ดาว Morningstar ⭐⭐⭐⭐⭐ ใน Fund Fact Sheet คืออะไร? รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ดาว Morningstar ของกองทุน โดย FinVest

ดาว Morningstar ⭐⭐⭐⭐⭐ ใน Fund Fact Sheet คืออะไร? รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ดาว Morningstar ของกองทุน โดย FinVest


รู้ไหมว่าปัจจุบัน เราสามารถดูคุณภาพของกองทุนด้วยดาวของ Morningstar ผ่าน Fund Fact Sheet ได้แล้ว

ว่าแต่ ดาวของ Morningstar ⭐⭐⭐⭐⭐ นั้นสื่อถึงอะไร?


┏━━━━━━━━━━━━━┓

🎤 รวมโปรโมชันกองทุน

😎 DCA ที่ FinVest เจ๋งอย่างไร?

😎 3 เหตุผล ทำไม FinVest Fund Screener เป็น ฟีเจอร์ กองทุน ที่ดีที่สุด

😎 |AMC Pick| กองทุนแนะนำโดยบลจ. จาก FinVest


รู้ไหมว่าปัจจุบัน เราสามารถดูคุณภาพของกองทุนด้วยดาวของ Morningstar ผ่าน Fund Fact Sheet ได้แล้ว 


สิ่งที่ดาวของ Morningstar บอก


ดาวของ Morningstar เป็นตัวบอกว่ากองทุนนั้น ๆ ทำผลตอบแทนเมื่อปรับด้วยความเสี่ยงที่ผ่านมาได้ดีขนาดไหน เมื่อเปรียบเทียบกับบรรดากองทุนในกลุ่มเดียวกัน ทำให้สามารถนำมาใช้เป็นตัวช่วยคัดกรองทุนได้


โดยที่ถ้าบางกองไม่มีดาว ไม่ต้องตกใจ เพราะกองทุนที่จะได้รับการจัดอันดับต้องจัดตั้งตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป


มีกองทุนที่ดีที่สุดแค่ 10% เท่านั้นที่ได้ 5 ดาว


ต้องบอกว่าการเทียบกล้วยกับแอปเปิ้ลเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม การเทียบกองทุนข้ามหมวดก็เช่นกัน


ทำให้ Morningstar จัดหมวดกองทุนเป็นกลุ่มก่อน และเปรียบเทียบกันข้างในกลุ่ม จากนั้นจึงคัด 10% ที่มีคะแนน Morningstar Risk-Adjusted Return (MRAR) ที่ดีที่สุด


โดย จำนวนดาวรวม คิดน้ำหนักจาก

ดาว 10 ปี = 50%

ดาว 5 ปี = 30%

ดาว 3 ปี = 20%


และการจัดเรียงนั้นจะมีการจัดเรียงแบบ Bell Curve และจะคิดคะแนนโดย

10.0% แรก = 5 ดาว

22.5% ถัดมา = 4 ดาว

35.0% ถัดมา = 3 ดาว

22.5% ถัดมา = 2 ดาว

10.0% สุดท้าย = 1 ดาว


ตัวอย่าง


จะเห็นว่ากองทุน K-GLOBE นั้นได้ Rating ในช่วง 3 ปี 5 ปี และ 10 ปีไม่เท่ากัน แต่ถึงอย่างนั้น K-GLOBE ก็ยังได้ Overall ออกมา 5 ดาว


แต่ก็ยังสัยใช่ไหมครับถ้ากองทุนมีอายุจัดตั้งมาแค่ 3 ปี หรือ 5 ปีล่ะ จะให้ จำนวนดาวรวม อย่างไร สรุปได้ง่าย ๆ แบบนี้ครับ

  • ถ้ากองมีอายุ 36-59 เดือน จำนวนดาวรวม จะใช้จากของ 3 ปี เลย
  • ถ้ากองมีอายุ 60-119 เดือน จำนวนดาวรวม จะคำนวณรวมมาจาก 60% ของ ดาว 5 ปี และ 40% จาก ดาว 3 ปี


แล้ว MRAR คิดยังไง ?


แน่นอนว่าจุดเริ่มต้นนั้นอาศัยหลักที่ควรจะเป็นง่าย ๆ เลยก็คือ

  • กองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง จะได้คะแนนมาก
  • กองทุนที่มีความเสี่ยงสูง จะได้คะแนนน้อย


โดยจะมีการนำไปจับกับโมเดลทางคณิตศาสตร์ ที่อยู่บนทฤษฎี  “Expected Utility Theory”  โดยทฤษฎีที่ว่าสามารถอธิบายง่าย ๆ ดังนี้

  • นักลงทุนเลือกที่จะเลี่ยงผลขาดทุนมาก่อนการได้ผลกำไร
  • นักลงทุนยอมแลกผลตอบแทนบางส่วนเพื่อแลกกับความแน่นอนของผลตอบแทน


และหลังจากนั้น เมื่อได้คะแนนเป็น MRAR มาเรียบร้อยแล้วก็นำมาไล่เรียงออกมาเป็นรูปแบบ Bell Curve ข้างต้น


โดยจะทำแบบนี้วนไป ทุก ๆ สิ้นเดือน ทำให้ นักลงทุน จะได้ กองทุน อันดับใหม่ ๆ เรื่อย ๆ 


กองทุนดาวเยอะ ไม่ได้แปลว่าดีเสมอไป


อย่าลืมว่าดาวที่ทาง Morningstar ให้นั้น คิดจาก “ผลตอบแทนในอดีต” แน่นอนว่ามันคือการมองกระจกหลัง และไม่สามารถทำนายอนาคตได้


กองทุนที่ได้ 5 ดาว อาจเป็นไปได้ทั้ง

  • ผู้จัดการกองทุนที่เคยบริหารในช่วงเวลานั้น ๆ มีฝีมือ
  • กลยุทธ์ตอนนั้นเหมาะกับยุคสมัยนั้น


ดังนั้นไม่ได้แปลว่ากองทุนที่ดาวเยอะทุกกอง จะดีต่อไปเสมอไป


┏━━━━━━━━━━━━━┓

💫 FinVest แอปลงทุนแบบใหม่ ที่ได้รวบรวมกองทุนทั่วโลก มาให้คุณเลือกกองทุนที่เหมาะสม และตรงกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ได้ง่าย ๆ

⭐️ ลงทุนได้ทั้งไทยและเทศ แอปแรกในไทย ให้คุณลงทุนได้จาก 43 บลจ. ชั้นนำ

⭐️ ใช้งานง่าย เริ่มต้นแค่มือถือเครื่องเดียว ทำได้ตั้งแต่เปิดบัญชียันซื้อขายง่ายแค่ปลายนิ้ว

⭐️ เคียงข้างคุณ มีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยอัปเดตสภาพตลาด รวมถึงชี้เป้าการลงทุน

🔗 เริ่มลงทุน – แอป FinVest

🔗 สอบถาม – LINE

🔗 ติดตาม – Facebook | Instagram

🔗 อ่านบทความ – Website

┗━━━━━━━━━━━━━┛

#FinVest #YourWingsYourWays


* ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต

** การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

Related Posts