ความเสี่ยง จากการลงทุน กองทุนรวม 5 แบบ มีอะไรบ้าง?

ความเสี่ยง จากการลงทุน กองทุนรวม 5 แบบ มีอะไรบ้าง?

หลังจากที่ตอนก่อนๆ เราพาทุกคนไปอ่าน Fund Fact sheet ก็แล้ว ทำความเข้าใจตัวเลขในหนังสือชี้ชวนก็แล้ว

ในตอนนี้ขอพูดถึงประเด็นหนักๆ อย่างเรื่องของ “ความเสี่ยง” กันบ้าง

เหตุผลที่ว่าทำไมการเข้าใจ ความเสี่ยงของกองทุนรวม จึงสำคัญ FinVest ขอยกคำพูดของ Warren Buffett นักลงทุนระดับตำนานที่พูดเอาไว้ว่า

“ความเสี่ยงเกิดจากการที่เราไม่รู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่”

เป็นไงครับ อยากรู้เรื่องความเสี่ยงมากขึ้นบ้างไหม?

ถ้าใช่ ไปกันเลยครับ

.

┏━━━━━━━━━━━━━┓

🍭 โปรโมชัน FinVest DCA Cashback รับเงินคืน สูงสุด 0.2%* 👆

🍭 DCA ที่ FinVest เจ๋งอย่างไร? พร้อมขั้นตอน DCA 👆

🍭 กองทุนเต็มไปหมด ทีนี้ก็ว้าวุ่น ให้เราช่วยคุณ กับโพยลงทุน จาก FinVest 👆

🍭 มัดรวมโปรโมชันกองทุนส่งตรงจากบลจ. ครบ จบ ที่เดียว 👆

┗━━━━━━━━━━━━━┛

.

ความเสี่ยง จากการลงทุน กองทุนรวม 5 แบบ มีอะไรบ้าง? โดย FinVest

.

.

1. ความเสี่ยงจากพื้นฐานของสินทรัพย์ที่ไปลงทุน

.

1.1 ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของสินทรัพย์ที่ไปลงทุน

ความเสี่ยงกลุ่มนี้เกิดจากตัวสินทรัพย์ที่นักลงทุนเข้าไปทำการลงทุน ซึ่งถ้าเจาะลึกลงไปก็จะเจอหลายปัญหาไม่ว่าจะเป็น

  • ความเสี่ยงของการบริหารกิจการ สำหรับหุ้น
  • ความเสี่ยงจากการผิดชำระหนี้ สำหรับตราสารหนี้
  • ความเสี่ยงจากอุตสาหกรรมที่บริษัทนั้นอาศัยอยู่
  • ความเสี่ยงจากมาตรฐานทางบัญชี ส่วนใหญ่มักจะเจอในกลุ่มประเทศเกิดใหม่

#การบริหารความเสี่ยง

ผู้จัดการกองทุนจะพยายามเลือกสินทรัพย์ที่ดีที่สุดด้วยปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ

.

1.2 ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาตราสาร

ราคาของสินทรัพย์ต่างๆ สามารถขึ้นหรือลดลง ตามปัจจัยภายนอกหรือภายในต่างๆ ที่เข้ามากระทบได้

#การบริหารความเสี่ยง

ไม่ลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งเป็นสัดส่วนที่มากเกินไปในพอร์ตการลงทุน

.

1.3 ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร

บ้านจัดสรร 1 หลัง กับก๋วยเตี๋ยว 1 ถ้วย มีความยากง่ายในการขายต่างกัน สินทรัพย์ทางการเงินก็เช่นกัน บางชนิดมีสภาพคล่องน้อย ซื้อขายได้ยาก ในขณะที่บางชนิดก็สภาพคล่องเยอะ ซื้อขายได้ง่าย

#การบริหารความเสี่ยง

กองทุนอาจลงทุนในเงินฝากหรือตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก หรือตราสารหนี้ระยะสั้น เพื่อรักษาสภาพคล่อง ลดความเสี่ยงจากการที่นักลงทุนขายกองทุนคืนแล้วไม่มีสภาพคล่อง

.

2. ความเสี่ยงด้านการเงิน

.

2.1 ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

ความเสี่ยงประเภทนี้เกิดจากการที่กองทุนนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ และแน่นอนว่าอัตราแลกเปลี่ยนสามารถผันผวน ขึ้นลงได้ และมันส่งผลโดยตรงกับผลตอบแทนที่เกิดจากการลงทุน

#การบริหารความเสี่ยง

กองทุนอาจมีการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือเครื่องมือการเงินอื่นๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยน

.

2.2 ความเสี่ยงจากการใช้อนุพันธ์ทางการเงิน

กองทุนอาจมีการใช้อนุพันธ์ทางการเงิน เช่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือเครื่องมือการเงินอื่นๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในตลาดขาลง รวมไปถึงการใช้เครื่องมือทางการเงินทำหน้าที่ Leverage เพื่อเร่งให้ผลตอบแทนสูงขึ้น

แต่ถ้าทำแล้วผิดพลาด มีโอกาสที่กองทุนจะสูญเสียเงินต้นมากกว่าเดิม รวมไปถึงการใช้อนุพันธ์ทางการเงินมักจะมีค่าใช้จ่ายแฝงเพิ่มเติมอีกด้วย

#การบริหารความเสี่ยง

ประเมินคุณภาพและสถานะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง

.

3. ความเสี่ยงด้านข้อกฎหมาย

.

3.1 ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือกฎของรัฐบาลและธนาคารกลาง

ความเสี่ยงข้อนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆ ของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นประเทศต้นทางที่เราอยู่ หรือประเทศปลายทางที่เราไปลงทุน

อย่างเช่นบางประเทศมีนโยบายกำหนดให้นักลงทุนต่างชาติ สามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 30% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดในบริษัท เป็นต้น

สำหรับกองทุนที่ลงทุนต่างประเทศ อาจจะรวมถึงข้อจำกัดการเคลื่อนย้ายเงินตราต่างประเทศเข้า-ออกโดยเสรี ส่งผลให้กองทุนอาจไม่สามารถนำเงินกลับเข้าประเทศได้

#การบริหารความเสี่ยง

ติดตามนโยบายอย่างใกล้ชิดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

.

4. ความเสี่ยงด้านคู่ค้า

.

4.1 ความเสี่ยงจากคู่สัญญาที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาในการซื้อขาย

ปกติแล้วกองทุนมักจะมีคู่ค้า และถ้าคู่ค้าผิดสัญญาต่างๆ ย่อมเกิดปัญหาตามมาได้

ยกตัวอย่างเช่น บางกองทุนมีการซื้อสินทรัพย์ในตลาด OTC หรือแปลแบบง่ายๆ คือซื้อขายนอกกระดานเทรด และบางทีการที่คู่ค้าส่งมอบล่าช้า หรือผิดสัญญา อาจกลายเป็นความเสี่ยงที่กองทุนต้องแบกไปโดยปริยาย

หรือในตลาดเกิดใหม่ ขั้นตอนการชําระเงิน การหักบัญชี การรับฝากหลักทรัพย์ และขั้นตอนทางการทะเบียนต่างๆ อาจยังไม่เสถียรมากนัก

#การบริหารความเสี่ยง

เลือกคู่ค้าที่มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงศึกษาระบบระเบียบขั้นตอนปฏิบัติในประเทศที่เข้าทำการลงทุน

.

5. ความเสี่ยงด้านสังคมศาสตร์

.

5.1 ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ

แต่ละประเทศมีประเด็นทางเศรษฐกิจเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน มีโครงสร้างประชากร มีกฎหมายภาษี มีเงินทุนสำรอง มีนโยบายสนับสนุนแต่ละอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันออกไป

อย่างที่เราเห็นกันชัดเจนที่สุดคือตัวเลขเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย ที่ส่งผลกระทบให้สินทรัพย์อย่างหุ้นอาจเจอแรงกดดัน ในขณะที่ตราสารหนี้ได้รับประโยชน์

#การบริหารความเสี่ยง

ติดตามนโยบายทางเศรษฐกิจ และดัชนีชี้นำต่างๆ อย่างใกล้ชิด

.

5.2 การเมืองการปกครอง

อันนี้มักจะเกิดในประเทศที่ยังไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองการปกครอง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่การเมืองยังไม่เสถียรมากนัก

หรือแม้กระทั่งบางประเทศที่มีปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ เช่น จีน-สหรัฐฯ หรือกรณีของรัสเซีย ประเด็นเหล่านี้อาจส่งผลกดดันกับเงินทุนที่ไหลเข้าประเทศได้

#การบริหารความเสี่ยง

ติดตามประเด็นทางการเมืองอย่างใกล้ชิด

.

รายละเอียดความเสี่ยงอยู่ตรงไหนของ หนังสือชี้ชวน

ปกติแล้วกองทุนรวมจะเขียนความเสี่ยงในหนังสือชี้ชวนฉบับเต็ม

.

ความเสี่ยงเต็มไปหมดแบบนี้ ทำอย่างไรดี?

ในโลกการลงทุน จะมีความเสี่ยง 2 แบบ แบบแรกคือแบบที่ควบคุมได้ และอีกแบบคือควบคุมไม่ได้

เราอยากบอกว่า ความเสี่ยงทั้งหมดที่พอจะควบคุมได้นั้น ผู้จัดการกองทุน แทบจะพยายามจัดการทุกอย่างให้แทนเราแล้วครับ

แต่ทั้งนี้ก็มีความเสี่ยงบางประเภทที่เราควรจะรับรู้ไว้แน่ๆ ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนการลงทุน 3 ความเสี่ยงนั้น ได้แก่

  • ความเสี่ยงของสินทรัพย์ ที่เราเข้าไปลงทุน
  • ความเสี่ยงของประเทศ ที่เราเข้าไปลงทุน
  • ความเสี่ยงของกลุ่มอุตสาหกรรม ที่เราเข้าไปลงทุน

ส่วนที่เหลือนั้น ปล่อยผู้จัดการกองทุนให้ทำหน้าที่ดูแลแทนเราครับ

.

┏━━━━━━━━━━━━━┓

💫 FinVest แอปลงทุนแบบใหม่ ที่ได้รวบรวมกองทุนทั่วโลก มาให้คุณเลือกกองทุนที่เหมาะสม และตรงกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ได้ง่าย ๆ

⭐️ ลงทุนได้ทั้งไทยและเทศ แอปแรกในไทย ให้คุณลงทุนได้จาก 43 บลจ. ชั้นนำ

⭐️ ใช้งานง่าย เริ่มต้นแค่มือถือเครื่องเดียว ทำได้ตั้งแต่เปิดบัญชียันซื้อขายง่ายแค่ปลายนิ้ว

⭐️ เคียงข้างคุณ มีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยอัปเดตสภาพตลาด รวมถึงชี้เป้าการลงทุน

🔗 เริ่มลงทุน – แอป FinVest

🔗 สอบถาม – LINE

🔗 ติดตาม – Facebook / Instagram

🔗 อ่านบทความ – Website

┗━━━━━━━━━━━━━┛

#FinVest #YourWingsYourWays

.

*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต

**การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

Related Posts