และแล้วก็ใกล้ถึงช่วงเวลาส่งท้ายปีกันอีกครั้ง ช่วงเวลาท้ายปีแบบนี้ นอกจากเรื่องราวดี ๆ ในช่วงวันหยุดปีใหม่และอากาศหนาวที่กำลังใกล้เข้ามาแล้ว สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนทำงานอย่างเรา ๆ รู้สึกเสียวสันหลังวาบไปตาม ๆ กันนั่นก็คือ การที่ต้องคำนวณภาษีเงินได้ และวิธีลดหย่อนนั่นเอง
แน่นอนว่าการลดหย่อนภาษีนั้นมีเครื่องมือหลายตัวที่สามารถใช้ได้ และเป็นที่ทราบกันดีว่า SSF และ RMF ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่กล่าวมา ซึ่งสามารถซื้อเพื่อได้รับสิทธิลดหย่อยทางภาษีได้ แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงถัดมานั่นก็คือ มันคุ้มจริงหรือไม่ ซึ่งวันนี้ทางทีม FinVest จะมาวิเคราะห์ให้อ่านกัน
รู้จักกับภาษีแบบขั้นบันได แบบคร่าว ๆ
.
ก่อนที่จะทำความเข้าใจว่าการซื้อ SSF และ RMF เพื่อลดหย่อนภาษีนั้นคุ้มหรือไม่ เราต้องทำความเข้าใจการเก็บภาษีในประเทศของเราก่อน ปัจจุบันประเทศไทยมีการเก็บภาษีแบบขั้นบันได โดยหลักการคำนวณคือ นำรายได้ทั้งหมด หักออกด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษี แต่โดยทั่วไปแล้ว รายได้จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาทต่อปี กรณีรายได้เกินสองแสนบาท จากนั้นเมื่อเรารวมรายการลดหย่อนภาษีทั้งหมด เราจะนำเงินที่เหลือนั้น ที่เรียกว่า เงินได้สุทธิ ไปคำนวณภาษี ซึ่งภาษีที่เราต้องจ่ายนั้นจะจ่ายเป็นขั้นบันได โดยลำดับขั้นต่าง ๆ เป็นดังนี้
จากภาษีแบบขั้นบันได จะเห็นว่า ยิ่งเงินเดือนมาก ยิ่งต้องจ่ายภาษีมาก เพื่อให้เห็นภาพยิ่งขึ้น จะขอยกตัวอย่างดังนี้ สมมุติว่า นาย FinVest ได้เงินได้สุทธิเป็นเงินเดือนทั้งหมด 1,000,000 ต่อปี จากนั้นเมื่อหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวไปทั้งหมด หนึ่งแสนบาท นาย FinVest จะเหลือเงินทั้งหมด 900,000 บาทเจ้าตัวเลขที่เหลืออยู่นี้เราจะเรียกมันว่า เงินได้สุทธิ
จากนั้นเราจะนำเงินได้สุทธิ หนึ่งล้านบาท ไปคำนวณภาษีก่อน โดยการคำนวณนั้นจะคิดแบบขั้นบันได ดังนี้
ขั้นที่ 1
เงินได้สุทธิ 0-150,000 จะได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้น ขั้นนี้นาย FinVest ไม่ต้องจ่ายภาษี
ขั้นที่ 2
เงินได้สุทธิ 150,000-300,000 จะเสียภาษีในอัตรา 5% ดังนั้น เนื่องจากนาย FinVest มีเงินได้สุทธิ ขั้นนี้นาย FinVest จะต้องจ่ายเงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น 150,000 เนื่องจากรายได้มากกว่าเงินได้สูงสุดของขั้น จากนั้นคูณด้วยอัตราภาษี 5% ดังนั้น นาย FinVest จะต้องเสียภาษีในขั้นนี้ 7,500 บาท
ขั้นที่ 3
เงินได้สุทธิ 300,000-500,000 จะเสียภาษีในอัตรา 10 % ดังนั้น เนื่องจากนาย FinVest มีเงินได้สุทธิ ขั้นนี้นาย FinVest จะต้องจ่ายเงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น 200,000 เนื่องจากรายได้มากกว่าเงินได้สูงสุดของขั้น จากนั้นคูณด้วยอัตราภาษี 10% ดังนั้น นาย FinVest จะต้องเสียภาษีในขั้นนี้ 20,000 บาท
