Stagflation ภาวะที่ของแพง ค่าแรงต่ำ ซ้ำร้ายเศรษฐกิจ
เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่าเงินเฟ้ออย่าง Inflation กันมากกว่าคำว่า Stagflation ซึ่งคำว่า Stagflation นั้นหมายถึงภาวะที่ข้าวของแพงแบบเงินเฟ้อ แต่ในทางกลับกัน กำลังซื้อและอัตราการจ้างงาน ของผู้คนซึ่งหมายถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ กลับลดลง (Stagnation) สวนทางราคาสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น
การที่เกิดสภาวะ Stagflation ส่งผลกระทบโดยตรงกับเศรษฐกิจอย่างแน่นอน แต่เพื่อทำความเข้าใจเหตุการณ์นี้ให้มากยิ่งขึ้น เราจะพาทุกท่านย้อนไปทำความรู้จักกับวิกฤตเศรษฐกิจในปี 1970 กัน
ย้อนอดีตเหตุการณ์ Stagflation ในช่วงยุค 1970s สาเหตุเกิดจากสงคราม
หนึ่งในเหตุการณ์ที่ถูกพูดถึงว่าเป็น Stagflation คือในช่วงปี 1973 ที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งและต้นทุนการผลิต ทำให้เงินเฟ้อของสหรัฐดีดตัวขึ้นจาก 3% ในปี 1972 ไปเป็น 12% ในปี 1974
ซึ่งสาเหตุที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นนั้นเกิดจากเหตุการณ์ Supply Shock หรือการลดปริมาณการผลิตกะทันหันของสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน สาเหตุมาจากสงครามระหว่างประเทศอิสราเอลและประเทศกลุ่มรัฐอาหรับอย่างซีเรียและอียิปต์
โดยในตอนนั้น สหรัฐเองหนุนหลังอิสราเอลในการทำสงครามครั้งนี้ เพื่อเป็นการโต้ตอบสหรัฐ ทางรัฐอาหรับจึงหยุดค้าขายน้ำมันดิบกับชาติที่เกี่ยวข้องกับสงครามครั้งนี้ และนี่เองคือสาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น
แม้ตามหลักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของ John Maynard Keynes
กล่าวว่า ถ้าราคาสินค้าแพงขึ้น อัตราการจ้างงานจะต้องเพิ่มสูงขึ้น
แต่ในยุค 1970 เรื่องราวกลับไม่ใช่แบบนั้น
สาเหตุมาจากเศรษฐกิจสหรัฐที่อัตราการเติบโตชะลอตัวมาก่อนหน้า ซ้ำด้วยวิกฤตพลังงาน แน่นอนว่าผู้ประกอบการไม่สามารถผลักภาระตรงนี้ไปยังประชาชนโดยตรงด้วยการขึ้นราคาได้ ส่งผลให้อัตราการจ้างงานลดลง เพราะต้องการประหยัดต้นทุนนั่นเอง
และเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัญหาเศรษฐกิจมักส่งผลกระทบมายังตลาดหุ้น สะท้อนจากตัวเลขดัชนีดาวโจนส์ที่ราคาเปิดต้นปี 1973 ที่ แถวๆ 924 จุด ลงไปทำจุดต่ำสุดที่ 577 จุด ในช่วงปี 1974 นับเป็นการลงกว่า 37%
แต่ในวิกฤตช่วงนั้นเอง กลับเป็นราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน ที่ปรับตัวสูงขึ้น จากความขาดแคลนนี้ โดยราคาน้ำมันกระโดดขึ้นจาก 2.9 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ไปเป็น 11.65 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ตัดกลับมาที่เรื่องราวในปัจจุบัน ทุกคนคงเห็นแล้วว่าตอนนี้เองก็เกิดเหตุการณ์ในลักษณะคล้าย ๆ กันอย่างที่รัสเซียและยูเครน และนั่นเองเป็นเหตุให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นสูงเหมือนภาพในอดีต และจากหลักฐานในอดีตช่วงที่ตลาดผันผวนหนักแบบนี้ สินค้าที่โดดเด่นมักจะเป็นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ( Commodity)
เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการปกป้องพอร์ตการลงทุนจากความผันผวน วันนี้ทาง FinVest เลยจะมาแนะนำกองทุนที่ลงทุนในกลุ่ม Commodity ที่ควรมีติดไว้เพื่อช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนโดยรวม
แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น มาทำความรู้จักสินค้าโภคภัณฑ์หรือ Commodity กันก่อน
สินค้ากลุ่ม Commodity คือสินค้าที่ซื้อที่ไหนก็หน้าตาเหมือนกัน
สินค้า Commodity หรือสินค้าโภคภัณฑ์ คือสินค้าที่ไม่ว่าจะซื้อที่ไหน ประเทศใด ก็จะได้ลักษณะสินค้าเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ทองคำ หรือ น้ำมัน เป็นต้น ซึ่งโดยหลัก ๆ จะมีการแบ่งสินค้าโภคภัณฑ์ออกเป็นสองกลุ่มได้แก่
- 1. Soft Commodity
คือสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตรและปศุสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ , ข้าวโพด เป็นต้น - 2. Hard Commodity
คือสินค้าโภคภัณฑ์ที่มาจากทรัพยากรธรรมชาติที่มีการขุดและสกัด เช่น ทองคำ , โลหะมีค่าต่าง ๆ หรือพลังงานอย่างน้ำมัน
ซึ่งราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ มาจากหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือ Demand และ Supply เมื่อใดที่กำลังผลิตต่ำลงแบบกะทันหัน แต่ความต้องการยังเท่าเดิม จะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า Supply Shock หรืออุปทานที่ลดลงกะทันหันซึ่งจะทำให้ราคาสินค้ากลุ่มนี้สูงขึ้น
ในทางตรงกันข้าม เหตุการณ์อย่าง Demand Shock หรืออุปสงค์ที่ลดลงกะทันหัน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าเหล่านี้ปรับตัวลงอย่างรุนแรงได้ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ใกล้ตัวคือเรื่องของราคาน้ำมัน ที่ลดลงไปอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2020 ที่ Covid-19 พึ่งมีการระบาดใหม่ ๆ
ด้วยความที่สินค้ากลุ่มนี้ราคาจะขึ้นหรือลงนั้น
ขึ้นอยู่กับ Demand และ Supply
ส่งผลให้การเคลื่อนตัวของราคาสินค้ากลุ่มนี้มักมีลักษณะเป็นรอบวัฏจักร
ซึ่งจุดแข็งของสินค้ากลุ่มนี้คือช่วยลดความผันผวนในพอร์ตโดยรวม แต่จุดอ่อนคือไม่เหมาะกับเป็นการลงทุนหลักในพอร์ตเพราะราคาอาจจะไม่ไปไหน ถ้าไม่มีเหตุการณ์อย่าง Supply Shock หรือ Demand Shock
หลังจากที่ได้รู้จักกับสินค้าโภคภัณฑ์กันไปคร่าว ๆ แล้ว ก็ถึงเวลาอันสมควรที่จะไปพบกับกองทุนกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ที่สามารถใช้ลดความผันผวนของพอร์ตรวมกัน จะมีกองไหนบ้างนั้น ตามมาเลย
กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์
กลุ่มที่ลงทุนในทองคำและโลหะมีค่า
K-GOLD-A(A)
นโยบายการลงทุน ลงทุนผ่านกองทุนเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR Gold Trust (USD) (กองทุนหลัก) โดยมุ่งหวังให้ผลตอบแทนของกองทุนหลังหักค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกับราคาทองคำแท่งมากที่สุด
WE-GOLD
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ Jupiter Asset Management Series Plc. – Jupiter Gold & Silver Fund (กองทุนหลัก) Class I (USD) ซึ่งเน้นลงทุนในบริษัทที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการสำรวจ ,การพัฒนา และการผลิตทองคำและเงิน รวมถึงกองทุนอีทีเอฟที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาทองคำหรือแร่เงิน
KT-PRECIOUS
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Franklin Gold and Precious Metals Fund โดยกองทุนหลักมีนโยบายที่จะสร้างผลตอบแทนระยะยาวจากการเติบโตของเงินลงทุนตามศักยภาพการลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกที่ดําเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นทองคําและโลหะมีค่า เช่น แพลตตินัม แพลเลเดียม และ เงิน เป็นต้น
KT-MINING
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Allianz Global Metals and Mining โดยกองทุนหลักจะลงทุนทั่วโลกในหุ้น หลักทรัพย์ที่เทียบเท่าหุ้น และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่ เกิดจากหุ้นที่ออกโดยบริษัทซึ่งมียอดขายและกําไร (ตามข้อมูลจากรายงานประจําปี) จากการสํารวจ การสกัด หรือการแปรรูป ทรัพยากรธรรมชาติ โดยทรัพยากรธรรมชาติที่ผ่านการแปรรูปในที่นี้หมายถึง โลหะที่ไม่มีองค์ประกอบของ เหล็ก (เช่น นิเกิล ทองแดง อะลูมิเนียม) เหล็ก และแร่อื่น ๆ เหล็กกล้า ถ่านหิน โลหะมีค่า (เช่น ทอง แพลตตินัม) เพชร เกลือและแร่ อุตสาหกรรม (เช่น กํามะถัน)
กองทุนที่ลงทุนในพลังงาน
KT-ENERGY
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน BGF World Energy Fund โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทชั้นนําทั่วโลกซึ่งมีธุรกิจหลักในการสํารวจ พัฒนา ผลิต และจัด จําหน่ายพลังงาน นอกจากนั้น กองทุนยังอาจลงทุนในบริษัทที่มุ่งเน้นการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนอีกด้วย
สินค้าโภคภัณฑ์โดยรวม
SCBCOMP
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน PIMCO Commodities Real Return Fund (Institutional share class) โดยกองทุนหลักลงทุนในธุรกรรม/ตราสารอนุพันธ์ สัญญาแลกเปลี่ยนตราสาร (swap agreement) สัญญาฟิวเจอร์ สัญญาออปชัน ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง หรือหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์หลากหลายชนิด
สำหรับใครที่เห็นว่าการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ ก็ขอฝากกองทุนทั้งหมดที่ยกมาเอาไว้ในอ้อมอกอ้อมใจแล้วลงทุนผ่าน FinVest ด้วยนะ คราวหน้าถ้ามีอะไรดี ๆ ทางเราจะรีบเอามาแนะนำเช่นเคย
กองทุนทั้งหมดนี้ สามารถลงทุนผ่านแอปพลิเคชัน FinVest ได้ที่ https://finvest.onelink.me/CoWV/cd81c26c
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ Line https://lin.ee/3wINMDBsz
Follow us on Website: www.finvest.co.th
#FinVest #YourWingsYourWays
ข้อมูลอ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/Yom_Kippur_War
https://en.wikipedia.org/wiki/1970s_energy_crisis
https://www.investopedia.com/terms/c/commodity.asp
https://www.kasikornasset.com/th/mutual-fund/fund-template/Pages/K-GOLD-A(A).aspx
https://www.spdrgoldshares.com/
https://www.ktam.co.th/document_fund/fundfactsheet/Factsheet_th_KT-PRECIOUS.pdf
https://www.scbam.com/th/fund/default/fund-information/scbcomp
https://www.ktam.co.th/document_fund/fundfactsheet/Factsheet_th_KT-MINING.pdf
https://www.ktam.co.th/document_fund/fundfactsheet/Factsheet_th_KT-ENERGY.pdf