ตลาดเวียดนามปรับฐาน ยังลงทุนได้อยู่หรือไม่ ?
ช่วงนี้ตลาดเวียดนามปรับฐานค่อนข้างหนัก จนเกิดเป็นคำถามที่ว่า “ตลาดเวียดนาม ยังลงทุนได้อยู่หรือไม่”
ในมุมมองระยะสั้น ตลาดเวียดนามปรับฐานจากการสร้างเสถียรภาพของภาครัฐ ด้วยแนวทาง
- 1) รัฐควบคุมภาระหนี้ภาคเอกชนและครัวเรือนด้านอสังหาริมทรัพย์บางกลุ่มไม่ให้สูงจนเกินไป
- 2) ความกังวลเรื่องการเติบโตของสินเชื่อจากข้อ 1)
- 3) รัฐปรามการปั่นหุ้นจากผู้บริหาร ซึ่งส่วนมากอยู่ในขอบเขตบริษัทขนาดกลาง-เล็กที่ยังมีข้อกังขาเรื่องธรรมาภิบาล
ในส่วนของ Valuation Forward PE อยู่ที่ประมาณ 14 เท่า และคาดการณ์การเติบโตของอัตรากำไรอยู่ที่ราว ๆ 25 %ในขณะที่เป็นไม่กี่ตลาดที่ค่าผลตอบแทนในส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ถึง 20% โดยรวมแล้วไม่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเวียดนามโดดเด่นที่สุดในภูมิภาค (ที่มา Bloomberg, 27 Apr 2022)
ส่วนของภาพยาวประเทศ เราคิดว่าทุกท่านคงได้ยินเรื่องราวของประเทศเวียดนาม อาทิ เศรษฐกิจโตดี แรงงานวัยทำงานเยอะและมากความสามารถ รวมไปถึงเงินลงทุนจากต่างชาติต่างหลั่งไหลเข้ามามากมาย มาพอสมควรแล้ว
แต่ทุกท่านทราบหรือไม่
กว่าที่เวียดนามจะมาไกลบนเส้นทางเศรษฐกิจได้ขนาดนี้
แท้จริงแล้ว เวียดนามเคยบอบช้ำจากสงครามมาก่อน
แต่ด้วยหมากที่เวียดนามวางไว้ ส่งผลให้เวียดนามมีวันนี้
หมากเกมนี้ เวียดนามรู้ ว่าจะต้องลงเอยอย่างไร กับแผนโด่ยเหมย แผนพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 1986
เราคิดว่าทุกท่านคงได้ยินเรื่องราวของประเทศเวียดนาม อาทิ เศรษฐกิจโตดี แรงงานวัยทำงานเยอะและมากความสามารถ รวมไปถึงเงินลงทุนจากต่างชาติต่างหลั่งไหลเข้ามามากมาย มาพอสมควรแล้ว
แต่ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า กว่าที่เวียดนามจะมาไกลบนเส้นทางเศรษฐกิจได้ขนาดนี้ แท้จริงแล้ว เวียดนามเคยบอบช้ำจากสงครามมาก่อน
แผนโด่ยเหมย หมากเศรษฐกิจที่เวียดนามรู้ ว่าจะต้องลงเอยอย่างไร วางไว้ตั้งแต่ปี 1986
ในช่วงทศวรรษที่ 70 เวียดนามบอบช้ำจากภาวะสงคราม ภายหลังที่เวียดนามเหนือรวมกับเวียดนามใต้ได้สำเร็จ นั่นทำให้เวียดนามในยุคนั้นต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นการด่วน
แต่ทว่าในยุคนั้นเวียดนามเสียเวลาไปมากกับการทำสงครามทั้งจากข้าศึกภายในและภายนอก ทำให้ประเทศไม่มีพื้นฐานทางด้านการผลิตมาก่อน
จนกระทั่งในปี 1986 คุณ เหงียน หวัง หลิน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ได้เดินหน้านโยบาย โด่ยเหมย (Doi Moi) โดยคำว่าโด่ยเหมย เป็นภาษาเวียดนาม แปลว่าบูรณะหรือสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งนโยบายนี้เป็นการเปิดประเทศโดยเป็นการยืมนโยบายเปิดประเทศที่ชื่อ “Glasnost and Perestroika” ของสหภาพโซเวียต
และด้วยนโยบายการเปิดประเทศนี้เอง ทำให้ถึงแม้จะปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ก็เลือกใช้การพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมควบคู่ไปด้วย เพื่อปากท้องของประชาชน
ในระดับรากหญ้า เวียดนามช่วยเหลือและส่งเสริมเกษตรกรด้วยการประกันราคาสินค้าพร้อมทั้งให้เกษตรเป็นเจ้าของที่ดิน รวมไปถึงสามารถส่งออกสินค้าได้เองโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง ทลายการกีดกันและส่งเสริมรูปแบบความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ
ด้วยแรงจูงใจนี้เอง ที่ทำให้การค้าขายส่งออกของเวียดนามโตอย่างก้าวกระโดด ภายหลังจากเริ่มต้นนโยบายเพียงแค่ 3 ปี เวียดนามก็สามารถส่งออกข้าว 1.4 ล้านตันออกนอกประเทศได้เป็นครั้งแรก และในปัจจุบัน เวียดนามเป็นหนึ่งในสามผู้ส่งออกข้าวสูงที่สุดในโลก
ปัจจุบันเวียดนามมีประชากรเกือบหนึ่งร้อยล้านคน
เศรษฐกิจเติบโตปีละ 6.5% และตัวเลข GDP ต่อหัวจากเดิมที่แถว ๆ 400 เหรียญสหรัฐในปี 2000
กระโดดขึ้นเป็น 2,785 เหรียญสหรัฐ ในปี 2020 ที่ผ่านมา
และรู้หรือไม่ว่าเทคโนโลยีหลายอย่างของเวียดนาม นั้นรุดหน้าไปมากแล้ว อาทิเช่นรถยนต์ไฟฟ้า Vinfast ที่มียอดขายมากกว่าแบรนด์ต่างประเทศ หรือจะเป็นแอปแชตอย่าง Zalo ที่มีผู้ใช้งานกว่า 80 ล้านคน หรือเกือบทั้งประเทศเวียดนาม
จะเห็นว่าจากโด่ยเหมยในวันนั้น เวียดนามได้วางรากฐานการเปิดเสรี การปฏิรูปสถาบันและโครงสร้าง ที่ไม่ได้นำมาแค่การพ้นความยากจนของประชาชน แต่เป็นการขยับเปลี่ยนฐานะสู่ชนชั้นกลางระดับปัจเจกชน ไปจนถึงระดับเวทีสังคมโลก เกิดกระแสเงินลงทุนจากต่างชาติโดยตรงในการเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมทันสมัยรวมไปถึงการส่งออก ล้อไปกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับ การได้รับการถ่ายโอนเทคโนโลยี เกิดผลิตภาพที่สูง ซึ่งก่อให้เกิดการจ้างงานที่มาพร้อมกับทักษะความเชี่ยวชาญ และสร้างรายได้ให้ภาคครัวเรือนได้จับจ่ายใช้สอย และรัฐเวียดนามจะได้จัดเก็บภาษีเพื่อพัฒนาประเทศต่อไปเป็นวัฏจักร กล่าวคือเครื่องยนต์เศรษฐกิจทำงานด้วยฟันเฟืองที่หมุนตามกัน
ด้วยแผนการจากผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ประชาชนมีแนวคิดชาตินิยม และทุกภาคส่วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือทำให้ประเทศพัฒนา สิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนออกมายังเศรษฐกิจเวียดนาม ทำให้ปัจจุบันเวียดนามกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศตลาดเกิดใหม่อย่างเต็มตัว นั่นก็คือภาคตลาดเงินตลาดทุน (Wall Street) ที่ล้อกันไปกับภาคเศรษฐกิจจริง (Main Street) อย่างแท้จริง
ภาคตลาดเงินตลาดทุนที่รอการแก้ไขและพัฒนาอย่าง
1) Foreign Ownership Limit คือให้ต่างชาติมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในบริษัทสัญชาติเวียดนามได้มากขึ้น
และ 2) Central Counter Clearing คือทำให้การหักล้างธุรกรรมเป็นไปได้ง่ายและยืดหยุ่นขึ้น ที่หากเสร็จสิ้นแล้ว จะช่วยทลายข้อจำกัดให้เงินลงทุนต่างชาติไหลสะพัดเข้าภาคตลาดเงินตลาดทุนอีกทางหนึ่ง
หมากตาต่อไปที่เวียดนามต้องเดินเพื่อการเดินหน้าอย่างยั่งยืนสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
เวียดนามวางยุทธศาสตร์ชาติว่าปี 2045 จะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว โดยวางรากฐานการก้าวข้ามผ่านด้วยแผนเวียดนาม 2035 หลังใกล้ครบรอบ 50 ปีของนโยบายโด่ยเหมย มีการกล่าวถึงเป้าหมายด้วยเสาหลักที่ต้องดำเนินไปพร้อมกันสามอย่างได้แก่
1.สร้างความสมดุล ระหว่างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
รัฐบาลเวียดนามจำเป็นต้องส่งเสริมการเติบโตของวิสาหกิจเอกชน เพราะภาคเอกชนที่แข็งแกร่งจะนำไปความสัมพันธ์ระหว่างต่างประเทศ และนั่นหมายถึงโอกาสในการเรียนรู้และรับเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้
เพราะการนำเทคโนโลยีมาใช้ เป็นการช่วยสร้างการเติบโตทางตรงให้กับเวียดนาม เพื่อรักษาเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจในอัตรา 7-8% ต่อปีนั่นเอง
ในขณะที่ทางด้านสิ่งแวดล้อม รัฐบาลต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานมากกว่านี้ เพื่อรักษาและคงไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ
2.การส่งเสริมความทัดเทียม และทุกภาคส่วนของสังคมได้ประโยชน์
เมื่อเวียดนามเป็นสังคมเมืองมากขึ้น แน่นอนว่าความเหลื่อมล้ำย่อมเป็นเงาตามตัว โดยทางการมีนโยบายที่เตรียมไว้เพื่อรองรับปัญหานี้เช่น การสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา เช่นหลักสูตรวิชาชีพที่เด็กไม่ต้องแข่งกันสอบเข้า , การเพิ่มระบบบำนาญ และระยะเวลาเกษียณอายุ หรือจะเป็นระบบหลักประกันสุขภาพที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงโดยค่าใช้จ่ายไม่แพง เป็นต้น
3.การเสริมสร้างความสามารถและความรับผิดชอบขององค์กรรัฐ
การที่เวียดนามมาถึงจุดนี้ได้ ต้องยอมรับว่า องค์กรของรัฐ ถือเป็นส่วนผลักดันที่สำคัญ แต่มาในวันนี้ ถ้าหากเวียดนามอยากจะก้าวต่อไป การกำหนดบทบาทที่ชัดเจนระหว่างองค์กรภาครัฐกับภาคเอกชน ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ภาคเอกชนยิ่งขึ้นเหมือนที่กล่าวไปข้างต้น
ในส่วนของภาครัฐ การเสริมสร้างความสามารถนั้นต้องเกิดจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง อาทิเช่นการเปลี่ยนรัฐสภาแห่งชาติให้เป็นรัฐสภาของตัวแทนจากวิชาชีพต่างๆ รวมไปถึง การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่มาจากหลักการของเศรษฐกิจกลไกตลาด
เวียดนามที่เจริญในวันนี้ เป็นผลมาจากการตัดสินใจเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว
และในเมื่อเวียดนามมีแผนตระเตรียมสำหรับอนาคตข้างหน้า
จึงไม่มีเวลาไหนอีกแล้วที่เหมาะจะลงทุนในเวียดนามเท่าตอนนี้
กองทุนที่ลงทุนในเวียดนาม
แนะนำโดย FinVest
ลงทุนใน 5 หมวด คือ
กลุ่มการเงิน , Urbanization , Industrialization และ การบริโภคภายในประเทศ และ Digitalization
ที่มีโอกาสเติบโตในอนาคตพร้อมเศรษฐกิจเวียดนาม
๐ PRINCIPAL VNEQ-A
เน้นลงทุนโดยตรงในหุ้นศักยภาพสูงจากเวียดนาม เน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ กองทุนมีดัชนีชี้วัดคือ VN30
๐ ASP-VIET, ASP-VIETRMF
ผสมผสานทั้ง การลงทุนในกองทุน ETF และ กองทุนรวมในต่างประเทศและการลงทุนตรง ที่เน้นลงทุนในหุ้นเวียดนามขนาดกลาง กองทุนมีดัชนีชี้วัดคือ VN30
๐ M-VIETNAM
ลงทุนใน Lumen Vietnam Fund และ Dragon Capital – Vietnam Equity UCITS fund ผู้เชี่ยวชาญในการลงทุนเวียดนาม จุดเด่นสำคัญคือ ผสมหุ้นทุกขนาดตลาด ไม่ว่าจะเล็ก กลาง หรือใหญ่ กองทุนมีดัชนีชี้วัดคือ MSCI Vietnam
กองทุนทั้งหมดนี้ สามารถลงทุนผ่านแอปพลิเคชัน FinVest ได้เลยที่ https://finvest.onelink.me/CoWV/cd81c26c
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ Line https://lin.ee/3wINMDBsz
Follow us on Website: www.finvest.co.th
#FinVest #YourWingsYourWays
อ้างอิง
(ที่มา หนังสือชี้ชวน, 31 มีนาคม 2022)
https://data.worldbank.org/?locations=VN-XN
https://www.socialwatch.org/node/10854
https://www.globalasia.org/v4no3/cover/doi-moi-and-the-remaking-of-vietnam_hong-anh-tuan
https://en.wikipedia.org/wiki/Economy_of_Vietnam
https://en.wikipedia.org/wiki/%C4%90%E1%BB%95i_M%E1%BB%9Bi
https://www.mitsui.com/mgssi/en/report/detail/__icsFiles/afieldfile/2021/08/02/2106c_fukuoka_e_1.pdf
https://thaipublica.org/2017/02/pridi32/
https://www.worldbank.org/en/news/infographic/2016/02/23/vietnam-2035-toward-prosperity-creativity-equity-and-democracy
WORLD ECONOMIC SITUATION AND PROSPECTS 2021