ลงทุน “หุ้นคุณค่า” ฝ่าวิกฤตเงินเฟ้อไปกับ SCBPGF

ลงทุน “หุ้นคุณค่า” ฝ่าวิกฤตเงินเฟ้อไปกับ SCBPGF

ลงทุนในหุ้นคุณค่า ฝ่าวิกฤตเงินเฟ้อ ไปกับ SCBPGF 

ผ่านพ้นไปแล้วกับเทศกาลสงกรานต์ เทศกาลแห่งความสุขสำราญและการพักผ่อน แต่พอได้กลับเข้ามาประจำการในโลกแห่งการเงินการลงทุนเท่านั้น ก็พบว่ามียังมีความไม่แน่นอนรออยู่เต็มไปหมด ไหนจะเรื่องของ Inverted Yield Curve , QT และการขึ้นดอกเบี้ยอีก

แต่ไม่ว่าสภาพตลาดจะเป็นอย่างไร เราก็พร้อมจะหากองทุนคุณภาพให้นักลงทุนอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาไปมากกว่านี้ วันนี้ FinVest ขอแนะนำกองทุน ที่คราวนี้คัดเลือกแต่หุ้น Value มาให้นักลงทุนได้จับจ่ายของดีราคาถูกกัน ซึ่งก็คือ SCBPGF นั่นเอง

  •  

ปรัชญาการลงทุนของ SCBPGF

SCBPGF ลงทุนผ่าน DWS Invest CROCI Sectors Plus โดยทางกองทุนดังกล่าว มีนโยบายเลือกหุ้นคุณค่าขนาดใหญ่ ในประเทศพัฒนาแล้ว ที่คัดมาอย่างดีผ่านโมเดล CROCI ของทาง DWS 

เพื่อให้นักลงทุนมีความรู้ความเข้าใจที่มากขึ้นกับกลยุทธ์การลงทุนของทาง DWS Invest CROCI Sectors Plus เราจะพาทุกท่านเจาะลึกตั้งแต่กระบวนการสร้างพอร์ต ไปจนถึงการคำนวณ CROCI Economic P/E ถ้าพร้อมแล้ว ลุยกันเลย 

  •  

กลยุทธ์การสร้างพอร์ตแบบเป็นระบบของ DWS Invest CROCI Sectors Plus

  • 1. เลือกบริษัทขนาดใหญ่จากตลาดประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐ , ญี่ปุ่น และยุโรป
  •  
  • 2. เน้นลงทุนใน 9 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ สินค้าฟุ่มเฟือย สินค้าจำเป็น สุขภาพ/เวชภัณฑ์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม วัสดุ สื่อสาร สาธารณูปโภค และพลังงาน 
  •  
  • 3. ตัดบริษัทที่มี CROCI Economic P/E ย้อนหลัง 12 เดือน เป็นลบออก แล้วเลือก 3 อุตสาหกรรม ที่มีค่า Median ของ CROCI  Economic P/E ย้อนหลัง 12 เดือน ต่ำที่สุด 
  •  
  • 4. เลือกหุ้นที่มีค่า CROCI  Economic P/E ต่ำสุดสิบอันดับแรกในแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้บริษัทที่จะลงทุนทั้งหมด 30 บริษัท โดยลงทุนเท่า ๆ กัน
  •  
  • 5. ทำซ้ำกระบวนการทุกไตรมาส
  •  

มาถึงตรงนี้เชื่อว่านักลงทุนทุกท่านคงพอเห็นภาพแล้วว่า DWS Invest CROCI Sectors Plus คัดเลือกหุ้น Value มาไว้ในพอร์ตการลงทุนได้อย่างไร 

แต่ข้อสงสัยหนึ่งที่น่าสงสัยและยังไม่ได้รับการเฉลยคือ ตัวเลข CROCI Economic P/E มันคืออะไรกันแน่ 

  •  

CROCI  Economic P/E สร้างจากชิ้นส่วนสามชิ้นได้แก่ Enterprise Value, Net Capital Invested และ CROCI

ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับตัวเลข CROCI  Economic P/E เราขอพาทุกท่านย้อนกลับไปยังตัวเลขที่ถูกนำมาใช้คำนวณค่ากันก่อน โดยมีตัวเลขสำคัญอยู่สามตัว คือ Enterprise Value, Net Capital Invested และ CROCI

