ค่าธรรมเนียมในการลงทุน
เป็นเรื่องที่นักลงทุนกองทุนรวมต้องรู้
ถ้าไม่อยากให้ผลตอบแทนลดลง
ว่าแต่ค่าธรรมเนียมนั้นมีอะไรบ้าง
.
┏━━━━━━━━━━━━━┓
🍭 โปรโมชัน FinVest DCA Cashback รับเงินคืน สูงสุด 0.2%* 👆
🍭 DCA ที่ FinVest เจ๋งอย่างไร? พร้อมขั้นตอน DCA 👆
🍭 กองทุนเต็มไปหมด ทีนี้ก็ว้าวุ่น ให้เราช่วยคุณ กับโพยลงทุน จาก FinVest 👆
🍭 มัดรวมโปรโมชันกองทุนส่งตรงจากบลจ. ครบ จบ ที่เดียว 👆
┗━━━━━━━━━━━━━┛
.
ค่าธรรมเนียมกองทุน เรื่องที่นักลงทุนกองทุนรวมต้องรู้ โดย FinVest
.
ทำไมกองทุนต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียมด้วย ?
ลองนึกถึงเวลาที่เราไม่อยากทำอาหารแล้วเราไปร้านอาหารแล้วทานอาหารอร่อยๆ เราก็ต้องเข้าใจว่าร้านอาหารก็ต้องมีการจ้างพ่อครัว พนักงานเสิร์ฟ ผู้จัดการร้าน
ในการบริหารจัดการกองทุน ก็มีค่าใช้จ่ายเช่นกัน ไหนจะค่าการตลาด ค่าจ้างผู้จัดการกองทุน ค่านายทะเบียน และอื่นๆ อีกมาก
ฟังดูเยอะใช่ไหมครับ แต่จริงๆ ถ้าเข้าใจ และจัดหมวดหมู่ได้ มันก็ไม่เยอะเท่าไรครับ
เอาล่ะ มาต่อกันครับ ค่าธรรมเนียม ที่กองทุนเรียกเก็บ หลักๆ แล้วเราแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย
- ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม
ทีนี้เรามาทำความเข้าใจความหมายของแต่ละตัวกันดีกว่า
.
1. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย
ค่าธรรมเนียมแบบนี้เกิดขึ้นในขณะที่ผู้ลงทุนทำการซื้อ ขาย หรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน โดยจุดสำคัญของค่าธรรมเนียมประเภทนี้ คือ ค่าใช้จ่ายจะเกิดขึ้นครั้งเดียว
โดยค่าใช้จ่ายหลักๆ ในหมวดนี้จะมีสามค่าธรรมเนียมด้วยกัน ได้แก่
- Front-End Fee
- Back-End Fee
- ค่าธรรมเนียมในการสับเปลี่ยน
ยังทันอยู่ใช่ไหมครับ? ทีนี้ค่าธรรมเนียมที่เจอบ่อยที่สุดจะมีสองตัว มาดูกันต่อว่าค่าธรรมเนียมทั้งสองคืออะไร
.
Front-End Fee หรือ ค่าธรรมเนียมการขาย
เป็นค่าธรรมเนียมที่ ผู้ลงทุนต้องจ่ายเมื่อซื้อหน่วยลงทุน แต่หลายคนอาจจะงงว่า นี่เราเพิ่งซื้อกองทุนไป ทำไมถึงเรียกส่วนนี้ว่าค่าธรรมเนียมขายล่ะ?
เหตุผลก็เพราะ ทางกองทุนจะเป็นผู้ขายหน่วยลงทุนให้เราครับ
แปลว่าถ้าวันหลังเจอคำว่า ค่าธรรมเนียมการขาย ก็ไม่ต้องตกใจนะครับ
.
Back-End Fee หรือ ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน
เป็นค่าธรรมเนียมที่ ผู้ลงทุนต้องจ่ายเมื่อขายหน่วยลงทุน คล้ายๆ กันกับด้านบนเลย คือ ถ้าเราขายหน่วยลงทุน กองทุนจะทำหน้าที่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั่นเอง
.
ตัวอย่างของการคิด Front-End Fee
สมมติว่ากองทุน A มี NAV ที่ 10 บาท และเก็บค่าธรรมเนียม Front-End ที่ 1% ถ้าเราซื้อกองทุนด้วยเงิน 1,000 บาท จะเกิดอะไรขึ้น ?
สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแรกคือค่าธรรมเนียม 1% จะถูกเพิ่มเข้าไป ทำให้ผู้ลงทุนจะต้องจ่าย 10.1 บาทเมื่อซื้อหน่วยลงทุน
ทีนี้เมื่อผู้ลงทุนส่งคำสั่งซื้อด้วยเงิน 1,000 บาท แทนที่ผู้ลงทุนจะได้หน่วยลงทุน 100 หน่วย ก็จะได้เพียงแค่ 99 หน่วย
.