ขั้นที่ 4
เงินได้สุทธิ 500,000-750,000 จะเสียภาษีในอัตรา 15% ดังนั้น เนื่องจากนาย FinVest มีเงินได้สุทธิ ขั้นนี้นาย FinVest จะต้องจ่ายเงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น 250,000 เนื่องจากรายได้มากกว่าเงินได้สูงสุดของขั้น จากนั้นคูณด้วยอัตราภาษี 15% ดังนั้น นาย FinVest จะต้องเสียภาษีในขั้นนี้ 37,500 บาท
ขั้นที่ 5
เงินได้สุทธิ 750,000-1,000,000 จะเสียภาษีในอัตรา 20% ดังนั้น เนื่องจากนาย FinVest มีเงินได้สุทธิ ขั้นนี้นาย FinVest จะต้องจ่ายเงินได้สุทธิจำนวน 150,000 โดยคิดจาก เงินได้สุทธิ 900,000 หักด้วยเงินได้สูงสุดของขั้นก่อนหน้า 750,000 จากนั้นนำไปคูณด้วยอัตราภาษี 20% ดังนั้น นาย FinVest จะต้องเสียภาษีในขั้นนี้ 30,000 บาท
ดังนั้น
ภาษีรวมที่นาย FinVest ต้องจ่ายคือ 7,500 + 20,000 + 37,500 + 30,000 เท่ากับ 95,000 บาท
.
.
รู้จักกับ SSF และ RMF แบบคร่าวๆ
.
Super Savings Fund เรียกสั้นๆ ว่า SSF เป็นกองทุนที่มีจุดประสงค์กระตุ้นการออมในระยะยาว และในส่วนของ Retirement Mutual Fund เรียกสั้น ๆ ว่า RMF เป็นกองทุนที่มีจุดประสงค์ในการออมเงินเพื่อให้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ ทีนี้เราจะมาเจาะคุณลักษณะของกองทุนสองประเภทนี้กัน
สำหรับ SSF นั้น สามารถซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ว่าไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนเพื่อการออมอื่นๆ ได้แก่ ประกันบำนาญ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข, กอช และ RMF ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ส่วนเงื่อนไขการขายกองทุนนี้เนื่องจากที่ SSF เป็นกองทุนเน้นการออม ทำให้ผู้ลงทุนจะต้องถือหน่วยลงทุนมากกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ ถึงจะขายได้ และไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ถ้าอยากประหยัดภาษีปีไหนก็สามารถซื้อปีนั้นๆได้
ในส่วนของ RMF นั้น เงื่อนไขจะคล้ายๆ กับ SSF คือสามารถซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ว่าไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนเพื่อการออมอื่น ๆ ได้แก่ ประกันบำนาญ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข, กอช และ RMF ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ซึ่งจุดแตกต่างที่เด่นชัดคือ ผู้ถือหน่วยลงทุนจะขายได้ก็ต่อเมื่อถือหน่วยลงทุนเกิน 5 ปี และขายได้เมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ เป็นต้นไป ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าผู้ลงทุนมีเงินได้สม่ำเสมอ ต้องซื้อกองทุนประเภทนี้ อย่างน้อยปีเว้นปี
.
.
คุ้มหรือไม่ ถ้าซื้อ SSF และ RMF เพียงเพื่อต้องการลดหย่อนภาษี
.
ก่อนที่จะตอบคำถามว่า การซื้อ SSF และ RMF เพื่อลดหย่อนภาษีนั้น คุ้มค่าหรือไม่ เราจะมาวิเคราะห์ปัจจัยที่นักลงทุนแต่ละท่านมี เพื่อประกอบการพิจารณากันก่อน
.
.
ปัจจัยแรก: เงินได้สุทธิของนักลงทุน
.
จากตัวอย่างข้างบน จะเห็นว่า ยิ่งเงินได้เยอะ จะยิ่งเสียภาษีเยอะตามไปด้วย โดยตัวเลขที่น่าสนใจจะอยู่ในโซนเงินได้สุทธิ 750,000 บาทขึ้นไป เนื่องจากว่าเริ่มเสียภาษีในอัตรา 20% และยิ่งไปกว่านั้น เพียงแค่เพิ่มเงินได้อีกเพียงแค่ 250,000 บาท จะต้องเสียภาษีเพิ่มในลำดับถัดไปอีก 25% อีกด้วย โดยสมมุติเหตุการณ์เดียวกันกับข้างบนคือ นาย FinVest เงินได้สุทธิปัจจุบันอยู่ที่ 900,000 บาท แต่ถ้าเราเพิ่มเงื่อนไขที่ว่า นาย FinVest ซื้อกองทุน SSF เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท จะทำให้นาย FinVest ต้องจ่ายภาษีสุทธิเพียง 57,500 ดังนั้นนาย FinVest สามารถประหยัดภาษีไปได้ถึง 37,500 บาท
.
.
ปัจจัยที่สอง: ผลตอบแทนและความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้
.
ประเด็นถัดมาที่ต้องคำนึงถึงคือ ปัจจัยส่วนบุคคลของนักลงทุนเอง ตัวอย่างเช่น นาย FinVest อยากลงทุนผ่านกองทุนรวมอยู่แล้ว โดยต้องการผลตอบแทนประมาณ 8-10% และสามารถรับความเสี่ยงได้ประมาณหนึ่ง ดังนั้น กรณีแบบนี้นาย FinVest อาจจะเหมาะกับการลงทุนผ่าน SSF หรือ RMF เพราะนอกจากจะลดภาษีแล้ว ยังมีโอกาสได้ผลตอบแทนจากการลงทุนโดยฝากมืออาชีพจัดการให้อีกด้วย โดยสมมุติว่าถ้านาย FinVest ได้เงินได้ปีละ 900,000 ตามข้างบน และซื้อ SSF ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8% ต่อปีแบบทบต้น เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท และถือกองทุนนี้ไว้เป็นเวลา 10 ปีตามเงื่อนไข ประโยชน์ที่นาย FinVest จะได้รับนอกจากได้ลดภาษี 37,500 บาทตามที่กล่าวมาจากด้านบนแล้ว เงินต้น 200,000 บาทที่ลงทุนไปจะกลายเป็น 428,717 บาท จะเห็นว่า ถ้ากองทุนที่ลงทุนไปทำผลตอบแทนได้ดี การลงทุนผ่าน SSF และ RMF นี้จะได้ประโยชน์ถึง 2 ต่อเลยทีเดียว
.
.
ปัจจัยที่สาม: ระยะเวลาในการรอคอย
.
นอกจากประเด็นเรื่องผลตอบแทนและความเสี่ยงแล้ว ระยะเวลาในการรอคอยก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณา เนื่องจากทั้ง SSF และ RMF นั้นต่างมีเงื่อนไขในเรื่องเวลาถือหน่วยลงทุน ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ในข้อนี้หากนักลงทุนท่านใดไม่อยากนำเงินลงทุนไปจมที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน การลงทุนผ่าน SSF และ RMF อาจจะเป็นทางเลือกที่ไม่เหมาะสมนัก ถึงแม้ว่าจะได้สิทธิพิเศษทางภาษีก็ตาม
.
จะเห็นได้ว่า จริง ๆ แล้ว คุ้มหรือไม่คุ้มนั้น มีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึง แต่ถ้านักลงทุนอยากได้ทั้งสิทธิภาษีจากการซื้อ SSF และ RMF ไปพร้อมๆกับผลตอบแทนในแบบที่นักลงทุนพึงพอใจ ในตอนถัด ๆ ไป เราจะมาแนะนำกองทุน SSF และ RMF ที่น่าสนใจกัน รอติดตามได้เลย
.
.
❇️เริ่มต้นลงทุนเข้าไปที่ แอป FinVest กันได้เลย
👉🏻 https://finvest.onelink.me/CoWV/cd81c26c
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ Line 👉🏻 https://lin.ee/3wINMDBsz
Follow us on Website: www.finvest.co.th
.
#FinVest #YourWingsYourWay
.
——————————————————————————————————–
อ้างอิง
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/salary-man/ssf-vs-rmf.html
https://www.setinvestnow.com/th/mutualfund/ssf-rmf-tax-saving-investments