  •  

Enterprise Value หรือ มูลค่ากิจการ

ปกติการประเมินมูลค่าด้วยมูลค่าตลาด มักจะมองในส่วนของผู้ถือหุ้นอย่างเดียว แต่ตัวเลข Enterprise Value จะมีการนำในส่วนของหนี้ เข้ามารวมในการประเมินมูลค่าด้วย

  •  

Net Capital Invested หรือ เงินลงทุนสุทธิ

เงินลงทุนทางบัญชีปกติ มักจะไม่คิดถึงการลงทุนในสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหรือ Intangible Asset เช่น ค่าใช้จ่ายในการสร้าง Branding หรือเทคโนโลยีที่เกิดจากการทำ R&D ซึ่ง การใช้ตัวเลข Net Capital Invested แทน ซึ่งมีการนำเงินที่ลงทุนในสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเข้าไปรวมด้วยจะช่วยแก้ปัญหาตรงนี้

  •  

CROCI หรือ เงินสดที่ได้จากการลงทุน

CROCI หรือชื่อเต็ม Cash Return On Investment Capital หนึ่งในวิธีการประเมินมูลค่าที่ถูกคิดค้นโดย DWS โดย CROCI เนื่องจากมุมมองของ DWS เองมองเห็นว่า ในการทำบัญชีปกติ ค่าเสื่อมมักจะถูกคำนวณอย่างไม่ตรงตามความเป็นจริงนัก ทั้งในเรื่องของระยะเวลาในการตัดจำหน่ายที่ไม่มากเกินไปก็น้อยเกินไป รวมไปถึงค่าเสื่อมยังไม่ถูกปรับด้วยอัตราเงินเฟ้ออีกด้วย ซึ่งการคิดค่าเสื่อมที่ไม่เหมาะสม ย่อมสะท้อนมายังกำไรของบริษัทที่ไม่เหมาะสมด้วย ดังนั้นจากมุมมองตรงนี้ของทาง DWS จึงมองว่าถ้าคิดด้วยตัวเลข CROCI จะทำให้สามารถนำเสนอผลตอบแทนได้ชัดเจนกว่าการดูผลตอบแทนในส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ ROE นั่นเอง

เมื่อได้จิ๊กซอว์ครบทั้งสามชิ้นแล้ว ต่อมาก็ถึงขั้นตอนการคำนวณ

โดย Economic PE โดยคำนวณได้จาก

อัตราส่วนมูลค่ากิจการต่อเงินลงทุนสุทธิ จากนั้นนำมาหารด้วย CROCI 

แน่นอนว่าสูตรการคำนวณยุ่งยากแบบนี้ ถ้าทำแล้วควรต้องได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม แล้วมันดีกว่าเดิมอย่างไรบ้าง ?

  •  

การใช้ Economic P/E ช่วยให้พอร์ตได้หุ้นที่กำไรดีกว่า กระแสเงินสดอิสระดีกว่า แต่มีหนี้สินต่ำกว่าการใช้ค่า Accouting P/E 

จากข้อมูลของทาง DWS (31 ธันวาคม 2020) พบว่าถ้าเลือกบริษัท 100 อันดับแรกที่มีค่า CROCI Economic P/E ต่ำสุด และอีก 100 บริษัทที่มีค่า Accounting P/E ต่ำสุด มาเทียบกัน ด้วยตัวเลขการเงินสามอย่าง ได้แก่ จะมีเงินสดที่ได้จากการลงทุนหรือกำไร  การกู้ยืมเงินเฉลี่ย และกระแสเงินสดอิสระเทียบกับราคากิจการพบว่ามีลักษณะดังนี้

  •  

CROCI Economic P/E ต่ำสุด 100 อันดับแรก

  • ๐ จะมีเงินสดที่ได้จากการลงทุนหรือกำไร 12.5%
  • ๐ การกู้ยืมเงินเฉลี่ย 38%
  • ๐ กระแสเงินสดอิสระเทียบกับราคากิจการ 6.1%

Accounting P/E ต่ำสุด 100 อันดับแรก

  • ๐ จะมีเงินสดที่ได้จากการลงทุนหรือกำไร 5%
  • ๐ การกู้ยืมเงินเฉลี่ย 71.1%
  • ๐ กระแสเงินสดอิสระเทียบกับราคากิจการ 5.4%
  •  

