SCBRMGHC ลงทุนครอบคลุม ในธีม Lifesciences
ใกล้จะหมดเขตแล้ว
สำหรับการซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ใครที่ยังไม่ได้เปิดพอร์ต สามารถอ่านวิธีเปิดพอร์ตลงทุนได้เลยที่ finvest.co.th/ssf-rmf-easy/
สำหรับใครที่อยากออมเงินโดยมีเป้าหมายระยะกลางผ่านกองทุน SSF อ่านเพิ่มได้เลยที่ finvest.co.th/5ssf2021/
ใครอยากออมเงินเพื่อการเกษียณผ่านกองทุน RMF อ่านได้เลยที่ finvest.co.th/gen-y-rmf/
เมื่อโรคภัยขยับไว บริษัทยาส่วนใหญ่ต้องพัฒนาตาม
ในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคระบาดอย่าง Covid-19 นั้นมีการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดกับสายพันธุ์ Omicron ที่ทำให้ทั่วโลกต้องเฝ้าระวังกันอีกครั้ง แต่ถ้าหากไม่นับโรคระบาดดังกล่าว เดิมทีมนุษย์ก็ต้องต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บที่จำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา
ยกตัวอย่างเช่นโรคมะเร็ง จากข้อมูลของ Janus Henderson คาดว่าจะมีคนป่วยเพิ่มขึ้นมาอีก 28 ล้านคนในอีกสองทศวรรษข้างหน้า หรือโรคใกล้ตัวคนไทยอย่าง โรคหัวใจขาดเลือด จากศูนย์โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันศิริราช จำนวนผู้ป่วยต่อปีที่ทางศูนย์รับมารักษาในปี 2017 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 5 เท่าตั้งแต่ปี 2002
จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยในแต่ละโรคนั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และหนทางที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้คือต้องพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ให้เท่าทันกับโรคภัยไข้เจ็บที่มีผู้ป่วยที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
เทคโนโลยี Healthcare ในวันนี้ ต้องพัฒนาไวขนาดไหน ?
ถ้าใครเคยได้ยินกฎของ Moore ที่กล่าวว่า “ปริมาณทรานซิสเตอร์อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์นั้นจะเพิ่มขึ้นเป็น เท่าตัว ในทุก ๆ 2 ปี กฎดังกล่าวนั้นสะท้อนถึงความเร็วในการพัฒนาของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถ้าเรามองย้อนกลับหลังไปจะพบว่าข้อความดังใกล้เคียงความเป็นจริง
ตัดกลับมาที่ฝั่งเทคโนโลยีการแพทย์ เทคโนโลยีทางการแพทย์หลาย ๆ อย่างก็พัฒนาด้วยอัตราเร่งเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีการตรวจสอบลำดับยีน หรือที่เรียกว่า DNA sequencing เพื่อค้นหาโรคทางพันธุกรรมและป้องกันโรคต่อไปได้
เทคโนโลยีการตรวจสอบยีนในปัจจุบัน มีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน
เนื่องจากเทคโนโลยีการตรวจสอบยีนในปัจจุบันนั้นได้รับการพัฒนาไปมาก อ้างอิงจากรายงานของ Illumina บริษัทชื่อดังที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ DNA sequencing พบว่าค่าใช้จ่ายต่อการตรวจสอบหนึ่งจีโนม หรือข้อมูลที่ถูกบันทึกอยู่ในพันธุกรรมของเราเหลือเพียงแค่ จีโนมละ 30,000 บาท ในปี 2019 ซึ่งถ้าหากย้อนไปประมาณ 20 ปีที่แล้ว ค่าตรวจสอบจีโนมหนึ่งจีโนม จะอยู่ที่ราวๆ 30,000,000 บาท หรือคิดเป็น 1000 เท่าของปัจจุบัน นอกจากเทคโนโลยีทางด้านจีโนมิกส์ที่พัฒนาไปมากแล้ว อีกเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาไปรวดเร็วไม่แพ้กันคือ เทคโนโลยีการผลิตยา
เทคโนโลยีการพัฒนายา ก็ถูกขับเคลื่อนด้วยอัตราเร่งเช่นเดียวกัน
จากรายงานของทาง Janus Henderson พบว่า ยาที่ได้รับการอนุมัติจาก FDA ในช่วงปี 2015-2019 นั้นพุ่งสูงขึ้นถึง 96% เมื่อเทียบกับตัวยาที่ได้รับการอนุมัติในช่วงปี 2005-2009 และอ้างอิงจากทาง Baillie Gifford ที่ได้ให้มุมมองว่า ด้วยเทคโนโลยีข้อมูล ซึ่งได้ผสมรวมเข้ากับการแพทย์ ส่งผลให้ช่วงเวลาหลังจากนี้เป็นเวลาที่ธีม Healthcare น่าลงทุนที่สุดกลุ่มหนึ่ง
รายจ่ายด้านสุขภาพ เติบโตตามการเติบโตของ GDP เป็นอีกเหตุผลที่กลุ่ม Healthcare น่าสนใจ
