[รีวิวกอง IPO] KKP EMXCN-H และ KKP EMXCN-UH เปลี่ยนเงินก้อนเล็ก เป็นเงินก้อนใหญ่ ด้วยกองทุนตลาดเกิดใหม่ ไม่รวมจีน

[รีวิวกอง IPO] KKP EMXCN-H และ KKP EMXCN-UH เปลี่ยนเงินก้อนเล็ก เป็นเงินก้อนใหญ่ ด้วยกองทุนตลาดเกิดใหม่ ไม่รวมจีน

ตลาดเกิดใหม่ เป็นประเทศที่อยู่ในช่วงเศรษฐกิจกำลังเติบโต ส่งผลให้บริษัทต่าง ๆ เติบโตตามไปด้วยทำให้นักลงทุนบางท่านที่ลงทุนกับการเติบโตนี้ สามารถพลิกพอร์ต เปลี่ยนเงินก้อนเล็กให้เป็นเงินก้อนใหญ่ได้เลยทีเดียว

.

นั่นเป็นเหตุผลให้นักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลก ออกแบบกลยุทธ์ลงทุนในตลาดเหล่านี้ วันนี้เราเองก็มีกองทุนแนะนำมาฝากอีกเช่นเคย แต่หลายคนพอได้ยินคำว่าตลาดเกิดใหม่ อาจจะไม่มั่นใจ ถ้ามีจีนอยู่ในนั้นด้วย บอกเลยว่ากองที่เรานำมาคราวนี้ไม่มีการลงทุนในจีนครับ

.

และกองทุนที่ว่าคือ KKP EMXCN-H และ KKP EMXCN-UH นั่นเอง บอกไว้เลยมีโปรโมชัน ตอนช่วง IPO ด้วย เอาล่ะ ไปเริ่มกันที่จุดเด่นของกองทุนนี้กันเลย

.

.

┏━━━━━━━━━━━━━┓

🎤 รวมโปรโมชันกองทุน

😎 DCA ที่ FinVest เจ๋งอย่างไร?

😎 3 เหตุผล ทำไม FinVest Fund Screener เป็น ฟีเจอร์ กองทุน ที่ดีที่สุด

😎 |AMC Pick| กองทุนแนะนำโดยบลจ. จาก FinVest

┗━━━━━━━━━━━━━┛


  • ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ที่ไม่รวม “จีน”
  • ลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่และกลาง ใน 23 ประเทศตลาดเกิดใหม่
  • แสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาว
  • เข้าถึงกลุ่มประเทศเกิดใหม่ แต่ยังคงรูปแบบที่ยืดหยุ่นในการลงทุน

.


จากภาพ จะเห็นว่าผลตอบแทนย้อนหลังกองทุนหลักของ KKP EMXCN-H และ KKP EMXCN-UH จะเห็นว่าสดใส โดยเฉพาะผลตอบแทนระยะยาว 5 ปีทบต้น อยู่ที่ 6.31% โดยมีค่า Standard Deviation (3Y) อยู่ที่ 16.98% ถือว่าอยู่ในระดับของหุ้นทั่วไปปกติ


  • ลงทุนใน iShares MSCI Emerging Markets ex China ETF
  • ลงทุนแบบเชิงรับ Passive เพื่อให้ผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนี MSCI Emerging Markets ex China
  • อาจจะไม่ได้ลงเหมือนดัชนีเป๊ะ ๆ ทั้งนี้น้ำหนักอาจเปลี่ยนไปตามปัจจัยพื้นฐาน และสภาพคล่องด้วย
  • ปัจจุบันลงทุนอยู่ที่ 704 บริษัท



ปัจจุบันกองทุน KKP EMXCN-H และ KKP EMXCN-UH  ให้น้ำหนักไปที่ อินเดีย ไต้หวัน และเกาหลีเป็นหลัก และอย่างที่ทราบกันว่าตอนนี้หลายสำนักคาดกันว่าเศรษฐกิจอินเดียมีแนวโน้มที่จะแซงจีน จากทั้งจำนวนประชากรที่ยังเติบโตอยู่ รวมถึงยังไม่เจอวิกฤตอสังหาริมทรัพย์แบบประเทศจีน


.

