ASP- HSI ลงทุนในจีน HSI สไตล์กองทุนดัชนี

ASP- HSI ลงทุนในจีน HSI สไตล์กองทุนดัชนี

มังกรจีนผู้ยิ่งใหญ่ที่มาพร้อมกับการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

นับตั้งแต่ปี 2000 ที่ผ่านมา หรือราว ๆ 20 ปีที่แล้ว จีนมีอัตราเติบโตเฉลี่ยทบต้นของ GDP อยู่ที่ 13.3% ต่อปี และรายได้ต่อหัวเติบโตก้าวกระโดดจาก 9371 หยวนต่อปี (ราว ๆ 5 หมื่นบาท) ในปี 2000 ทะยานสู่ 97400 หยวนในปี 2020 หรือคิดเป็นเงินไทยราว ๆ 5 แสนบาทต่อปี (ข้อมูลจาก tradingeconomics และ macrotrends)

เรื่องนี้ส่งผลให้ประเทศจีนตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำให้ตอนนี้จีนเองก็พร้อมขึ้นมาท้าทายมหาอำนาจโลกอย่างสหรัฐอเมริกาเป็นที่เรียบร้อย

ปัจจัยบวกเหล่านี้ สะท้อนมายังตลาดทุน โดยสามารถวัดได้จากการเติบโตของ ดัชนี CSI300 ที่ปัจจุบันเติบโตขึ้นราวๆ 4 เท่า นับตั้งแต่วันที่เริ่มมีการคำนวณในปี 2005

แต่ความสุขของนักลงทุนไม่ได้อยู่ชั่วกาลเหมือนนิทานดิสนีย์

แน่นอนว่าเมื่อเศรษฐกิจในประเทศเติบโตรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วก้าวกระโดดก็ได้ฝากบาดแผลที่เรียกว่า ความเหลื่อมล้ำ แก่ประชาชนชาวจีน ซึ่งแน่นอนว่าความร่ำรวยที่กระจุก แต่ความจนที่กระจาย เป็นสิ่งที่นักการเมืองฝั่งลัทธิ Communist อย่างประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน สี จิ้นผิง ไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการ “ลงดาบ” บริษัทจดทะเบียนยักษ์ใหญ่ในจีน

ก่อนที่เราจะเล่าถึงการที่รัฐบาลจีนไล่ลงดาบบริษัทจดทะเบียนต่างๆ เราขอย้อนกลับไปอธิบายถึง นโยบาย China Common Prosperity หรือ นโยบาย ”เจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” ก่อน

China Common Prosperity ไม่ใช่เรื่องใหม่

แต่เคยถูกกล่าวถึงครั้งแรกในช่วงปี 1950 จากประธาน เหมา เจ๋อ ตง

ซึ่งต้องการกระจายความมั่งคั่งให้เท่าเทียมกัน

แต่นโยบายนี้ถูกปรับใช้อย่างเป็นจริงเป็นจังในช่วงปี 2020 โดยประธานสี จิ้นผิง ซึ่งนโยบายนี้ไม่ได้เพียงแต่เข้ามามีส่วนควบคุมตลาดการเงินเท่านั้น แต่เข้ามากำกับดูแลเรียกได้ว่าทุกภาคส่วน

ตัวอย่างเช่น เรื่องของการศึกษา ที่ทางการจีนอยากให้เด็กเลิกกวดวิชา และให้โรงเรียนกวดวิชาเป็นองค์กรการกุศล เรื่องนี้เองส่งให้หุ้นของบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการกวดวิชา อย่างเช่น TAL ตกลงไปกว่า 97%

หรือจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba ก็หนีไม่พ้นการไล่บี้ของทางการเช่นกัน ทั้งในเรื่องของการห้าม IPO บริษัทในเครืออย่าง Ant Group หรือไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าปรับที่ต้องจ่ายให้ทางการจีน โทษฐานที่บีบให้ผู้ใช้งานขายของได้แค่แพลตฟอร์มตัวเองเท่านั้น ห้ามไปขายที่อื่น

ซึ่งตัวเลขค่าปรับข้อหาผูกขาดที่ว่าก็ไม่ใช่ตัวเลขน้อย ๆ โดยทางการปรับเงิน Alibaba สูงถึง 18,230 ล้านหยวน หรือคิดเป็น 4% ของรายได้ภายในประเทศจีนสำหรับปี 2019 แต่ทว่าเวลาตลาดเริ่มมีข่าวร้าย ข่าวร้ายนั้นมักไม่ได้จะมีแค่ข่าวเดียว

ความไม่แน่นอน เริ่มสะท้อนไปยังตลาดทุน

นอกจากประเด็นเรื่องของการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนแล้ว การระบาดของ Covid-19 ต่างก็ทำให้นักลงทุนหนักใจไม่แพ้กัน สาเหตุเกิดจากความกังวลจากการที่ทางการจีนมีนโยบายรับมือกับ Covid-19 ในแบบที่สุดโต่งเกินไป อย่างนโยบาย Zero Covid เพราะการดำเนินนโยบายนี้ โดยเฉพาะการปิดเมืองในแต่ละครั้งนั้นมีราคาที่ต้องจ่ายคือเศรษฐกิจของประเทศจีน

นอกจากนี้ทางการจีนเองยังประสบปัญหาในส่วนของปัญหาฟองสบู่หนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ และอาจจะตกเป็นเป้าโจมตีทางการเมือง เนื่องมาจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศรัสเซียได้

ด้วยความไม่แน่นอนทั้งหมดที่ถาโถมเข้ามา ประเด็นลบทั้งหมดเริ่มส่งผลไปยังตลาดทุน ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงค่อย ๆ ปรับตัวลงหนักขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา

จนส่งผลให้ในวันที่ 15 มีนาคม 2022 ทั้งดัชนี CSI300 ติดลบไปถึง 19% ทำจุดต่ำสุดที่ 3983 จุดจากต้นปี ในขณะที่ดัชนี Hang Seng Index ปรับตัวลดลงกว่า 20.87% จากต้นปี ทำจุดต่ำสุดที่ 18415 จุด

แต่ในเรื่องราวร้ายๆ ยังมีเรื่องดีอยู่เสมอ และนั่นคือโอกาสในการลงทุน

ในจังหวะ ที่การลงทุนดูเหมือนจะมีแต่เรื่องร้ายประทังเข้ามานั้น อยู่ดี ๆ ก็มีแสงแห่งความหวังสว่างวาบขึ้นมา

เรื่องราวที่ดูเหมือนจะเป็นความหวังของนักลงทุนที่ลงทุนในจีนตอนนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องที่ทางการจีนบอกว่า จะสนับสนุนหุ้นจีนที่มีการจดทะเบียนในต่างประเทศ (หุ้นประเภท ADRs)

และทางการจีนยังได้กล่าวอีกว่า ถึงแม้ทางการจะต้องการจัดระเบียบบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ แต่อีกนัยหนึ่งทางการก็อนุญาตให้บริษัทเหล่านี้เติบโตได้ และยังมีประเด็นย่อยๆ ในเรื่องของการรักษาเสถียรภาพของตลาด Hang Seng และการจัดการกับหนี้ภาคอสังหาอย่างใกล้ชิด

ส่งผลให้ในวันที่ 16 มีนาคม 2022 ดัชนี Hang Seng ฟื้นตัวขึ้นกว่า 9% ในวันเดียว ถือเป็นการปรับตัวขึ้นสูงสุดในวันเดียวหลังจากปี 2008 มากไปกว่านั้น หุ้นขนาดใหญ่อย่าง Tencent , Alibaba ยังปรับตัวมากกว่า 23% ในวันดังกล่าว

แต่นอกเหนือไปจากประเด็นบวกในตลาดทุนแล้ว อีกเรื่องที่น่าติดตามไม่แพ้กันคือนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ทางธนาคารการจีนมีทั้งมาตรการลดดอกเบี้ย และอัดฉีดเงินราว ๆ 1 แสนล้านหยวน หรือตีเป็นเงินไทยราว ๆ 5 แสนล้านบาทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยทางการคาดหวังว่าให้ตัวเลข GDP ปีนี้เติบโตมากกว่า 5%

มาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วตอนนี้ถึงเวลาลงทุนเต็มสูบในตลาดหุ้นจีนแล้วหรือยัง? ต้องยอมรับตรง ๆ เลยว่าตอบได้ยากมากว่าตลาดหุ้นจีนผ่านจุดต่ำสุดไปหรือยัง แต่ถ้ามองว่าภาพในระยะยาวจีนยังดีและจะก้าวเข้าสู่การเป็นมหาอำนาจในเร็ววัน ช่วงเวลาแบบนี้จึงถือเป็นเวลาที่ดีที่ประตูแห่งโอกาสในการลงทุนเปิดออก