ด้วยข้อมูลที่อ้างอิงจากทาง Janus Henderson ซึ่งได้ให้มุมมองว่า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับด้านสุขภาพในประเทศกลุ่มที่พัฒนาแล้วนั้นสูงกว่าประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ อ้างอิงจากรายงานฉบับดังกล่าว หากประเทศกลุ่มตลาดเกิดใหม่มีการเติบโตของเศรษฐกิจ ประเด็นดังกล่าวสามารถสะท้อนมายังรายได้ของกลุ่ม Health Care ได้ในอนาคต เนื่องจากรายจ่ายด้านสุขภาพ เป็นปัญหาที่ระบบสาธารณสุขในแต่ละประเทศต้องดูแล ส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบ เพื่อดูแลและแก้ไขจากทางรัฐบาล เพื่อความเป็นอยู่ของประชาชนที่ดีขึ้น อ้างอิงจากทาง Statista ในปี 2018 ประเทศอย่าง สหรัฐ ใช้เงิน 16.9% ของ GDP เพื่อมาพัฒนาระบบสาธารณสุข คิดเป็นตัวเลขถึง 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ
Aging Society เป็นอีกตัวเร่งสำคัญ
ปิดท้ายกันด้วยตัวเร่งสำคัญอีกตัว คือการมาของสังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society ที่เป็นปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลกเผชิญสถานการณ์นี้รวมทั้งไทย จากข้อมูลของทางศูนย์วิจัยกสิกร ในปี 2021 คาดการณ์ว่าในปี 2030 หรืออีก 9 ปีข้างหน้า ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ และทราบหรือไม่ว่าเมื่อผู้สูงอายุมีอายุเกิน 65 ปี ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการรักษาพยาบาล จะเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงอายุก่อนหน้า เฉลี่ยถึง 3 เท่า (อ้างอิงข้อมูลจากรายงานของ Janus Henderson knowledge share 2020)
และทางรัฐบาล หลาย ๆ ประเทศก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหานี้ โดยในปี 2017 รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้มีการสนับสนุนเพื่อดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเป็นจำนวนสูงถึง 312 พันล้านเหรียญสหรัฐ
Life Science คือวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพของการดำรงชีวิต
เราจะเห็นว่า ปัญหาที่กล่าว ๆ มานั้น ถ้ามีวิทยาศาสตร์ที่สามารถพัฒนาเกี่ยวกับด้านความเป็นอยู่ให้แก่มนุษย์ ย่อมดีกว่าไม่มี แต่ทว่าศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพนั้นมีหลากหลาย ทั้งการตัดต่อยีน , เทคโนโลยีการพัฒนาทางด้านเภสัชกรรม อาหาร , อุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ หรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ทั้งหมดนี้เราสามารถเรียกรวม ๆ ว่าเป็น Life Science หรือวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพของการดำรงชีวิต
หากอยากลงทุนในธีม Life Sciences แบบครอบคลุม FinVest มีกองทุนมาเสนออีกเช่นเคย
นอกจากที่ยกมา ในตอนก่อนหน้า เราได้พูดถึงกองทุนกลุ่ม Healthcare Innovation ตัวแรกที่ได้ประโยชน์จาก Covid-19 (อ่านแบบเจาะลึกเน้นๆ ได้เลยที่ finvest.co.th/ssfhealthcare2021/) แต่ยังมีอีกกองทุนหนึ่ง ที่ได้ประโยชน์จาก Covid-19 ไม่แพ้กัน
ด้วยความที่ธุรกิจ Life Scienes มีการกระจายตัวอยู่หลากหลายหมวดอุตสาหกรรม จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถลงทุนผ่านกองทุนเดียว แต่ครอบคลุมในทุกหมวดอุตสาหกรรม รวมถึงมองหาโอกาสลงทุนในนวัตกรรมใหม่ ๆ เมื่อมีโอกาสอีกด้วย ถ้าผู้อ่านเกิดสนใจลงทุนง่าย ๆ จบ ครบ ผ่านกองทุนเดียว วันนี้ทาง FinVest มีกองทุนมาแนะนำ
สำหรับนักลงทุนที่เน้นลงทุนกองเดียวครบทุกอุตสาหกรรมการแพทย์
แถมยังได้ออมเงินเกษียณผ่าน RMF
แนะนำ
SCBRMGHC
ปรัชญาการลงทุนของ SCBRMGHC คือมุ่งเน้นการลงทุนใน Life Sciences
SCBRMGHC (กอง RMF สามารถนำไปลดหย่อนภาษี) เป็นกองทุน FIF เน้นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนหลัก Janus Henderson Global Life Sciences ซึ่งมีวัตถุประสงค์การลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต่างๆทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาตร์ในการดำเนินชีวิต (Life Sciences) ใน 4 หมวดอุตสาหกรรม
แล้ว 4 หมวดที่ว่ามีอะไรบ้าง ?
ลงทุนครอบคลุมใน 4 หมวดอุตสาหกรรม
หลัก ๆ แล้ว ทาง Janus Henderson Global Life Sciences มุ่งเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต่าง ใน 4 อุตสาหกรรม ได้แก่
Pharmaceutical เช่น บริษัทที่ทำการวิจัยพัฒนา หรือผลิตยา
Biotechnology หรือบริษัทที่คิดค้นผลิตภัณฑ์ขั้นสูงทางวิศวกรรมพันธุกรรม
Healthcare Providers & Services หรือบริการด้านสุขภาพ เช่น โรงพบาบาล บ้านพักผู้สูงอายุ เป็นต้น
Devices and Medical Tech ผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์
ผู้จัดการกองทุนมองว่า
นวัตกรรมทางการแพทย์ที่ยังไม่ถูกค้นพบจะเข้ามาเป็นกุญแจสำคัญ
สำหรับการพัฒนาทางการแพทย์
คุณ Andy Acker, CFA ผู้จัดการกองทุน มองว่านวัตกรรมทางการแพทย์ที่ยังไม่ถูกค้นพบจะเข้ามาเป็นกุญแจสำคัญ สำหรับการพัฒนาทางการแพทย์ เนื่องจากความต้องการทางการแพทย์ที่มากขึ้นจากความเป็นสังคมผู้สูงอายุ และการรักษาในรูปแบบใหม่ๆ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตมนุษย์ให้ดีขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวสามารถสร้างผลตอบแทนที่เติบโตในระยะยาวสำหรับนักลงทุน โดยกองทุนดังกล่าวได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1999 หรือประมาณ 22 ปีที่แล้ว
กลยุทธ์และนโยบายการลงทุนของกองทุน
พยายามสมดุลแต่ละหมวดการลงทุนให้ใกล้เคียงกัน
กองทุนดังกล่าวมองหาบริษัทที่สามารถสร้างความต้องการทางการแพทย์รูปแบบใหม่หรือบริษัทที่สามารถทำให้อุตสาหกรรมสุขภาพมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากนั้นจึงกระจายพอร์ตการลงทุนไปยัง 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ Pharmaceutical, Biotechnology และกลุ่ม Healthcare Providers & Services และ Devices and Medical Tech โดยกองทุนพยายามปรับสมดุลให้แต่ละอุตสาหกรรม
เน้นลงทุนในบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศกลุ่มที่พัฒนาแล้ว
นอกจากนี้ บริษัทหลักๆที่ทางกองทุนได้ทำการลงทุน อยู่ในประเทศกลุ่มพัฒนาแล้ว เช่นสหรัฐฯ และยุโรป โดยกองทุนมีเป้าหมายหลักคือ ต้องการให้เงินต้นเติบโตระยะยาว และชนะดัชนีชี้วัดอย่าง MSCI World Healthcare Index (Total Return Net)
” เลือกหุ้นโดยกระจายสัดส่วน
ตั้งแต่บริษัทที่แข็งแกร่งและเติบโตเต็มที่
ไปจนถึงบริษัทที่มีมูลค่าซ่อนอยู่ซึ่งตลาดยังมองไม่เห็น “
ทางกองทุนได้ทำการลงทุนโดยกำหนดให้มีหุ้นในพอร์ตการลงทุนอยู่ในช่วง 70-100 ตัว โดยกระจายการลงทุนโดยคำนึงจาก กลุ่มอุตสาหกรรม และขนาดมูลค่าตลาด และแบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นดังนี้
กลุ่ม Core Growth (สัดส่วน 20%-30% ของพอร์ต)
ลักษณะของหุ้นกลุ่มนี้คือเป็นบริษัทที่มีความสามารถในการนำตลาดโดยดูจากเฟรนไชด์และผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่าคู่แข่ง มีการบริหารที่แข็งแกร่ง และมีกระแสเงินสดอิสระที่ยั่งยืน
กลุ่ม Emerging Growth (สัดส่วน 20%-30% ของพอร์ต)
บริษัทกลุ่มนี้มีผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสเติบโตและอยู่ในขั้นตอนการวิจัยเป็นจำนวนมาก และลักษณะสำคัญที่สะท้อนมายังงบการเงินคือบริษัทเหล่านี้มีรายได้หรืออัตรากำไรที่กำลังเร่งตัวสูงขึ้น
กลุ่ม Opportunism (สัดส่วน 20%-30% ของพอร์ต)
บริษัทกลุ่มนี้เป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์ที่ยังไม่สะท้อนมูลค่า หรือมีผลการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามคาดจากปัจจัยระยะสั้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวสร้างโอกาสในการลงทุน