จากภาพ จะเห็นว่าหุ้นที่ KKP EMXCN-H และ KKP EMXCN-UH  ให้น้ำหนักเยอะที่สุดถึง 9.15% คือ 2330.HK หรือชื่อที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง TAIWAN SEMICONDUCTOR

.

และต้องบอกเลยว่าบริษัทนี้ถึงแม้จะจดทะเบียนในไต้หวัน แต่เป็นบริษัท “ระดับโลก” เพราะผลิตชิปให้กับบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลกมากมาย โดยเฉพาะ Apple

.

ส่วนบริษัทอื่น ๆ ที่อาจจะคุ้นหูกันก็อย่างเช่น SAMSUNG หรือ RELIANCE ที่แฝงตัวอยู่ในหลายอุตสาหกรรมในอินเดีย ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน


.

จะเห็นว่ากองทุน KKP EMXCN-H และ KKP EMXCN-UH เน้นลงทุนใน เทคโนโลยี และ การเงิน รวมกันเกินกว่า 50% ก็แน่นอนว่าในประเทศเกิดใหม่ สองอย่างนี้นับเป็นกลุ่มธุรกิจพื้นฐานที่เติบโตล้อไปกับเศรษฐกิจ ส่งผลให้จะมีสัดส่วนหุ้นเหล่านี้มากก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเท่าไร


กองทุน KKP EMXCN-H จะมีการถือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงของค่าเงิน แต่ก็อาจตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

ส่วนกองทุน KKP EMXCN-UH จะไม่มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน แปลว่าถ้ามองว่าค่าเงินบาทจะอ่อน ตัวเลือกนี้น่าสนใจกว่า


เพราะกองทุน KKP EMXCN-H และ KKP EMXCN-UH เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) : 2 – 8 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นจังหวะที่น่าสนใจ แถมได้ Front-end fee/Switching in fee ที่ถูกลง เหลือ 0.25% จากปกติที่ 0.5%*!

.

โดยลงทุนขั้นต่ำครั้งแรกเพียง 1,000 บาทเท่านั้น



┏━━━━━━━━━━━━━┓

💫 FinVest แอปลงทุนแบบใหม่ ที่ได้รวบรวมกองทุนทั่วโลก มาให้คุณเลือกกองทุนที่เหมาะสม และตรงกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ได้ง่าย ๆ

⭐️ ลงทุนได้ทั้งไทยและเทศ แอปแรกในไทย ให้คุณลงทุนได้จาก 43 บลจ. ชั้นนำ

⭐️ ใช้งานง่าย เริ่มต้นแค่มือถือเครื่องเดียว ทำได้ตั้งแต่เปิดบัญชียันซื้อขายง่ายแค่ปลายนิ้ว

⭐️ เคียงข้างคุณ มีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยอัปเดตสภาพตลาด รวมถึงชี้เป้าการลงทุน

🔗 เริ่มลงทุน – แอป FinVest

🔗 สอบถาม – LINE

🔗 ติดตาม – Facebook | Instagram

🔗 อ่านบทความ – Website

┗━━━━━━━━━━━━━┛

#FinVest #YourWingsYourWays


1 ดัชนีอ้างอิงครอบคลุมประมาณร้อยละ 85 ของมูลค่าตลาดของบริษัทจดทะเบียนที่ปรับด้วยสัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายย่อย (free float-adjusted market capitalization) ของแต่ละประเทศ ดังนี้ บราซิล ชิลี โคลอมเบีย สาธารณรัฐเช็ก อียิปต์ กรีซ ฮังการี อินเดีย อินโดนีเซีย คูเวต มาเลเซีย เม็กซิโก เปรู ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย ตุรกี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

*โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ บลจ. ต้นสังกัด

**ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต

**การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

Related Posts