เรทเงินเดือนสูงสุดที่ยังได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคือ 25,833 บาท
คำนวณง่าย ๆ ได้ดังนี้
- กำหนดให้มนุษย์เงินเดือนมีสถานะโสด
- รายได้รวมทั้งปีจะเท่ากับ 25,833×12 = 309,996 บาท
- หักค่าใช้จ่ายที่รัฐให้สูงสุด 100,000 บาท และค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- จะเหลือเงินได้พึงประเมินเท่ากับ 309,996 – 100,000 – 60,000 = 149,996 บาท
- 149,996 บาท < 150,000 บาท จึงได้รับการยกเว้นภาษี
แต่ถ้าเงินเดือนตั้งแต่ 25,834 บาทขึ้นไป จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามขั้นบันไดแล้วนะ
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได ปี 2567
เงินได้สุทธิต่อปี | อัตราภาษี | ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น |
ไม่เกิน 150,000 บาท | ได้รับการยกเว้น | – |
150,001 – 300,000 บาท | 5% | 7,500 |
300,001 – 500,000 บาท | 10% | 20,000 |
500,001 – 750,000 บาท | 15% | 37,500 |
750,001 – 1,000,000 บาท | 20% | 50,000 |
1,000,001 – 2,000,000 บาท | 25% | 250,000 |
2,000,001 – 5,000,000 บาท | 30% | 900,000 |
5,000,001 บาท ขึ้นไป | 35% | – |
ตัวอย่าง
กรณีเงินเดือน 75,000 บาท รายได้ทั้งปีจะเท่ากับ 75,000×12 = 900,000 บาท
หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท และค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท จะเหลือเงินได้พึงประเมินเท่ากับ
900,000 – 100,000 – 60,000 = 740,000 บาท
นำมาคำนวณภาษีเงินได้แบบขั้นบันได
ส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี 0
150,001 – 300,000 บาท อัตราภาษี 5% : 150,000 x 5% = 7,500
300,001 – 500,000 บาท อัตราภาษี 10% : 200,000 x 10% = 20,000
500,001 – 740,000 บาท อัตราภาษี 15% : 240,000 x 15% = 36,000
รวมภาษีที่ต้องเสีย 7,500 + 20,000 + 36,000 = 63,500 บาท
FinVest พาดูกันว่า เงินเดือนเท่านี้ ถ้าไม่ใช้สิทธิลดหย่อนเพิ่ม จะเสียภาษีเท่าไร
เงินเดือน | รายได้รวมทั้งปี (เงินเดือนx12) | เงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายที่รัฐให้และค่าลดหย่อนส่วนตัว | ภาษีที่ต้องเสีย |
15,000 | 180,000 | 30,000 | ไม่ต้องเสีย |
25,000 | 300,000 | 140,000 | ไม่ต้องเสีย |
35,000 | 420,000 | 260,000 | 5,500 |
50,000 | 600,000 | 440,000 | 21,500 |
75,000 | 900,000 | 740,000 | 63,500 |
100,000 | 1,200,000 | 1,040,000 | 125,000 |
หมายเหตุ : คำนวณโดยข้อมูลรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว มนุษย์เงินเดือนท่านนี้มีสถานะโสด หักค่าใช้ที่รัฐให้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท และค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
สร้างวินัยการลงทุนเพื่อใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษี กับ กองทุน SSF RMF และ TESG ด้วย DCA ที่ FinVest
*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
**การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
#FinVest #YourWingsYourWays