🏆PIMCO GIS Income กองทุนที่เปลี่ยนตราสารหนี้จืด ๆ ให้สดชื่นด้วยมือของ PIMCO
ช่วงนี้ต้องยอมรับว่าตราสารหนี้ ถือเป็นสินทรัพย์ที่ร้อนแรงและผลตอบแทนน่าดึงดูดเทียบกับความเสี่ยง ซึ่งใครที่พอจะคุ้นเคยกับการลงทุนในตราสารหนี้ คนจะคุ้นเคยกับชื่อของ “PIMCO” ที่ถือเป็นเจ้าพ่อของการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้กันมาบ้างแล้ว
แล้วอะไรที่ทำให้ PIMCO ยืนหนึ่งเรื่อง Fixed Income เรามาดูกันครับ
🥙ผลตอบแทนจากตราสารหนี้ ไม่ได้มีแค่ดอกเบี้ย?
คงต้องเกริ่นก่อนว่า ปกติแล้วผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ หลายคนจะเข้าใจว่าเราจะได้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon rate) เพียงเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วผลตอบแทนขึ้นอยู่กับสองส่วนด้วยกัน ได้แก่ดอกเบี้ย และส่วนต่างราคาของตราสารหนี้อีกด้วย
ทีนี้หลายคนคงสงสัยว่า เราจะหาส่วนต่างราคาของตราสารหนี้ได้อย่างไร? มันเป็นแบบนี้ครับ
สมมติเหตุการณ์ดังนี้
ต้นปี 2021 พันธบัตรรัฐบาลประเทศสารขัณฑ์รุ่น A อายุ 2 ปี จ่ายดอกเบี้ย 2% ต่อปี ราคาหน้าตั๋ว 1000 จ่ายผลตอบแทนเมื่อไถ่ถอน
ต่อมาประเทศดังกล่าวมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้พันธบัตรรุ่นถัด ๆ ไป จ่ายดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ดังนั้น ณ ต้นปี 2022 พันธบัตรรัฐบาลประเทศสารขัณฑ์เดิม รุ่น B อายุ 2 ปี จ่ายดอกเบี้ย 3% ต่อปี ราคาหน้าตั๋ว 1000 จ่ายผลตอบแทนเมื่อไถ่ถอน
คำถามคือ ถ้าคุณต้องลงทุนพันธบัตร ณ ต้นปี 2022 คุณจะเลือกพันธบัตร A หรือ B?
แน่นอนว่าต้องเลือกพันธบัตรรุ่น B ที่จ่ายดอกเบี้ยสูงกว่า ดังนั้นถ้ารุ่น A จะขายออก จึงต้องลดราคาลงนั่นเอง จึงจะเห็นว่าส่วนต่างราคาของตราสารหนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว
ทั้งนี้ราคาของตราสารหนี้นอกจากอัตราดอกเบี้ยแล้วยังขึ้นกับอีกหลายปัจจัยมาก ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาการถือครอง อายุของตราสาร อันดับเครดิต อัตราแลกเปลี่ยนหากมีการลงทุนในต่างประเทศ และดอกเบี้ยเองก็ยังปรับเปลี่ยนขึ้นลงไปตามสภาวะทางเศรษฐกิจอีกด้วย
ดังนั้นการคำนวณราคาที่เหมาะสมของตราสารหนี้นั้นจึงมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก
นั่นแปลว่าถ้ามีใครสักคนที่สามารถปรับพอร์ตตราสารหนี้ได้แบบสำเร็จรูปจากทรัพยากรและความเชี่ยวชาญ ช่องว่างตรงนี้จะสามารถสร้างผลตอบแทนให้คนที่ทำได้มีผลตอบแทนดีกว่าอย่างแน่นอน
แล้วลองมาทายกันสิครับว่าใครกันที่ลงทุนตราสารหนี้แบบเชิงรุกอยู่ตลอด มาถึงขั้นนี้คงไม่ต้องเดากันแล้วใช่ไหมครับว่าต้องเป็น PIMCO ที่เราเกริ่นมาแต่แรกอย่างแน่นอน ซึ่งต้องขอบอกว่าการลงทุนตราสารหนี้แบบ Active ถือเป็นกลยุทธ์หลักของ บลจ. นี้ตั้งแต่ก่อตั้งเลยก็ว่าด้วย ด้วยกลยุทธ์นี้เองทำให้ บลจ. แห่งนี้โดดเด่นในเรื่องของ Fixed Income มากว่าหลายทศวรรษ