SCBRMGHC มีจุดเด่นที่น่าสนใจคือ
กระจายการลงทุนผ่านหุ้นเติบโต และมีความผันผวนต่ำเทียบกับตลาด ผ่าน 4 หมวดอุตสาหกรรม Healthcare ได้แก่ Pharmaceutical, Biotechnology, Healthcare Providers & Services และ Devices and Medical Tech
ผู้จัดการกองทุนมองว่านวัตกรรมทางการแพทย์ที่ยังไม่ถูกค้นพบ จะเข้ามาเป็นกุญแจสำคัญ ที่ส่งผลให้กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่เติบโตในระยะยาวแก่นักลงทุน
หุ้นกลุ่ม Healthcare แบบดั้งเดิมมีลักษณะเป็นหุ้นกลุ่ม Defensive ทำให้มีความผันผวนน้อยกว่าเมื่อถึงเวลาตลาดขาลง และยังมีโอกาสเติบโตจากนวัตกรรมใหม่ ๆ
กองแม่จัดตั้งตั้งแต่ปี 1999 หรือ 22 ปีที่แล้ว พร้อมด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญในสายงานทางด้าน Healthcare
ตัวอย่างหุ้นที่ลงทุน เช่น UnitedHealth Group, Astrazeneca , Merck & Co Inc, Roche Holding และ Thermo Fisher Scientific Inc (อ้างอิง 31 ตุลาคม 2021)
Astrazeneca
บริษัทเภสัชกรรมรายใหญ่ของโลกซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตวัคซีน Covid-19 นอกจากนี้ยังเชี่ยวชาญด้านยาสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด เมตาบอลิซึม ระบบประสาท ทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และ เนื้องอก
Merck & Co Inc
บริษัทพัฒนายาสัญชาติอเมริกัน ซึ่งปัจจุบันกำลังพัฒนายาทานสำหรับรักษา Covid-19
UnitedHealth Group
เป็นบริษัทประกันสุขภาพชั้นนำของสหรัฐฯ ที่เสนอแผนและบริการที่หลากหลายแก่ลูกค้ากลุ่มและลูกค้ารายบุคคลทั่วประเทศ โดยบริษัทดังกล่าวมีหน้าที่จัดการและจัดหาผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของนายจ้างเพื่อวางแผนสวัสดิการพนักงาน
Roche Holding
พัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์ด้านเภสัชกรรมและการวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง ความผิดปกติของการเผาผลาญ เนื้องอก การปลูกถ่าย และระบบประสาทส่วนกลาง
Thermo Fisher Scientific Inc
ผู้จัดจำหน่ายเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และให้บริการห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์และซอฟต์แวร์สำหรับการทำวิจัย
ผลตอบแทนและความเสี่ยง
ผลตอบแทนของกองแม่อย่าง Janus Henderson Global Global Life Sciences Fund ในช่วงสามปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 13.01% (อ้างอิงจาก Morningstar 7 ธันวาคม 2021) ซึ่งเอาชนะ MSCI World Health Care Index 12.59% ต่อปี และความเสี่ยงของทางกองทุน SCBRMGHC มีความเสี่ยงระดับ 7 เนื่องจากกระจุกตัวลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมเดียว
ถ้าอยากซื้อกองทุนประเภทอื่น ๆ ก็สามารถซื้อผ่าน FinVest ได้
กองทุนในประเทศที่ลงทุนผ่าน Janus Henderson Global Global Life Sciences Fund
SCBGHCA
KKP GHC
KT-HEALTHCARE-A
กองทุนหลักต่างประเทศที่ใกล้เคียง
Janus Henderson Horizon Biotechnology Fund
กองทุนทั้งหมดนี้ สามารถซื้อผ่าน แอป FinVest กันได้เลยที่ https://finvest.onelink.me/CoWV/cd81c26c
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ Line https://lin.ee/3wINMDBsz
Follow us on Website: www.finvest.co.th
#FinVest #YourWingsYourWays