จะเห็นได้ว่าหุ้นที่เลือกมาด้วยกระบวนการ CROCI Economic P/E นั้นมีคุณภาพทั้งในแง่การทำกำไร และความเสี่ยงที่ต่ำกว่า หุ้นที่คัดเลือกด้วย Accounting P/E

ด้วยการเลือกหุ้นอย่างพิถีพิถันนี้เอง

ทำให้กองทุนนี้ได้รับรางวัล Morningstar 5 ดาวไปครองอย่างไม่ต้องสงสัย

(DWS 31 มีนาคม 2565) 

  •  

 

แต่หลายคนคงสงสัยต่อไปอีกว่า แล้วในช่วงที่มีแต่ความไม่แน่นอนแบบนี้

SCBPGF จะน่าลงทุนหรือไม่ ?

  •  

เหตุผลที่ต้องลงทุนใน SCBPGF ตอนนี้เพราะหุ้นที่มีค่า Economic P/E ต่ำจะทำผลตอบแทนได้โดดเด่นในช่วงที่ Bond Yield เป็นขาขึ้น

ในปัจจุบัน นักลงทุนทุกท่านคงทราบกันดีว่า นโยบายการขึ้นดอกเบี้ย และการทำ QT หรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นการดึงเงินที่เคยอัดฉีดกลับเข้ามาเพื่อลดเงินเฟ้อ ส่งผลให้ตลาดเกิดความผันผวนและปรับฐาน

ประกอบกับปรากฏการณ์ Inverted Yield Curve หรือเหตุการณ์ที่อัตราผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยของพันธบัตรระยะสั้น (2ปี) สูง กว่าระยะยาว (10ปี) ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วมักเป็นสัญญาณเตือนวิกฤต

แต่จากข้อมูลของทางบลจ. ไทยพาณิชย์ พบว่า ในช่วง 18 ปีที่ผ่านมา ถ้าช่วงไหนที่มีการเร่งตัวของผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี หุ้นที่ทำผลตอบแทนได้ดี คือหุ้นที่มีค่า Economic P/E ต่ำ ๆ

ดังนั้นจะเห็นว่าถ้าไม่ใช่ช่วงเวลาแห่งความคลุมเครือนี้

คงไม่มีช่วงไหนแล้วที่จะเหมาะลงทุนใน SCBPGF มากขนาดนี้

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้ตอนนี้ทาง DWS Invest CROCI Sectors ได้ลงทุนใน 3 Sector ได้แก่ พลังงาน , สินค้าฟุ่มเฟือยและวัสดุ ทั้งนี้ จะมีการปรับพอร์ตเพื่อความเหมาะสมต่อไป (DWS 31 มีนาคม 2565) 

  •  

สรุปจุดเด่นของ SCBPGF

  • ๐ ลงทุนในหุ้นคุณค่า ราคาถูก ด้วยโมเดล CROCI Economic P/E
  •  
  • ๐ ได้รางวัล Morningstar 5 ดาว (DWS 31 มีนาคม 2565) 
  •  
  • ๐ จากข้อมูลในอดีต หุ้นที่มี Economic P/E ต่ำ มักทำผลตอบแทนได้โดดเด่นในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น
  •  

ลงทุนใน SCBPGF ง่าย ๆ ผ่าน แอป FinVest

ก่อนจะจากกันคราวนี้ สำหรับนักลงทุนท่านใดที่สนใจการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Value ที่ถูกคัดเลือกแล้วนำมาสร้างพอร์ตอย่างดี ทาง FinVest ก็คงจะแนะนำกองทุนไหนเป็นไม่ได้นอกจาก SCBPGF 

คราวหน้า จะมีกองทุนไหนมาแนะนำอีก รอติดตามรับชมได้เหมือนเช่นเคยเลย ทั้งผ่านหน้าเว็บไซต์และในแอปพลิเคชันครับ

  •  

กองทุนนี้ สามารถลงทุนผ่านแอปพลิเคชัน FinVest ได้เลยที่ https://finvest.onelink.me/CoWV/cd81c26c
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ Line https://lin.ee/3wINMDBsz
Follow us on Website: www.finvest.co.th

  •  

#FinVest #YourWingsYourWays

Related Posts