และสำหรับใครที่สนใจ วันนี้ทาง FinVest เองก็มีกองทุนที่ลงทุนในจีนมาแนะนำอีกเช่นเคย ซึ่งกองทุนที่นำมาคราวนี้บอกเลยว่าเป็นกองทุนที่เราเหล่านักลงทุนจะลงทุนได้อย่างง่าย ๆ สไตล์กองทุนดัชนี ซึ่งจุดเด่นของกองทุนดัชนีคือเป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ผลตอบแทนเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับดัชนีมากที่สุด ในค่าธรรมเนียมที่ ซึ่งจะเป็นกองไหนนั้น ตามมาดูกันเลย

FinVest แนะนำ
กองทุน ASP- HSI
ลงทุนในจีนง่าย ๆ สไตล์กองทุนดัชนี

กองทุนเปิด ASP-HSI แอสเซทพลัสเอชเอสไอ

ความเสี่ยง: ระดับ 6

นโยบายการลงทุน

เน้นลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของ Hang Seng Index เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนของกองทุนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี Hang Seng Index โดยลงทุนผ่านหน่วยลงทุนของกองทุน Hang Seng Index ETF (กองทุนหลัก)

ทำไมต้องกองนี้

กองทุน ASP-HSI ลงทุนในดัชนี Hang Seng Index ETF ซึ่งมีหุ้นจีนขนาดใหญ่จดทะเบียนอยู่เป็นจำนวนมาก และแน่นอนว่าได้รับอานิสงส์จากการเติบโตของประเทศจีนในระยะยาว

ทำไมต้องตอนนี้

ตลาดหุ้นฮ่องกงตอนนี้มีปัจจัยบวกที่สำคัญคือตลาดฟื้นตัวจากนโยบายที่รัฐประกาศว่าจะสนับสนุนหุ้นกลุ่ม ADRs และการปล่อยให้กิจการขนาดใหญ่เติบโตต่อไปได้ สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากหุ้นขนาดใหญ่ในจีนส่วนมากมีการจดทะเบียนในตลาดฮ่องกง

ในส่วนปัจจัยทางด้านเทคนิค ดัชนี Hang Seng ปรับตัวลงมาทดสอบแนวรับบริเวณ 18800 จุด ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ในวันที่ 16 มีนาคม ก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นถึง 9 % จากจุดต่ำสุด เนื่องด้วยปัจจัยเชิงบวกของทางการจีน โดยปัจจุบัน ดัชนีทำการซื้อขายกันอยู่ที่ราว ๆ 21221 จุด (วันที่ 21 มีนาคม 2022)

หุ้น 5 บริษัทแรกที่มีสัดส่วนมากที่สุดใน Hang Seng Index ETF (กุมภาพันธ์ 2565)

  • – HSBC Holdings
  • – AIA Group
  • – Tencent
  • – Alibaba
  • – Meituan

สัดส่วนน้ำหนักของธุรกิจในดัชนี (3 อันดับแรก กุมภาพันธ์ 2565)

  • – Financials 38.7%
  • – Information Technology 24.24%
  • – Consumer Discretionary 9.36%

และนี่คือ สรุปสั้น ๆ กับกองทุนรวม ASP- HSI ที่ FinVest นำมาฝากในวันนี้ หากใครอยากลงทุนง่าย ๆ ไหลขึ้นลงไปตามดัชนี Hang Seng ก็ สามารถลงทุนง่ายๆผ่าน FinVest ได้เลย

กองทุนทั้งหมดนี้ สามารถลงทุนผ่านแอปพลิเคชัน FinVest ได้ที่ https://finvest.onelink.me/CoWV/cd81c26c
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ Line https://lin.ee/3wINMDBsz
Follow us on Website: www.finvest.co.th

#FinVest #YourWingsYourWays



อ้างอิง
https://www.scmp.com/economy/china-economy/article/3146271/what-chinas-common-prosperity-strategy-calls-even?module=inline&pgtype=article

https://www.nytimes.com/2021/04/09/technology/china-alibaba-monopoly-fine.html
https://www.youtube.com/watch?v=kQzKFYRhM5w
https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-03-17/china-stocks-extend-stunning-surge-as-traders-cheer-support-vows?srnd=premium-asia&sref=CVqPBMVg
https://www.cnbc.com/2022/03/16/asia-markets-us-federal-reserve-covid-in-china-russia-debt-payment-currencies-oil.html
https://www.aljazeera.com/news/2022/3/20/millions-in-chinas-northeast-placed-under-covid-19-lockdown
https://tradingeconomics.com/china/wages
https://www.hsi.com.hk/static/uploads/contents/en/dl_centre/factsheets/hsie.pdf

Related Posts