สอนลูกลงทุน วัยไหน ต้องสอนอะไรบ้าง
การปลูกฝังแนวคิดด้านการเงินและการลงทุนตั้งแต่เด็ก เป็นของขวัญล้ำค่าที่พ่อแม่สามารถมอบให้กับลูกได้ เพราะโลกปัจจุบันเต็มไปด้วยโอกาสทางการเงิน การรู้จักวางแผนและบริหารเงินตั้งแต่อายุยังน้อย จะช่วยให้ลูกมีนิสัยทางการเงินที่ดี และสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มั่นคงทางการเงินได้ในอนาคต 🏡 ช่วงอายุ 7-9 ปี (ประถมต้น) – ปลูกฝังแนวคิดการออม ให้รู้จักสิ่งจำเป็นและไม่จำเป็น ในวัยนี้ เด็ก ๆ เริ่มเข้าใจแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเงินแล้ว จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการสอนให้ลูกรู้จักว่า “อะไรจำเป็น” และ “อะไรไม่จำเป็น” รวมถึงให้เริ่มต้นฝึกการออมเงิน สิ่งที่ควรสอน: ✅ อธิบายว่าเงินมาจากไหน (พ่อแม่ต้องทำงานเพื่อให้ได้เงิน) ✅ สอนให้ลูกแยกแยะระหว่าง “ของที่อยากได้” กับ “ของที่จำเป็น” ✅ สอนให้เก็บออมเงินในกระปุกออมสิน หรือเปิดบัญชีเงินฝากเด็ก ✅ ใช้วิธีให้ค่าขนมแบบรายสัปดาห์ เพื่อให้ลูกรู้จักจัดการเงิน 📝 ตัวอย่าง:...
สอนลูกลงทุน บริหารเงิน ด้วยสูตร 50/30/20
หนึ่งในทักษะสำคัญที่พ่อแม่สามารถสอนลูกได้ตั้งแต่เด็กคือ การบริหารเงิน และ การลงทุน เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญของความมั่นคงทางการเงินในอนาคต สูตร 50/30/20 เป็นวิธีจัดสรรเงินที่เข้าใจง่าย และสามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิต 📌 สูตร 50/30/20 คืออะไร? สูตรนี้เป็นแนวทางการแบ่งสัดส่วนรายได้ออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ ✅ 50% ใช้จ่ายในสิ่งจำเป็น (Needs) 📍 เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ ✅ 30% ใช้จ่ายในสิ่งที่อยากได้ (Wants) 📍 เช่น ของเล่น เสื้อผ้า เที่ยวพักผ่อน หรือซื้อของที่ชอบ ✅...
อัตรากำไรขั้นต้น VS อัตรากำไรสุทธิ ต่างกันอย่างไร
ในการประเมินความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ มีตัวชี้วัดที่สำคัญสองตัว ได้แก่ อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) และ อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ซึ่งทั้งสองมีความหมายและบทบาทที่แตกต่างกัน 🦾 อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) – วัดประสิทธิภาพการผลิต อัตรากำไรขั้นต้นเป็นตัวชี้วัดที่ช่วยให้เราเห็นว่าบริษัทสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด โดยคำนวณจากรายได้ที่ได้รับ หักด้วย ต้นทุนสินค้าที่ขาย (Cost of Goods Sold – COGS) ซึ่งรวมเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิต เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าดำเนินการผลิต อัตรากำไรขั้นต้นที่สูง หมายความว่าบริษัทสามารถผลิตสินค้าได้อย่างคุ้มค่า ใช้วัตถุดิบและทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากอัตรานี้ต่ำ อาจสะท้อนถึงต้นทุนที่สูงขึ้น...
สอนลูกลงทุน ยิ่งผิดพลาดเร็วความเสียหายยิ่งน้อย
ความผิดพลาดทางการเงิน จะแปรผันตรง กับอายุที่มากขึ้น ความเสียหายจากความผิดพลาดทางการเงินของเด็ก 10 ขวบ อาจมีมูลค่า ประมาณ 1,000 บาท ความเสียหายจากความผิดพลาดทางการเงินของวัยรุ่นอายุ 20 ปี อาจมีมูลค่า ประมาณ 10,000 บาท ความเสียหายจากความผิดพลาดทางการเงินของผู้ใหญ่อายุ 30 ปี อาจมีมูลค่าถึง 1,000,000 บาท หรือมากกว่านั้น สอนลูกให้เรียนรู้ที่จะผิดพลาด ลองผิดลองถูกตั้งแต่อายุยังน้อย จะป้องกันความเสียหายทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้มหาศาล 📌 ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ให้มาเริ่มตรงนี้! เราจะมา ปูพื้นฐานการลงทุน ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงลงทุนกองทุนได้ด้วยตัวเอง โดย FinVest โดยข้างในนี้เราจะแบ่งระดับความรู้เป็น 3 ระดับ ได้แก่...