ตัวอย่างของการคิด Back-End Fee
สมมติว่ากองทุน B มี NAV ที่ 10 บาท โดยกองทุน B แตกต่างจากกองทุน A ตรงที่ไม่มี Front-End แต่ว่ากองทุนเก็บแค่ Back-End ที่ 1%
สมมติว่านักลงทุน เริ่มต้นมีกองทุนรวมมูลค่า 1,000 บาท ที่ NAV 10 บาท หรือคิดเป็นหน่วยลงทุน 100 หน่วย
ทีนี้มาถึงจุดสำคัญ ถ้าเกิดว่านักลงทุนขายหน่วยลงทุนที่ราคาเดิม 10 บาท ค่าธรรมเนียม 1% จะถูกนำมาคิดตรงนี้ แล้วหักออกอัตโนมัติจากหน่วยลงทุน
แปลว่าผู้ลงทุนจะได้รับเงิน 9.9 บาทต่อหน่วยลงทุน เมื่อขายออกไป
ดังนั้น แทนที่นักลงทุนจะได้ 1,000 บาทกลับมา แปลว่านักลงทุนจะได้เงินแค่ 990 บาทเท่านั้นครับ
.
แล้วถ้ากองทุนมีทั้ง Front-End และ Back-End ล่ะ
แต่ถ้ามีทั้ง Front-End และ Back-End ก็โดนค่าธรรมเนียมเบิ้ลสองทีแบบไม่ต้องสืบเลยล่ะครับ
.
.
2. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม
มาที่ค่าใช้จ่ายอีกส่วน ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้คือ ค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายทุกวัน เพื่อให้กองทุนดูแลเงินของเรา โดยจะแยกย่อยออกเป็น
- Management Fee (ค่าธรรมเนียมการจัดการของผู้จัดการกองทุน)
และส่วนค่าธรรมเนียมอื่นๆ
- Trustee Fee (ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์)
- Registrar Fee (ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน)
- Custodian Fee (ค่าธรรมเนียมรับฝากสินทรัพย์)
- นอกจากนี้ก็ยังมีอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็น ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ค่าธรรมเนียมจ่ายในการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ ค่าธรรมเนียมผู้สอบบัญชี ค่าธรรมเนียมการจัดทำและแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน
.
ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมในแต่ละส่วนจะไม่เท่ากัน ตัวอย่างของการคิดค่าธรรมเนียมที่เก็บจากทรัพย์สินของกองทุน
กองทุนจะหักคิดค่าธรรมเนียมการจัดการเป็น % จาก NAV โดยคิดเป็นค่าใช้จ่ายรายวัน ยกตัวอย่างเช่น ค่าธรรมเนียมรายปีของกองทุนเท่ากับ 2%
ถ้าเราถือกองทุน 1 วัน ก็จะถูกคิดค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม เท่ากับ 2%/365 = 0.005%
แต่เราไม่ต้องกังวลว่าเค้าจะมาเรียกเก็บเงินกับเราทุกวันให้วุ่นวายนะครับ เพราะ ค่าธรรมเนียมส่วนนี้จะหักออกจาก NAV ของเราไปเองในทุกๆ วันเอง แต่ด้วยความไม่วุ่นแบบนี้เอง จาก ค่าธรรมเนียม ก็กลายเป็น “ค่าทำเนียน” ได้ง่ายๆ เลยนะครับ
.
มาดูตัวอย่างของจริงใน Fund Fact Sheet กัน
ตัวอย่างที่เห็นนี่คือการคิดค่าธรรมเนียมของ SCBS&P500 ในหนังสือชี้ชวน จะเห็นว่าเค้าจะมีการแบ่งหมวดหมู่ให้เห็นชัดเจนเลยว่าส่วนไหนเป็น ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย ส่วนไหนเป็น ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม ตามที่เราคุยกันไปก่อนหน้าเลย
.
สิ่งที่นักลงทุนควรรู้เกี่ยวกับค่าธรรมเนียม
- ยิ่งค่าธรรมเนียมกองทุนต่ำ ผลตอบแทนสุทธิที่ทำได้ยิ่งสูง ผลตอบแทนที่ทบต้น ค่าธรรมเนียมก็ทบต้นได้
- กองทุนที่เป็น Passive Fund ควรจะมีค่าธรรมเนียมถูกกว่า Active Fund
- บางกองทุนอาจจะมีการฟรีค่าธรรมเนียม Front-End แล้วไปเก็บค่าธรรมเนียม Back-End เยอะขึ้น เพราะมองว่าสินทรัพย์ของกองทุนน่าจะเพิ่มขึ้น และการไปเก็บทีเดียวตอนขายจะทำให้กองทุนเก็บค่าธรรมเนียมได้มากกว่า
.
┏━━━━━━━━━━━━━┓
💫 FinVest แอปลงทุนแบบใหม่ ที่ได้รวบรวมกองทุนทั่วโลก มาให้คุณเลือกกองทุนที่เหมาะสม และตรงกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ได้ง่าย ๆ
⭐️ ลงทุนได้ทั้งไทยและเทศ แอปแรกในไทย ให้คุณลงทุนได้จาก 43 บลจ. ชั้นนำ
⭐️ ใช้งานง่าย เริ่มต้นแค่มือถือเครื่องเดียว ทำได้ตั้งแต่เปิดบัญชียันซื้อขายง่ายแค่ปลายนิ้ว
⭐️ เคียงข้างคุณ มีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยอัปเดตสภาพตลาด รวมถึงชี้เป้าการลงทุน
🔗 เริ่มลงทุน – แอป FinVest
🔗 สอบถาม – LINE
🔗 ติดตาม – Facebook / Instagram
🔗 อ่านบทความ – Website
┗━━━━━━━━━━━━━┛
#FinVest #YourWingsYourWays
.
* ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
** การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน