณภาพเครดิตที่ดีนัก ด้วยการได้รับค้ำประกันหลักทรัพย์ในวงเงินที่สูง จากราคาอสังหาริมทรัพย์ในอเมริกาปรับตัวสูงขึ้นเป็นเวลานาน จนทุกคนเชื่อว่าราคาอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้จะสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่เมื่อราคาบ้านสูงขึ้นมากจนถึงจุด ๆ หนึ่ง ผู้กู้ซื้อบ้านผ่อนบ้านต่อไปไม่ไหว เป็นจุดเริ่มต้นของ Domino Effect ที่ทำให้หนี้เหล่านี้กลายเป็นหนี้เสีย และส่งผลต่อสถาบันการเงิน จนกระทั่งวานิชธนกิจระดับโลก Lehman Brothers ล้มละลาย ดัชนี S&P 500 ร่วงจากระดับ 1,400 จุด ลงไปทำจุดต่ำสุดที่ 667 จุด ในเดือนมีนาคม 2009 (ปัจจุบันดัชนี S&P500 อยู่ที่ระดับประมาณ 4,000 จุด เพิ่มขึ้นมาจากจุดต่ำสุดในตอนนั้นประมาณ 5 เท่า)
🌪️Covid-19 2020
จุดเริ่มต้นเกิดจากการระบาดของไวรัส Covid-19 ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้ธุรกิจมากมายทั่วโลก ความวิตกกังวลว่าการระบาดครั้งนี้จะยืดเยื้อหรือไม่ ทำให้นักลงทุนพากันเทขายหุ้นกันออกมา ส่งผลให้ ดัชนี S&P500 ร่วงจากจุดสูงสุดที่ 3,394 จุด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ลงมาทำจุดต่ำสุดที่ 2192 จุด ในเดือนมีนาคม 2020 หรือลดลงถึง -35% ใน 1 เดือน (หลังจากนั้น S&P500 ฟื้นขึ้นมาจนทำจุดสูงสุดใหม่ได้ในเดือน สิงหาคม 2020 หรือใช้เวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น)
🌪️2022 ?
จากต้นปีดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลงจากระดับ 4,700 จุด ลงมาเหลือ 4,000 จุดในปัจจุบัน เป็นการปรับตัวลดลงถึง 16% ในขณะที่ดัชนี NASDAQ ปรับตัวลดลงถึง 27% ใน 1 ปี สาเหตุหลักมาจากปัญหาเงินเฟ้อที่ระดับสูงโดยเกิดขึ้นทั่วโลกและอาจจะกินระยะเวลานาน ทำให้ FED ต้องใช้นโยบายทางการเงินโดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงและถอนสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง เพื่อสกัดเงินเฟ้อ แต่ก็ต้องยอมรับกับแรงกระแทกต่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน ซึ่งอาจหมายถึงการทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เข้าสู่สภาวะถดถอย
Market Crash เกิดขึ้นซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ในประวัติศาสตร์ตลาดทุนโลก หากสังเกตให้ดีในทุก ๆ วิกฤติ คือโอกาสที่สามารถสะสมสินทรัพย์ในราคาต่ำ และเมื่อวันเวลาผ่านไป ตลาดทุนก็กลับไปทำจุดสูงสุดใหม่ได้ทุกครั้ง
🚨อย่าพลาดโอกาสที่จะซื้อสินทรัพย์ในช่วงเวลาที่ราคาตกต่ำ🚨
ยิ่งสามารถซื้อสะสมสินทรัพย์ในราคาต่ำได้มากเท่าไร ผลตอบแทนในระยะยาวก็จะดีมากขึ้นเท่านั้น
.
💠กองทุนแนะนำโดย FinVest: K-GA-A(A), KGARMF, BGF Global Allocation Fund A2 USD อ่านเพิ่มเติม https://www.finvest.co.th/bgfglobalallocationfund22/
สามารถลงทุนได้ที่ แอป FinVest
https://www.finvest.co.th/AWO092208004
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ Line https://lin.ee/3wINMDBsz
Follow us on Website : www.finvest.co.th
อ้างอิง
https://www.businessinsider.com/personal-finance/what-caused-the-great-depression
https://www.investopedia.com/terms/b/blackmonday.asp
https://www.federalreservehistory.org/essays/subprime-mortgage-crisis