สอนลูกลงทุน รู้จัก “หุ้น” ผ่านสิ่งใกล้ตัว
“หุ้น” อาจเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับเด็กๆ แต่ถ้าเราลองเชื่อมโยงกับสิ่งที่พวกเขาคุ้นเคยในชีวิตประจำวันล่ะ? ลองนึกภาพเจ้าตัวเล็กหยิบของเล่นชิ้นโปรดขึ้นมา แล้วเราค่อยๆ อธิบายว่า “รู้ไหม กว่าจะมาเป็นของเล่นชิ้นนี้ได้ ต้องมี ‘บริษัท’ ผลิตมันขึ้นมานะ” ใช่แล้ว! บริษัทเปรียบเสมือนโรงงานของเล่นขนาดใหญ่ มีหน้าที่สร้างสรรค์ของเล่นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรถแข่ง ตัวต่อ หรือ อาร์ตทอยสุดน่ารัก แต่การจะสร้างของเล่นได้ บริษัทก็ต้องการเงินลงทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างสรรค์ผลงานเหมือนกัน โดยเงินลงทุนเริ่มต้นก็คือเงินลงทุนของเจ้าของบริษัทนั่นเอง ทีนี้ “หุ้น” ก็เหมือนกับชิ้นส่วนเล็กๆ ของบริษัท ที่เราสามารถซื้อได้ เมื่อเราซื้อหุ้น เราก็เหมือนกับเป็นเจ้าของบริษัทนั้นร่วมกับคนอื่นๆ และถ้าบริษัทขายของได้กำไร เราก็จะได้ส่วนแบ่งจากกำไรนั้นด้วย 💡 แน่นอนว่าเราสามารถยกตัวอย่างจากกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ เช่น เวลาพวกเราเล่นตัวต่อ เราเล่นของบริษัท Lego เวลาพวกเราสะสมอาร์ตทอย เราซื้อของของบริษัท Popmart เวลาพวกเราชอปปิงเสื้อผ้า...
สอนลูกลงทุน คนรวยใช้เงินอย่างไร
หนึ่งในบทเรียนสำคัญที่พ่อแม่ควรสอนลูกเกี่ยวกับการเงินคือ “การใช้เงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด” คนรวยไม่ได้แค่หาเงินเก่ง แต่พวกเขาใช้เงินอย่างชาญฉลาด โดยให้เงินทำงานแทน ลองยกตัวอย่างให้ลูกเห็นภาพง่ายๆ หากลูกมีเงิน 30,000 บาท และต้องเลือกว่าจะใช้เงินอย่างไรดี ระหว่าง 3 ทางเลือกนี้ 🔹 ตัวเลือกที่ 1 : ซื้อแท็บเล็ตเครื่องใหม่ ดอกเบี้ย 0% ✅ ข้อดี: ได้ใช้ของที่อยากได้ทันที ❌ ข้อเสีย: เงินหมดไปโดยไม่มีโอกาสเพิ่มมูลค่า อีกทั้งมูลค่าของแท็บเล็ตจะลดลงเรื่อยๆ ตามกาลเวลา ⌛ มูลค่าหลังเวลาผ่านไป 50 ปี : 0 บาท การใช้เงินไปกับของที่อยากได้โดยไม่ก่อให้เกิดรายได้ อาจทำให้พลาดโอกาสสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว 🔹 ตัวเลือกที่ 2...
