รู้ก่อนเตรียมตัวก่อน  กองทุนลดหย่อนภาษี SSF & RMF คืออะไร​? แตกต่างกันอย่างไร?

รู้ก่อนเตรียมตัวก่อน  กองทุนลดหย่อนภาษี SSF & RMF คืออะไร​? แตกต่างกันอย่างไร?

รู้ก่อนเตรียมตัวก่อน  กองทุนลดหย่อนภาษี SSF & RMF คืออะไร​? แตกต่างกันอย่างไร? และเลือกแบบไหนให้ตรงใจคุณ

SSF & RMF คืออะไร ? 

SSF (Super Saving Fund) หรือ กองทุนรวมเพื่อการออม

กองทุน SSF เป็นกองทุนที่มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมที่มาแทนกองทุน LTF โดยจุดเด่นคือความยืดหยุ่นเพราะสามารถลงทุนได้หลายสินทรัพย์ทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้  กองทุนอสังหาฯ กองทุนทองคำ เป็นต้น โดยต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ นอกจากนี้กองทุน SSF ยังสามารถสับเปลี่ยนไปยัง SSF กองอื่นๆ ใน บลจ.เดียวกันได้อีกด้วย 

ด้วยเงื่อนไขการถือหน่วยลงทุน 10 ปี ทำให้กองทุน SSF เหมาะกับการออมเงินระยะกลางถึงยาว 10 ปีขึ้นไป

RMF (Retirement Mutual Fund) หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

RMF เป็นกองทุนรวมที่เน้นส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อใช้จ่ายในยามเกษียณอายุ โดยกองทุน RMF มีนโยบายการลงทุนให้ประเภทสินทรัพย์ทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนอสังหาฯ กองทุนคำ ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงของตัวเอง โดยผู้ลงทุนจะต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อวันแรก และต้องถือจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันกองทุน RMF ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ แต่ทั้งนี้ผู้ลงทุนจะต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี 

จากเงื่อนไขของกองทุน RMF ทำให้กองทุนลักษณะนี้เหมาะกับการออมเงินระยะยาวเพื่อการเกษียณอย่างมีคุณภาพ

แล้วกองทุน SSF & RMF แตกต่างกันอย่างไร ? เราเทียบให้เห็นแบบหมัดต่อหมัด 

เพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น FinVest ขออาสาสรุปความแตกต่างระหว่างกองทุนทั้งสอง มาเป็นตารางเทียบแต่ละประเด็นที่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับ SSF และ RMF ให้ทุกคนได้รู้ก่อนจะเตรียมตัวก่อน 

Source : Setinvestnow.com , rd.go.th , AIMC

งื่อนไขการลดหย่อนภาษี

ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ต้องย้ำกับทุกท่านให้ทราบโดยทั่วกันว่า ถึงแม้ SSF จะมีเพดานจำกัดอยู่ที่ 200,000 บาท และไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน หรือ RMF ที่มีเพดานจำกัดอยู่ที่สูงสุดไม่เกิน 30% นั้น แต่ความจริงแล้วค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีนั้นเราต้องคำนวณในส่วนของประกันบำนาญและกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ , กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกองทุนออมแห่งชาติ (กอช) เข้าไปด้วย

โดยสรุปแล้ว ยอดรวมของกองทุนเพื่อการออมทุกประเภทจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้เพื่อความง่ายเราสรุปเป็นภาพมาให้ทุกท่านอีกเช่นเคยครับ

Source : Setinvestnow.com , rd.go.th , AIMC

ถ้าทำผิดเงื่อนไขจะเป็นอย่างไร ? 

จากเงื่อนไขมากมายที่เราได้กล่าวไปแล้วนั้น มาถึงตรงนี้หลายคนคงเริ่มมีข้อสงสัยแล้วว่า ถ้าหากเราทำผิดเงื่อนไขการลงทุนจะต้องทำอย่างไรบ้าง ?

ถ้าหากผิดเงื่อนไขการลงทุน SSF ต้องทำอย่างไร

  1. กรณีซื้อเกินสิทธิ์ที่กำหนด   กำไรที่ได้จากการขายคืนเฉพาะส่วนที่เกินสิทธิ์จะถือเป็นรายได้ในปีที่ขายคืน ซึ่งจะต้องนำไปรวมเพื่อคำนวณภาษีด้วย
  2. กรณีถือไม่ครบกำหนด 10 ปี กำไรที่ได้จากการขายคืนต้องถูกคำนวณเพื่อเสียภาษี และจะต้องคืนภาษีได้รับการลดหย่อนย้อนหลังทุกปี พร้อมค่าปรับดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนของจำนวนเงินภาษีที่ได้รับลดหย่อน โดยจะคิดย้อนหลังตั้งแต่ เดือน เม.ย. ของปีที่เคยยื่นลดหย่อน จนถึงวันที่ยืนคืนภาษี

ถ้าหากผิดเงื่อนไขการลงทุน RMF ต้องทำอย่างไร

  1. กรณีซื้อเกินสิทธิ์ที่กำหนด   กำไรที่ได้จากการขายคืนเฉพาะส่วนที่เกินสิทธิ์จะถือเป็นรายได้ในปีที่ขายคืน โดยจะต้องนำไปรวมเพื่อคำนวณภาษีด้วย
  2. กรณีลงทุนไม่ถึง 5 ปี  กำไรที่ได้จากการขายคืนต้องถูกคำนวณเพื่อเสียภาษี และจะต้องคืนภาษีได้รับการลดหย่อนย้อนหลังทุกปี พร้อมค่าปรับดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนของจำนวนเงินภาษีที่ได้รับลดหย่อน โดยจะคิดย้อนหลังตั้งแต่ เดือน เม.ย. ของปีที่เคยยื่นลดหย่อน จนถึงวันที่ยืนคืนภาษี
  3. กรณีลงทุนเกิน 5 ปี แต่ขายคืนก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์  จะต้องคืนเฉพาะภาษีที่ได้รับการลดหย่อน 5 ปีย้อนหลัง 

ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจซื้อ SSF & RMF ทุกครั้ง เราอยากย้ำว่าควรศึกษาเงื่อนไขทางภาษีต่าง ๆ ให้ถี่ถ้วนก่อนนะครับ ด้วยความปรารถนาดีจากพวกเรา

สำหรับใครที่อยากเริ่มต้นลงทุน

ในกองทุน SSF & RMF แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร

วันนี้ FinVest มี 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ทำตามได้ทันที

.

กองทุนที่แนะนำทั้งหมด สามารถลงทุนได้ที่ แอป FinVest

https://www.finvest.co.th/AWO092208004

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ Line https://lin.ee/3wINMDBsz

Follow us on Website : www.finvest.co.th

*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต*

*การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน*

*ระยะเวลาการจัดสรรหน่วยลงทุนขึ้นอยู่กับแต่ละ บลจ.*

#FinVest #YourWingsYourWays

Related Posts