ทำไมต้องวางแผนการเงิน ? โดย FinVest

ทำไมต้องวางแผนการเงิน ? โดย FinVest


เรื่องที่หลายคนเข้าใจผิด ไม่มีเงิน ไม่ต้องวางแผนการเงิน บอกเลยว่าไม่จริง

ยิ่งไม่มีเงิน ยิ่งต้องวางแผนการเงิน


เรื่องที่หลายคนเข้าใจผิด ไม่มีเงิน ไม่ต้องวางแผนการเงิน บอกเลยว่าไม่จริง
ยิ่งไม่มีเงิน ยิ่งต้องวางแผนการเงิน


และนี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นถ้าไม่วางแผนการเงิน


คนที่ไม่วางแผนการเงิน

  • จะไม่รู้ว่าตัวเองมีรายรับเท่าไร
  • จะไม่รู้ว่าตัวเองมีรายจ่ายเท่าไร

ถ้ามีรายได้มากกว่ารายจ่ายก็โชคดีไป แต่ถ้าเหตุการณ์กลับกันคือมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ล่ะ ? สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ต้องไปเป็นหนี้ และถ้าหาเงินมาคืนไม่ได้ ในที่สุดก็จะล้มละลาย

เห็นความสำคัญของการวางแผนการเงินหรือยังครับ ?




3 เหตุผลทำไมต้องวางแผนการเงิน


1. เข้าใจสุขภาพการเงิน

  • ร่างกายยังต้องตรวจสุขภาพ
  • รถยังต้องเข้าศูนย์
  • แล้วทำไมเรื่องการเงิน เราถึงไม่เช็คสุขภาพบ้าง ? 

การเข้าใจสุขภาพทางการเงิน จะทำให้เราเข้าใจรายรับรายจ่าย จะทำให้เรารู้ต้องลดค่าใช้จ่ายอะไร เพิ่มรายได้ตรงไหน


2. สร้างความมั่นคงในชีวิต

พอเราวางแผนการเงิน แล้วทยอยไล่แก้ปัญหาทางการเงิน

  • ลดค่าใช้จ่าย
  • เพิ่มรายได้
  • จนทำให้รายรับเป็นบวก มีเงินเก็บสะสม

นี่คือจุดเริ่มต้นของการมีความมั่นคงในชีวิต


3. บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ไวขึ้น

อิสรภาพทางการเงิน จะไปถึงได้ ต้องเริ่มจากเข้าใจค่าใช้จ่าย

จากนั้นทำให้รายได้จากทรัพย์สินมากกว่าค่าใช้จ่าย

คำถามคือ จะรู้ได้อย่างไรว่าต้องหารายได้จากสินทรัพย์เท่าไร ถ้าไม่รู้รายจ่าย?

ทำนองเดียวกัน จะรู้รายจ่ายได้อย่างไรถ้าไม่วางแผนการเงิน ?




ขั้นตอนการวางแผนการเงิน


1. ทำงบรายรับรายจ่ายล่วงหน้า 12 เดือน

อันนี้คือเบสิคสุด รู้รายรับรายจ่ายทำให้เราเห็นภาพกว้างๆ ว่าเรามีรายรับเท่าไร รายจ่ายเท่าไร ทีนี้คำถามคือทำไมต้องทำ 12 เดือน ? ลองนึกภาพตาม FinVest นะครับ สมมติว่านี่คือรายได้ต่อเดือน 

  • รายรับ 50,000
  • รายจ่าย 45,000
  • เงินเก็บ 5,000

ฟังดูเหมือนจะดีใช่ไหมครับ วันดีคืนดี ลูกมาขอค่าเทอมมหาลัย 50,000 ค่าส่วนกลางคอนโดอีก 12,000

คำถามคือ จะหาจากไหนมาจ่าย ? ถูกไหมครับ นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องวางแผนการเงินไปจนถึง 12 เดือน ทีนี้สมมติว่าทำครบทั้ง 12 เดือนแล้ว พบว่า

  • ถ้ารายรับมากกว่ารายจ่าย : ยินดีด้วย คุณมีสุขภาพการเงินที่ดี
  • แต่ถ้ารายจ่ายมากกว่ารายได้ : ไม่เป็นไร ค่อยไปที่ขั้นตอนถัดไปครับ


2. ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

กางค่าใช้จ่ายทั้งหมดออกมาครับ แล้วมาดูว่าค่าใช้จ่ายอันไหนบ้างที่ตัดออกได้

  • Viu Netflix Prime Disney+ เอาออกสักอันได้ไหม?
  • Shopee Lazada มีอะไรที่ซื้อมาประจำ แต่ไม่เคยใช้บ้าง?
  • กินข้าวนอกบ้าน ลดจำนวนครั้งลงได้ไหม?

ลองลิสต์ดูอะไรที่ไม่จำเป็น แล้วลองทยอยตัดดู


3. หาวิธีเพิ่มรายได้

อาจจะทำให้งานตรงหน้ามีความก้าวหน้า หรือหาอาชีพเสริมทำ ถึงมันจะฟังดูเหนื่อย แต่เชื่อเถอะเหนื่อยน้อยกว่าตอนเป็นหนี้บัตรเครดิต ดอกเบี้ย 16% แน่ ๆ


4. หาทางเก็บเงินสำหรับใช้จ่ายฉุกเฉินอย่างน้อย ๆ 6 เดือน

ลองนึกภาพตอนโควิดมาใหม่ ๆ ดูนะครับ ร้านค้าปิด กิจการปิด หลายคนต้องขาดรายได้ คำถามคือถ้าเราไม่มีเงินฉุกเฉิน จะเกิดอะไรขึ้น ?

กลับกัน ลองนึกภาพการมีเงินเก็บฉุกเฉินอย่างต่ำ 6 เดือน ช่วยให้หลับสบายไร้กังวล


5. หาช่องทางลงทุน

มาถึงขั้นตอนสุดท้าย หลังจากใช้แรงหาเงิน ถึงเวลาใช้เงินหาเงินแล้วครับ เป้าหมายคือ การสะสมทรัพย์สินให้รายได้จากทรัพย์สินมากกว่ารายจ่าย

แรก ๆ รายได้จากทรัพย์สินอาจจะจ่ายได้แค่กาแฟ แต่ต่อไปอาจเป็นค่าโทรศัพท์ ค่าอาหาร ค่าที่อยู่ และไปเรื่อย ๆ จนถึงเงินเดือนของเราเลย




*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
**การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน


#FinVest #YourWingsYourWays

Related Posts