สอนลูกลงทุน ออมเงินผิดที่ ชีวิตเปลี่ยน
หลายคนคงเคยได้ยินคำแนะนำที่ว่า “ออมเงินเยอะๆ แล้วชีวิตจะดี” แต่เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมบางคนออมเงินแทบตาย แต่ชีวิตก็ยังไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร? คำตอบง่ายๆ คือ การออมเงินอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่กัดกินมูลค่าของเงินออมของเราไปเรื่อยๆ เปรียบเทียบการออมเงินแบบดั้งเดิม vs การลงทุน ลองมาดูตัวอย่างง่ายๆ ของคนสองคน คือ ผีเสื้อ และ น้ำผึ้ง ที่ให้ความสำคัญกับการออมเงินเพื่อการเกษียณเหมือนกัน โดยวางแผนจะออมเงินเดือนละ 5,000 บาท ทุกเดือน ตั้งแต่อายุ 30 ไปจนเกษียณตอนอายุ 65 ปี เมื่อเวลาผ่านไป 35 ปี มาดูกันว่า แบงค์ และ ฟันด์ จะมีเงินเก็บเท่าไร ทำไมการลงทุนจึงสำคัญ? เหตุผลสำคัญที่ทำให้การลงทุนมีความสำคัญ คือ...
หุ้นเติบโตก็มีขึ้นมีลง! เปิด 10 อันดับหุ้นที่มูลค่าเคยดิ่งเหว
ใครว่าหุ้นเติบโตมีแต่ขึ้น! เพราะความผันผวนของราคาคือธรรมชาติของหุ้นเติบโต มาเรียนรู้วิธีรับมือและใช้โอกาสจากความผันผวนนี้กัน อย่าตกใจกับความผันผวนของราคา เมื่อลงทุนในหุ้นเติบโต อย่างหุ้นธีมเทคโนโลยี เพราะแม้แต่หุ้นที่ดูเหมือนจะแข็งแกร่งอย่าง NVIDIA META หรือ AMAZON ก็ยังเคยราคาดิ่งเหว มาดู 10 อันดับ หุ้นที่มูลค่า (เคย) ลดลงมากที่สุดใน 1 วัน (Nvidia จัดไป 8 ครั้ง) ข้อมูล ณ 27 มกราคม 2568 ที่มา Bloomberg คลิก ✨แนะนำกองทุน SCBNDQ(A) 🇺🇲 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นยูเอส เอ็นดีคิว ชนิดสะสมมูลค่า กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว...
สอนลูกลงทุน รู้จักการใช้เงิน 4 ประเภท
สอนลูกให้รู้จักการใช้เงินอย่างชาญฉลาดตั้งแต่เด็ก เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีที่ลูกจะนำไปใช้ตลอดชีวิต การแบ่งเงินออกเป็น 4 ประเภท คือ ออม ลงทุน ใช้จ่าย และบริจาค จะช่วยให้ลูกเข้าใจถึงวิธีการใช้เงิน และรู้จักวางแผนการเงินตั้งแต่ยังเด็ก 1. ออม (Saving): รู้จักสะสมเงิน 2. ลงทุน (Investing): รู้จักใช้เงินทำงาน 3. ใช้จ่าย (Spending): รู้จักใช้เงินอย่างมีประโยชน์ 4. บริจาค (Giving): รู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่น กิจกรรมเสริมสร้างทักษะการเงินสำหรับเด็ก เคล็ดลับสอนลูกลงทุน การสอนลูกให้รู้จักการใช้เงินอย่างชาญฉลาด เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด เพราะจะส่งผลต่ออนาคตของลูกไปตลอดชีวิต เริ่มต้นลงทุนอย่างไร? สามารถลงทุนได้ที่ แอป FinVest 👍 ตัวอย่าง กองทุน...
เปรียบเทียบ Passive Fund VS Active Fund ต่างกันอย่างไร เหมาะกับเราไหม?
การเลือกลงทุนในกองทุนรวม ถือเป็นอีกทางเลือกที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนผู้ต้องการกระจายความเสี่ยง ไปในสินทรัพย์หลายๆ ตัว แต่ด้วยรูปแบบกองทุนที่มีให้เลือกมากมาย หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่นักลงทุนมักเจอคือ กองทุนรวมเชิงรับ (Passive Fund) กับ กองทุนรวมเชิงรุก (Active Fund) ต่างกันอย่างไร? บทความนี้จะมาไขข้อสงสัย พร้อมเปรียบเทียบกองทุนทั้งสองประเภท เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ Passive Fund คืออะไร? Passive Fund หรือเรียกอีกชื่อว่า Index Fund คือกองทุนรวมที่เน้นสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง (Benchmark) เช่น ดัชนี SET50 ของตลาดหุ้นไทย หรือ S&P 500 ของตลาดหุ้นอเมริกา โดยกองทุนจะลงทุนในสินทรัพย์ที่อยู่ในดัชนีนั้นๆ ตามสัดส่วนที่ดัชนีกำหนด เปิดตัวใหม่! FinVest Index...