Bear Market Rally คืออะไร? อันตรายแค่ไหน ?

Bear Market Rally คืออะไร? อันตรายแค่ไหน ?

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหลายแห่งฟื้นตัวขึ้นหนักบ้างเบาบ้างแตกต่างกันไป ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าก่อนหน้านี้ตลาดเหล่านั้นนับเป็นขาลง ซึ่งถ้าปรับลงมามากกว่า 20% จากจุดสูงสุด ก็จะยิ่งเข้าใกล้นิยามของ  ภาวะตลาดหมี (Bear Ma ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจัยกดดันยังต่างรายล้อมเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย

โดยในช่วงที่ตลาดกำลังเป็นขาลงครั้งใหญ่ มักเกิดปรากฏการณ์อย่าง “Bear Market Rally” ขึ้น ซึ่งพวกเราต้องขอบอกว่าถ้าไม่ไม่รู้จักปรากฏการณ์นี้ อาจจะสร้างอันตรายแก่พอร์ตการลงทุนได้เลยทีเดียว

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลากันไปมากกว่านี้ ในตอนนี้พวกเรา FinVest จะขอแนะนำให้นักอ่านทุกท่านรู้จักกับ Bear Market Rally กัน ว่ามันคืออะไร แล้วอันตรายแค่ไหน ถ้าพร้อมแล้ว ตามมา !

Bear Market Rally คืออะไร ?

ถ้าให้สรุปอย่างสั้น ๆ คำว่า Bear Market Rally คือการฟื้นตัวระยะสั้นของตลาดในช่วงที่ภาพใหญ่กำลังเป็นขาลง โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นนั้นเป็นไปได้จากหลายปัจจัย เช่น ข่าวดีที่ทำให้ตลาดลดความตึงเครียดก็ได้ หรือจะมาจากแรงเก็งกำไรจากสัญญาณทางเทคนิคก็ดี

โดยในอดีตทุก ๆ ครั้งที่ตลาดเข้าสู่ภาวะตลาดหมี (โดยกำหนดให้เกิดขึ้นหลังจากดัชนีติดลบจากจุดสูงสุดเกิน 20%) มักมีเกิด Bear Market Rally เสมอ เช่น โดยเราขอพาทุกท่านไปศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วง  Dot-com bubble และ Subprime Crisis

มาเริ่มกันที่ช่วงวิกฤต Dot-com bubble ในปี 2000-2003 ณ ตอนนั้น ดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลงราว 50% จากจุดสูงสุด แต่ระหว่างทางดัชนีก็มีการฟื้นตัวแบบ Bear Market Rally รวมกันทั้งหมดถึง 5 ครั้งและปรับตัวขึ้นครั้งละ 7-24% และใช้ระยะเวลาในการปรับฐานแต่ละครั้งประมาณ 1-6 เดือน 

หรือว่าจะเป็นช่วง Subprime Crisis ในปี 2007-2009 ที่ดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลงราว 60% จากจุดสูงสุด แต่ระหว่างทางดัชนีก็มีการฟื้นตัวเป็นพัก ๆ แบบเดียวกันถึง 4 ครั้ง และปรับตัวขึ้นครั้งละ 7-25% โดยใช้ระยะเวลาในการปรับฐานตั้งแต่ 1-3 เดือน 

เห็นแบบนี้นักลงทุนที่อ่านมาถึงตรงนี้คงมีคำถามว่า การที่ตลาดกลับตัวแบบนี้ มันก็ดีไม่ใช่หรือ แล้วมันเป็นอันตรายอย่างไร ?

แล้วอะไรที่ทำให้ Bear Market Rally ดูอันตราย ?

แท้จริงแล้ว Bear Market Rally ไม่ได้อันตรายด้วยตัวของมันเอง เพียงแต่การที่ตลาดมีการกลับตัวเป็นพัก ๆ นั้นส่งผลทางจิตวิทยาต่อนักลงทุนอย่างรุนแรง 

ยกตัวอย่างเช่น การที่มีข้อมูลราคาปรับตัวขึ้น อาจจะช่วยเป็นตัวกระตุ้นให้นักลงทุนยืนยันว่าแนวโน้มขาลงได้จบแล้ว จากนั้นจึงเข้าทำการลงทุน ในขณะที่ข้อมูลส่วนใหญ่ยังสะท้อนถึงแนวโน้มขาลง โดยลักษณะการตัดสินใจที่เกิดจากการใช้ข้อมูลบางชุดเพื่อยืนยันการตัดสินใจอย่างมีอคตินี้สามารถเรียกได้ด้วยคำศัพท์ทางวิชาการว่า Confirmation bias

หรือว่าจะเป็นการมองว่าตลาดได้ปรับตัวจากจุดสูงสุดมามากแล้ว โดยตัดสินใจเทียบกับจุดสูงสุดในอดีต ทำให้เข้าลงทุนไวเกินไป และไม่มีการวิเคราะห์ในเชิงพื้นฐานหรือปัจจัย Valuation ในภาพรวมอคติชนิดนี้เรียกว่า Anchoring bias

การที่มีอคติทางการลงทุนเกิดขึ้น อาจนำไปสู่การซื้อขายที่ไม่ได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ และทำให้เกิดการขาดทุนหนักหรือไม่สามารถทำตามเป้าหมายการลงทุนที่แท้จริงได้

แล้วปัญหานี้แก้อย่างไร วันนี้ FinVest มีทางออก 

1. อย่าพึ่งรีบร้อนลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ 

คำแนะนำของเราคือ หลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ โดยตรงเป็นการชั่วคราว โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มี Valuation แพง หรือถูกคาดหวังการเติบโตไว้สูงเกินไป ได้แก่กลุ่ม Hyper-growth, Technology, Consumer Discretionary เป็นต้น หรือหุ้นในกลุ่มที่ยังไม่มีกำไรทางบัญชี กลุ่มที่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานยังติดลบหรือมีการก่อหนี้สินในระดับสูง

สาเหตุเพราะเรายังคงมองว่าการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ครั้งนี้เป็นเพียง Bear Market Rally เท่านั้น และยังมีโอกาสปรับฐานลงต่อ เนื่องจากหลายปัจจัย อาทิ ปัจจุบันยังเป็นช่วงเริ่มต้นของการใช้นโยบายตึงตัวของ Fed โดยเฉพาะการลดขนาดงบดุลที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ หรือจะเป็นตัวเลขเศรษฐกิจเริ่มเติบโตช้าลงหลังเงินเฟ้อและดอกเบี้ยกดดันเศรษฐกิจ 

บวกกับความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่ยากเกินคาดเดา เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังดำเนินอยู่ ปัญหาคอขวดอุปทานทั่วโลก เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้เองทำให้ Valuation บนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปัจจุบัน เทียบกับในอดีต ยังถือว่าค่อนข้างแพงเทียบกับตลาดหุ้นประเทศอื่น

ที่มา ROBOWEALTH INVESTMENT ADVISORY SECURITIES

  •  

2. ลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์มี Valuation ที่น่าสนใจและเหมาะสมกับวัฏจักรเศรษฐกิจในปัจจุบัน ได้แก่

การลงทุนในสินทรัพย์ที่มี Valuation น่าสนใจ เป็นเหมือนการเล่นเกมรุกและเกมรับในเวลาเดียวกัน โดยกองทุนที่เราพบว่ามี Valuation น่าสนใจมีด้วยกัน 2 กองทุนดังนี้

  1. กองทุนหุ้นโลก SCBPGF: เน้นการลงทุนในหุ้น 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักทั่วโลกที่มี Valuation ถูกกว่าตลาดโดยรวม และสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน (Cash Return on Capital Invested) ได้ในระดับสูง 

อ่านเพิ่มเติมคลิก

  1. กองทุนหุ้นเวียดนาม PRINCIPAL VNEQ-A: เศรษฐกิจเวียดนามที่อยู่ในทิศทางฟื้นตัว ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนยังคงเติบโตแข็งแกร่ง และ Valuation น่าสนใจ กองทุนเน้นการลงทุนหุ้นใหญ่จาก Downside ที่จำกัด

อ่านเพิ่มเติมคลิก

ถ้าใครอ่านมาถึงตรงนี้ ก็คงได้รู้จักกับคำศัพท์ใหม่อย่าง “Bear Market Rally” กันแล้ว ยังไงวันนี้พวกเราก็ขอลาไปก่อน ก่อนจากคราวนี้อยากบอกนักลงทุนทุกท่านว่า อย่าลืมปกป้องเงินทุนไปพร้อมกับปกป้องสุขภาพจิตในช่วงเวลาที่ตลาดยากแบบนี้ด้วยนะครับ เพราะเราอยากให้ทุกท่านอยู่ลงทุนด้วยกันนาน ๆ 

กองทุนนี้ สามารถลงทุนผ่านแอปพลิเคชัน FinVest ได้เลยที่ https://finvest.onelink.me/CoWV/cd81c26c
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ Line https://lin.ee/3wINMDBsz
Follow us on Website: www.finvest.co.th

#FinVest #YourWingsYourWays

 

Related Posts