ลงทุน RMF อย่างไร ไม่ให้ผิดเงื่อนไข

ลงทุน RMF อย่างไร ไม่ให้ผิดเงื่อนไข


กองทุน RMF เป็นเครื่องมือในการออมเงินเพื่อเกษียณอายุและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่หากไม่ศึกษาเงื่อนไขให้ละเอียด และทำผิดเงื่อนไข ก็จะทำให้ต้องคืนสิทธิในการลดหย่อนภาษีที่ใช้ไป และอาจทำให้ต้องเสียภาษีเงินได้จากการขายกองทุนที่ผิดเงื่อนไขอีกด้วย ดังนั้น ก่อนตัดสินใจลงทุนใน RMF ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อควรระวังดังต่อไปนี้


กองทุน RMF เป็นเครื่องมือในการออมเงินเพื่อเกษียณอายุและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่หากไม่ศึกษาเงื่อนไขให้ละเอียด และทำผิดเงื่อนไข ก็จะทำให้ต้องคืนสิทธิในการลดหย่อนภาษีที่ใช้ไป และอาจทำให้ต้องเสียภาษีเงินได้จากการขายกองทุนที่ผิดเงื่อนไขอีกด้วย


กองทุน RMF คืออะไร?

กองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมเงินในระยะยาว โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการเกษียณอายุ ผู้ลงทุนสามารถนำเงินที่ลงทุนในกองทุน RMF ไปหักลดหย่อนภาษีได้




สิทธิประโยชน์ที่จะได้จากการซื้อกองทุน RMF

เงินซื้อกองทุน RMF สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน โดยต้องไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับ

  • เงินที่สมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช)
  • กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ




เงื่อนไขการลงทุน RMF ที่ต้องรู้

  • ต้องลงทุนไปจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ (หรือถึงวันเกิด) และลงทุนอย่างน้อย 5 ปี แบบวันชนวัน ถึงขายได้ ทั้งนี้หากเสียชีวิตหรือทุพพลภาพไม่ถือว่าผิดผิดเงื่อนไข
  • ลงทุนซื้อปีไหนก็ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีในปีภาษีนั้น
  • ต้องลงทุนต่อเนื่อง โดยเว้นระยะเวลาได้ 1 ปี นั่นคือสามารถซื้อปีเว้นปีได้
  • ปีไหนไม่มีรายได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อ 
  • สามารถสับเปลี่ยนกองทุน RMF ระหว่างทางได้




จะเป็นอย่างไร เมื่อทำผิดเงื่อนไขการลงทุน RMF


1. กรณีผิดเงื่อนไขในการซื้อ

  1. ระงับการซื้อมากกว่า 1 ปีขึ้นไปติดต่อกัน ทั้ง ๆ ที่ยังคงมีรายได้ แบ่งเป็น 2 กรณี
    • กรณีถือครองน้อยกว่า 5 ปี:
      • ส่วนภาษี: ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นมาทั้งหมด (สูงสุด 5 ปีย้อนหลัง) ภายใน เดือน มี.ค. ของปีถัดไป
      • ส่วนกำไร:
        • ถ้ายื่นคืนภาษีภายใน มี.ค. ปีถัดไป: การนับอายุการถือครองยังนับต่อเนื่องให้ ซึ่งถ้าถือครองต่อจนครบ 5 ปี แล้วขาย กำไรจากการขายได้รับยกเว้นภาษี
        • ถ้ายื่นคืนภาษีช้ากว่าเดือน มี.ค. ของปีถัดไป จะไม่นับอายุต่อเนื่องให้ ขายเมื่อไร กำไรจากการขายกองทุนต้องนำไปยื่นรวมเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีที่ขายด้วย
    • กรณีถือครองมาอย่างน้อย 5 ปี:
      • ส่วนภาษี: ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นมาทั้งหมด (สูงสุด 5 ปีย้อนหลัง) ภายใน เดือน มี.ค. ของปีถัดไป
  2. ซื้อเกินสิทธิ
      • ส่วนภาษี: ส่วนที่เกินสิทธิใช้ลดหย่อนภาษีไม่ได้ และ
      • ส่วนกำไร: กำไรของส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ต้องนำไปยื่นรวมเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีที่ขายด้วย


2. กรณีผิดเงื่อนไขในการขาย

  • แบ่งเป็น 2 กรณี
    • กรณีถือครองน้อยกว่า 5 ปี:
      • ส่วนภาษี: ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นมาทั้งหมด (สูงสุด 5 ปีย้อนหลัง) และ
      • ส่วนกำไร: กำไรจากการขายกองทุนต้องนำไปยื่นรวมเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีที่ขาย ภายใน เดือน มี.ค. ของปีถัดไป
    • กรณีถือครองมาอย่างน้อย 5 ปี:
      • ส่วนภาษี: ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นมาทั้งหมด (สูงสุด 5 ปีย้อนหลัง) ภายใน เดือน มี.ค. ของปีถัดไป 
  • กรณีขายออกเพียงบางส่วน และยื่นคืนภาษีภายใน มี.ค. ของปีถัดไป การนับอายุการถือครองของกองทุนที่เหลือยังนับต่อเนื่องให้


ทั้งนี้ในข้อ 1 และ 2 ทั้งในส่วนภาษีและส่วนกำไร หากยื่นช้ากว่าเดือน มี.ค. ของปีถัดไป จะต้องเสียค่าปรับเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ดังนั้นไม่ควรยื่นช้ากว่าช่วงเวลาดังกล่าว




3 ปัจจัย ใช้หากองทุน RMF ที่ใช่

  1. นโยบายการลงทุน: ศึกษาว่ากองทุนนั้นลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดบ้าง และมีนโยบายการลงทุนอย่างไร
  2. ความเสี่ยง: เลือกกองทุนที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  3. ค่าธรรมเนียม: เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของแต่ละกองทุน เลือกกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ


ถ้ายังไม่รู้ว่าเลือกกองทุนไหนดี มาทางนี้เลยครับ โพย กองทุนดัชนี SSF RMF ThaiESG ลดหย่อนภาษี ปี 2024 ครบ จบ โดย FinVest




*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
**การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน


#FinVest #YourWingsYourWays

Related Posts