มาถึงขั้นนี้แล้วมีกองทุนแนะนำหรือไม่? ขอบอกเลยว่ามีครับ โดยกองทุนที่เราจะมาแนะนำคราวนี้คือ PIMCO GIS Income แล้วกองทุนที่ว่ามีดียังไง มาดูกันครับ
🥙 เปลี่ยนตราสารหนี้จืด ๆ ให้สดชื่นด้วยกองทุน PIMCO GIS Income fund
PIMCO GIS Income Fund เลือกลงทุนในตราสารหนี้ที่หลากหลายทั่วโลก พร้อมกับการบริหารแบบเชิงรุก โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างผลตอบแทนจากรายได้อย่างสม่ำเสมอ และจำกัดความเสี่ยง ผ่านการถือสินทรัพย์ที่คัดมาแล้วว่าคุณภาพสูง โดยผลงานได้ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าโดดเด่นกว่ากองทุนกลุ่มเดียวกัน
โดยกองทุนดังกล่าวปัจจุบันบริหารโดย Dan Ivascyn ผู้บริหารสูงสุดทางด้านการลงทุนของ PIMCO ด้วยประสบการณ์กว่า 23 ปี พร้อมกับทีมงานที่มากประสบการณ์อีกหลายท่าน ด้วยความที่กองทุนนั้นมีการลงทุนในตราสารหนี้หลากหลายประเภท ทำให้ต้องมีการกำหนดกรอบการบริหารที่ชัดเจนว่าสินทรัพย์ประเภทใดควรมีขนาดไม่เกินเท่าไร ซึ่งมีดังนี้
อายุตราสาร 0-8 ปี
- ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ สูงสุดไม่เกิน 20%
- ตราสารหนี้ High Yield สูงสุดไม่เกิน 50%
- อัตราแลกเปลี่ยน สูงสุดไม่เกิน 30%
จึงจะเห็นว่าทำให้มีความยืดหยุ่นในการเลือกสินทรัพย์เข้าพอร์ตการลงทุนในขณะที่ก็สามารถบริหารความเสี่ยงไปได้พร้อม ๆ กัน
💠 อ้างอิงจากลักษณะของพอร์ตการลงทุน ณ 31 ส.ค. 2022
อายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ (Duration) = 2.55 ปี
ผลตอบแทนรวมที่คาดว่าจะได้รับตลอดการถือครบอายุ (คาดการณ์ Yield to Maturity เรียกสั้น ๆ ว่า YTM) = 7.54% ต่อปี
คุณภาพของตราสารหนี้เฉลี่ย = อันดับเครดิต A
โดยสามารถแบ่งประเภทได้เป็น
- ตราสารหนี้ Securitization 57.09%
- ตราสารหนี้ Investment Grade 15.5%
- ตราสารหนี้ High Yield 21.9%
- ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ 14.4%
- พันธบัตรรัฐบาล 1.9%
- ตราสารหนี้และธุรกรรมอื่น 15.0%
🥙 Yield ที่ว่าพีค ยังต้องหลีกให้ PIMCO GIS Income fund
ขอพาชวนดูข้อมูลในอดีต ในช่วงที่ผลตอบแทนรวมของตราสารหนี้สูง ๆ จะพบว่า PIMCO GIS Income Fund ทำผลตอบแทนหลังจากนั้นสูงในระดับที่น่าสนใจเลยทีเดียว
💠 2013 Taper Tantrum, YTM = 6.3% (ทำจุดสูงสุดเมื่อ 13 ก.ย. 2013)
ผลตอบแทนต่อปีหลังจากนั้น 1 ปี 3 ปี และ 5 ปี = 10.9% 6.5% และ 5.6% ตามลำดับ
💠 2016 Oil Crash, YTM = 5.9% (ทำจุดสูงสุดเมื่อ 20 ม.ค. 2016)
ผลตอบแทนต่อปีหลังจากนั้น 1 ปี 3 ปี และ 5 ปี = 9.7% 6.0% และ 6.6% ตามลำดับ
💠 2018 Rising Rates, YTM = 6.7% (ทำจุดสูงสุดเมื่อ 27 พ.ย. 2018)
ผลตอบแทนต่อปีหลังจากนั้น 1 ปี และ 3 ปี = 8.8% และ 6.0% ตามลำดับ
💠 2020 Covid-19, YTM = 8.2% (ทำจุดสูงสุดเมื่ 23 มี.ค. 2020)
ผลตอบแทนหลังจากนั้น 1 ปี = 23.83%
และในช่วงสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ที่ผลตอบแทนรวมของตราสารหนี้สูงอีกครั้งที่หาได้ยากในรอบกว่าทศวรรษ ดังนั้นคงไม่มีช่วงเวลาที่เหมาะเจาะกับการลงทุนในกองทุนนี้ไปกว่านี้แล้ว
🌟และแน่นอนว่าสามารถลงทุนใน PIMCO GIS Income Fund E Class USD Accumulation ผ่านแอป FinVest ได้แล้ววันนี้🌟
🥙 ความหมายของแต่ละประเภทตราสาร
💠 ตราสารหนี้ Securitization
ในโลกการเงิน เราสามารถซื้อหนี้มาเป็นเจ้าของเพื่อรับดอกเบี้ยได้ ซึ่งตราสารที่ทำหน้าที่รวมหนี้ก้อนเล็ก ๆ อย่างเช่น หนี้บ้าน หนี้บัตรเครดิต หรือสินเชื่อรถยนต์ มารวมกันเป็นหนี้ก้อนใหญ่ เรียกว่าตราสารหนี้ประเภท Securitization ซึ่งมูลค่าของตราสารชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์อ้างอิงนั่นเอง
💠 ตราสารหนี้ Investment Grade
ตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับดิตสูงสุด 4 ระดับ (AAA, AA, A, BBB) โดยบริษัทจัดอันดับเครดิตต่าง ๆ จะเป็นผู้จัดอันดับให้ตามความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ โดยยิ่งเกรดยิ่งสูง สะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้อย่างตรงเวลาและครบถ้วน
💠 ตราสารหนี้ High Yield
เรามีชื่อเรียกตราสารหนี้ที่ได้อันดับเครดิตต่ำกว่าระดับ Investment Grade ว่า High Yield เหตุผลเพราะว่าผลตอบแทนของตราสารหนี้กลุ่มนี้จะสูงกว่า แต่ก็ต้องแลกมากับความเสี่ยงการผิดชำระหนี้ที่สูงกว่าอีกด้วย ซึ่งข้อดีคือ ตราสารประเภทนี้จะมีราคาสัมพันธ์กับราคาของตราสารหนี้ประเภทอื่นต่ำอีกทัั้งราคาอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยน้อย นอกจากนี้ ตราสารหนี้ประเภทนี้ยังสามารถให้ผลตอบแทนในระดับใกล้หุ้นด้วยความผันผวนที่ต่ำกว่า
💠 ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่
ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือบริษัทเอกชนที่อยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งในมุมมองของนักการเงินจะมองว่าตราสารหนี้กลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว แต่ตราสารหนี้ของประเทศตลาดเกิดใหม่มักจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ที่มา: PIMCO
สามารถลงทุนได้ที่ แอป FinVest www.finvest.co.th/AWO092208004
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ Line https://lin.ee/3wINMDBsz
Follow us on Website : www.finvest.co.th
*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
*การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน