ปีนี้ต้องยอมรับว่าเป็นปีที่ยากปีหนึ่งของการลงทุน เพราะความไม่แน่นอนต่างถาโถมเข้ามาอย่างไม่หยุดหย่อน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องของเงินเฟ้อ รวมไปถึงประเด็นสงครามที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ช่วงต้นปี มาคราวนี้ FinVest เองก็ขออาสาสรุปให้นักลงทุนทุกท่านว่า ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ มีอะไรที่ต้องกังวลบ้าง แล้วจะลงทุนอย่างไรดี
ครึ่งปีหลัง มีความเสี่ยงอะไรรออยู่?
ความเสี่ยงในครึ่งปีหลังที่นักลงทุนจะต้องเจอ มีประเด็นหลักอยู่ 4 ประเด็นด้วยกันได้แก่
-
- ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ
- ความเสี่ยงด้านนโยบายการเงิน
- ความเสี่ยงด้านสงครามและความขัดแย้งระหว่างประเทศ
- ความเสี่ยงด้านนโยบาย Zero-COVID
- ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจถดถอย
ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ
มาเริ่มกันที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่เป็นประเด็นร้อนแรงอยู่ในตอนนี้ สถานการณ์ตอนนี้เงินเฟ้อเกิดจากแรงกดดันจากปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และประเด็นการเมืองระหว่างประเทศอย่างเช่นสงคราม ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงต่อไป ซึ่งเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยที่กดดันกำไรบริษัทจดทะเบียน รวมถึงกดดันให้ธนาคารกลางต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อไม่ให้เงินเฟ้อสูงไปมากกว่านี้
ความเสี่ยงด้านนโยบายการเงิน
ความเสี่ยงถัดมาคือความเสี่ยงด้านนโยบายการเงิน จากที่เกริ่นมาก่อนหน้าแล้วว่าปัจจุบันตัวเลขเงินเฟ้อในแต่ละประเทศพุ่งสูงมาก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ตัวเลขเงินเฟ้อดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer price index) เดือน พ.ค พุ่งสูงถึง 8.6% ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 40 ปี
จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและปรับลดขนาดงบดุลอย่างต่อเนื่อง และยังส่งผลไปถึงธนาคารกลางอื่นทั่วโลกมีแรงกดดันที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตาม Fed ความไม่แน่นอนดังกล่าวเป็นสาเหตุที่ทำให้ตลาดการเงินยังผันผวนสูง
ความเสี่ยงด้านสงครามและความขัดแย้งระหว่างประเทศ
ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยังมีแนวโน้มยืดเยื้อเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจโลก ตลอดจนปัจจัยทางด้านการเมืองระหว่างประเทศรัสเซียและจีนกับกลุ่มประเทศตะวันตก อาจกดดันให้ปัญหำเงินเฟ้อยังมีความยืดเยื้อและเป็นปัจจัยฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมได้
ความเสี่ยงด้านนโยบาย Zero-COVID
แม้ว่าหลายประเทศทั่วโลกจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการระบาด COVID-19 แล้ว แต่จีนยังคงเป็นประเทศที่ยืนยันจะดำเนินนโยบาย Zero-COVID ต่อไป แม้อาจเปลี่ยนแปลงมาเป็น Dynamic Zero-Covid ก็ยังเป็นความเสี่ยงที่กดดันให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัว
ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจถดถอย
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังวิกฤตเริ่มมีแรงส่งที่ลดลง เช่นเดียวกับนโยบายการเงินของสหรัฐฯ และหลายประเทศทั่วโลกที่เริ่มเข้มงวดมากขึ้น เป็นผลให้เศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัว และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะในบางประเทศที่มีความเปราะบางในฐานะการเงินการคลังและทุนสำรองระหว่างประเทศ
ในโลกของการลงทุน ทุกวิกฤตหรือความผันผวน มักเปิดโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ เสมอ และเหมือนเช่นเคย มาคราวนี้พวกเรา FinVest ก็จะมาแนะนำกลยุทธ์การลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังให้นักลงทุนได้ลองมองหาโอกาสกัน
กลยุทธ์การลงทุนในครึ่งปีหลังของ FinVest กับธีมลงทุนสู้ความเสี่ยง
มาในส่วนของกลยุทธ์การลงทุนกันบ้าง จากข้างบน ถึงแม้ว่าตลาดจะเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน แต่ในความไม่แน่นอนเรายังสามารถมองหา “โอกาส” ได้ซึ่งมาคราวนี้พวกเราจะมาสรุปว่า มีโอกาสอะไรรอเราอยู่บ้างท่ามกลางความผันผวนนี้
เงินเฟ้อ ยังมีธุรกิจที่ได้ประโยชน์คือกลุ่ม Infrastructure
โครงสร้างพื้นฐาน เป็นอะไรที่คนต้องใช้งาน แม้ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัยแล้วก็ตาม นอกจากนี้ สินค้าในกลุ่มสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ตัวอย่างเช่นค่าไฟ ยังสามารถปรับราคาขึ้นตามเงินเฟ้อและรัฐช่วยอุดหนุนได้อีกด้วย ดังนั้น ธุรกิจกลุ่มนี้จึงมีรายรับเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ เหมาะจะเป็นหลุมหลบภัย ในยามเศรษฐกิจไม่ค่อยเป็นใจนั่นเอง
กองทุนแนะนำธีมสู้เงินเฟ้อ KKP GINFRAEQ-H (Promotion)
ลงทุนใน Lazard Global Listed Infrastructure Equity Fund ที่เน้นลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Infrastructure Companies) และมีการคัดเลือกหลักทรัพย์ด้วยกระบวนการและปัจจัยกลั่นกรองหลายปัจจัย ซึ่งครอบคลุมปัจจัยเชิงคุณภาพ ตลอดจนการกระจายการลงทุนทั้งในมิติของพื้นที่ภูมิภาคและกลุ่มอุตสาหกรรมอีกด้วย
Promotion: ยกเว้น ค่าธรรมเนียมซื้อและสับเปลี่ยนเข้ากองทุน ด่วน! ถึง 30 มิ.ย. 2022
อ่านเพิ่มเติม https://www.finvest.co.th/globalinfrastructure/
นโยบายการเงินที่เข้มงวด แน่นอนว่ามาพร้อมกับความผันผวน Asset Allocation เป็นหนึ่งในทางออกเพื่อสร้างสมดุลระหว่างผลตอบแทนกับความเสี่ยง
การเลือกลงทุนแบบ Asset Allocation ที่มีการกระจายสัดส่วนการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ เพื่อลดความเสี่ยงของการลงทุนที่มีการกระจุกตัวอยู่ในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งมากเกินไป จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจในช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอนและมีแนวโน้มผันผวนเพิ่มมากขึ้น
กองทุนแนะนำธีมสู้นโยบายการเงินเข้มงวด KKP SGAA Series
นโยบายกองทุน : เป็นกองทุนผสมที่กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท ได้แก่ ตราสารหนี้ ตราสารทุน และตราสารทางเลือกทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งได้รับคำแนะนำเชิงกลยุทธ์ในการจัดพอร์ตแบบ Asset Allocation ภายใต้ที่ปรึกษาการลงทุนของ บล. เกียรตินาคินภัทร
Promotion: ยกเว้น ค่าธรรมเนียมซื้อและสับเปลี่ยนเข้ากองทุน ด่วน! ถึง 30 มิ.ย. 2022
อ่านเพิ่มเติม https://www.finvest.co.th/kkp_sg-aa_series22/
สงครามและความขัดแย้งระหว่างประเทศ คือโอกาสในการลงทุนในกลุ่ม Commodity
สินค้า Commodity หรือสินค้าโภคภัณฑ์ คือสินค้าที่ไม่ว่าจะซื้อที่ไหน ประเทศใด ก็จะได้ลักษณะสินค้าเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ทองคำ หรือ น้ำมัน เป็นต้น ซึ่งจุดแข็งของสินค้ากลุ่มนี้คือช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตโดยรวมได้ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ทั้งเงินเฟ้อ Stagflation หรือไม่ว่าสงคราม ที่ในครั้งนี้ช่วยผลักดันราคาน้ำมันสูงขึ้น เป็นต้น
กองทุนแนะนำธีมสู้สงครามและความขัดแย้งระหว่างประเทศ K-GOLD-A(A) KT-ENERGY KT-PRECIOUS KT-MINING
K-GOLD-A(A)
นโยบายการลงทุน ลงทุนผ่านกองทุนเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR Gold Trust (USD) (กองทุนหลัก) โดยมุ่งหวังให้ผลตอบแทนของกองทุนหลังหักค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกับราคาทองคำแท่งมากที่สุด
KT-ENERGY
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน BGF World Energy Fund โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทชั้นนําทั่วโลกซึ่งมีธุรกิจหลักในการสํารวจ พัฒนา ผลิต และจัดจําหน่ายพลังงาน นอกจากนั้น กองทุนยังอาจลงทุนในบริษัทที่มุ่งเน้นการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนอีกด้วย
KT-PRECIOUS
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Franklin Gold and Precious Metals Fund โดยกองทุนหลักมีนโยบายที่จะสร้างผลตอบแทนระยะยาวจากการเติบโตของเงินลงทุนตามศักยภาพการลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกที่ดําเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นทองคําและโลหะมีค่า เช่น แพลตตินัม แพลเลเดียม และ เงิน เป็นต้น
KT-MINING
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Allianz Global Metals and Mining โดยกองทุนหลักจะลงทุนทั่วโลกในหุ้นซึ่งมียอดขายและกําไร (ตามข้อมูลจากรายงานประจําปี) จากการสํารวจ การสกัด หรือการแปรรูป ทรัพยากรธรรมชาติ โดยทรัพยากรธรรมชาติที่ผ่านการแปรรูปในที่นี้หมายถึง โลหะที่ไม่มีองค์ประกอบของ เหล็ก (เช่น นิเกิล ทองแดง อะลูมิเนียม) เหล็ก และแร่อื่น ๆ เหล็กกล้า ถ่านหิน โลหะมีค่า (เช่น ทอง แพลตตินัม) เพชร เกลือ และแร่อุตสาหกรรม (เช่น กํามะถัน)
อ่านเพิ่มเติม https://www.finvest.co.th/stagflation0422/
นโยบาย Zero-COVID ของจีน เป็นทั้งความเสี่ยงและโอกาสในเวลาเดียวกัน
เป็นที่ทราบกันดีว่านโยบาย Zero-Covid ของจีน ทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวจากการปิดเมือง นั่นทำให้ในระยะสั้นรัฐบาลจีนอาจต้องผ่อนคลายกฎเกณฑ์ต่าง ๆ รวมถึงนโยบาย”ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” หรือ Common Prosperity ออกไปก่อน รวมถึงจัดหางบเพื่อเพิ่มสภาพคล่องและกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่
แต่ภาพระยะยาวยังคงเดิม โอกาสลงทุนในตอนนี้ยังรวมไปถึงหุ้นจีนอีกหลายธีมที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในระยะยาว เพราะจีนเองต้องการก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งของโลก และการจะขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งได้ต้องอัดฉีดงบเพื่อพัฒนาในหลาย ๆ ส่วนอีกด้วย
กองทุนแนะนำธีมสู้นโยบาย Zero-Covid ของจีน MCHINAGA/MCHINAGD
ลงทุนใน Allianz Global Investors Fund – Allianz China A-Shares โดยมีจุดมุ่งหมายคือสร้างผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนในตลาดหุน A-shares ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านอุตสาหกรรมที่รัฐสนับสนุน
อ่านเพิ่มเติม https://www.finvest.co.th/mchinagd/
ในช่วงความกังวลเศรษฐกิจถดถอย เปิดโอกาสให้ลงทุนตราสารหนี้ จากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
จากการทยอยขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ทั่วโลกโดยภาพรวมปรับตัวสูงขึ้นอยู่ในระดับที่น่าสนใจยิ่งขึ้น
กองทุนแนะนำธีมสู้ความกังวลเศรษฐกิจถดถอย KF-TRB
กองทุนจะลงทุนใน PIMCO Total Return Bond Fund ที่กระจายการลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพสูงอย่างรอบคอบ และมุ่งสร้างผลตอบอย่างสม่ำโดยที่คุ้มค่ากับความเสี่ยง
ถึงแม้ว่าความผันผวนจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้ามีความรู้และความเข้าใจ เรายังสามารถรับมือและหาโอกาสจากมันได้ ยังไงก็อย่าลืมติดตามความรู้ดี ๆ ที่พวกเรา FinVest ตั้งใจทำมาให้นักลงทุนทุกท่านด้วยนะครับ สุดท้ายนี้ยังไงก็ขอให้นักลงทุนทุกท่านโชคดีกับการลงทุนในอีกครึ่งปีหลังที่เหลือครับผม
กองทุนนี้ สามารถลงทุนผ่านแอปพลิเคชัน FinVest ได้เลยที่ https://finvest.onelink.me/CoWV/cd81c26c
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ Line https://lin.ee/3wINMDBsz
Follow us on Website: www.finvest.co.th