FinVest ชวนหลบภัยในช่วงตลาดผันผวน เมื่อธนาคารกลางทั่วโลกพร้อมใจกันขึ้นอัตราดอกเบี้ย

FinVest ชวนหลบภัยในช่วงตลาดผันผวน เมื่อธนาคารกลางทั่วโลกพร้อมใจกันขึ้นอัตราดอกเบี้ย

FinVest ชวนหลบภัยในช่วงตลาดผันผวน เมื่อธนาคารกลางทั่วโลกพร้อมใจกันขึ้นอัตราดอกเบี้ย

.
หลังจากวิกฤต Subprime ในปี 2008 ทำให้ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ประเทศส่วนใหญ่มักจะดำเนินนโยบายทางการเงินแบบ “ผ่อนคลาย” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ วิธีการที่หลายประเทศใช้คือการลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นทุนสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน บางประเทศ เช่น ญี่ปุ่นหรือยุโรปถึงกับต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจจนออก #นโยบายดอกเบี้ยติดลบ หรือพูดง่าย ๆ คือ #ถ้านำเงินไปฝากธนาคารแล้วจะเสียเงิน อีกด้วย
.
ตัดภาพมาที่สถานการณ์ปัจจุบัน เราจะเริ่มเห็นสัญญาณจากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มดำเนินนโยบายการเงินแบบ “ตึงตัว” ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ทั่วโลก รวมไปถึงประเทศที่ไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยเป็นเวลานานอย่างในแถบเอเชีย อย่างเช่นเกาหลีใต้ ยังตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามขึ้นไปด้วย หรือแถบตะวันตกอย่างแคนาดาที่ล่าสุดปรับเพิ่มขนานแรง คำถามสำคัญคือ ทำไมต้องพร้อมใจปรับอัตราดอกเบี้ยกันตอนนี้?
.
ต้องยอมรับว่าความตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซีย ที่ทำให้ราคาพลังงานและอาหารทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ต้นทุนของหลายอุตสาหกรรมเร่งตัวขึ้น และเป็นต้นเหตุของเงินเฟ้อภาคครัวเรือน
.
โดยตัวชี้วัดที่สำคัญคือแนวโน้มการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางประเทศหลัก ๆ 55 ประเทศ ที่ปัจจุบันกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ตัดสินใจดำเนินนโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ย
แต่นอกจากปัจจัยภายนอกข้างต้นแล้ว ปัจจัยภายในเองก็มีส่วน โดยเฉพาะประเทศในตลาดเกิดใหม่ ตัวอย่างเช่น เสถียรภาพการเงินของประเทศที่มีความเปราะบางเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว
เนื่องจากประเทศตลาดเกิดใหม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศและนั่นเป็นเหตุให้ต้องอาศัยสกุลเงินต่างประเทศ ทำให้เมื่อมีการปรับตัวขึ้นของราคา เหตุนี้เองส่งผลให้ทุนสำรองของประเทศในกลุ่มดังกล่าวลดลง ทำให้ในปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลกจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยอย่างเร่งด่วน เพื่อลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อลงรวมไปถึงเพื่อลดความเสี่ยงในด้านเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศอีกด้วย
.
ล่าสุดจากการที่ธนาคารสหรัฐตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 0.5% จากเดิมที่ขยับทีละ 0.25% จะเห็นว่าอัตราเร็วในการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนั้นเร่งตัวขึ้น
.
และไม่ใช่แค่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่คิดแบบนี้ เพราะจากผลการสำรวจพบว่า ธนาคารกลาง 38 ประเทศที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.5% ยิ่งไปกว่านั้น อีก 24 ประเทศ ยังขึ้นมากกว่า 1%ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแต่ละประเทศต้องการจัดการกับเงินเฟ้อต้องอย่างเร่งด่วน
.
สถานการณ์เงินเฟ้อปัจจุบันยังเรียกได้ว่าน่ากังวล จากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI ที่ปัจจุบันของสหรัฐฯ ที่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมานั้น ตัวเลขออกมาอยู่ที่ 9.1% ซึ่งถือว่าสูงมาก
.
และไม่เพียงแต่สหรัฐฯเท่านั้นที่ประสบปัญหา ประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เช่นดัชนีราคาผู้บริโภของเยอรมันที่ 7.1% ของฝรั่งเศสที่ 5.8% หรือไทยเองที่ 7.7%
.
โดยผลกระทบจากเงินเฟ้อ ไม่เพียงแต่กระทบกับเงินในกระเป๋าของผู้บริโภค หรือผู้ที่มีหนี้สินเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนอีกด้วย ซึ่งจากข้อมูลในอดีต จะพบว่า การปรับฐานของตลาดหลายครั้ง มักเกิดจากปัญหาเงินเฟ้อ
.
ถึงแม้ว่าด้วยตัวเลขเงินเฟ้อจะเยอะมากจนดูเหมือนว่าช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ไม่น่าลงทุนเสียเลยเพราะเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน แต่จากการศึกษาข้อมูลในอดีตแล้วพบว่า เราสามารถลงทุนได้ทุกช่วงเวลา เพียงแค่ต้องเข้าใจและจับคู่ให้ถูกว่าสินทรัพย์ประเภทไหนนั้นเหมาะกับวัฏจักรเศรษฐกิจช่วงไหน
.
สำหรับใครที่ยังกังวลว่าช่วงนี้จะลงทุนอย่างไร ก็เหมือนเช่นเคยที่คราวนี้พวกเราจะมาแนะนำกองทุนที่ยังสามารถหาผลตอบได้ไปพร้อม ๆ กับการเป็นหลุมหลบภัยในช่วงเวลาแบบนี้กันครับ โดยคราวนี้มีทั้งกองทุนไทยและเทศให้เลือกสรรกันเลย
.
กองทุน K-GA-A(A) เน้นลงทุนใน BGF Global Allocation Fund​ ซึ่งจะกระจายการลงทุนสินทรัพย์ต่างประเทศ ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ สินทรัพย์เทียบเคียงเงินสด เพื่อให้ผลตอบแทนใกล้เคียงหุ้นโลก ด้วยความเสี่ยงต่ำกว่า การบริหารกองทุนมีความยืดหยุ่น สามารถปรับสัดส่วนการลงทุนได้สม่ำเสมอ โดยมีผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ดูแลตามสภาวะตลาดและเวลาที่เหมาะสม แถมถ้าใครอยากได้กองทุนลดหย่อนภาษีได้ในคราวเดียวกันแนะนำ KGARMF
.
สำหรับใครที่สนใจว่าประโยชน์ของการทำ Asset Allocation นั้นสำคัญต่อพอร์ตอย่างไร สามารถอ่านต่อได้ที่บทความนี้เลย
.
จะเห็นว่ากองทุนทำการลงทุนผ่าน BGF Global Allocation Fund ซึ่งถ้าอยากเข้าใจว่าปรัชญาการลงทุนของกองทุนดังกล่าวเป็นอย่างไรนั้นคงต้องไปอ่านรายงานของกองทุนแม่ แต่ไม่ต้องกังวลครับ เพราะพวกเราได้ทำการสรุปเกี่ยวกับกองทุนจากทาง Blackrock ไว้ให้แล้ว อ่านได้ที่บทความนี้เลย
.
มาถึงตรงนี้แล้ว คงพอจะเดาออกกันแล้วใช่ไหมครับว่ากองทุนต่างประเทศที่เราจะแนะนำคราวนี้คือกองทุนไหน?
.
BGF Global Allocation Fund กระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ให้เรียบร้อย จบครบในกองเดียว พร้อมด้วยผลงานการันตีความทนทานเนื่องจาก IPO มาตั้งแต่ปี 1997 ทำให้ มีประสบการณ์ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากพอสมควร ลงทุนกองแม่กองนี้ที่กล่าวถึงไปแล้วผ่าน FinVest ได้เช่นกัน
.
ก่อนจากกันคราวนี้ยังไงก็ขอฝาก 2 กองทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศไว้เป็นตัวเลือกในการลงทุนให้นักลงทุนทุกท่านปลอดภัยจากความผันผวนในตลาดช่วงนี้ด้วยครับ

กองทุนนี้ สามารถลงทุนผ่านแอปพลิเคชัน FinVest ได้เลยที่ https://finvest.onelink.me/CoWV/cd81c26c
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ Line https://lin.ee/3wINMDBsz
Follow us on Website: www.finvest.co.th

#FinVest #YourWingsYourWays

**ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต**

**การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน**

Related Posts