การลงทุนผ่านกองทุน FIF ในประเทศ VS ลงทุนตรงกองทุนต่างประเทศ (Direct Offshore) ต่างกันยังไง แบบไหนเหมาะกว่า

การลงทุนผ่านกองทุน FIF ในประเทศ VS ลงทุนตรงกองทุนต่างประเทศ (Direct Offshore) ต่างกันยังไง แบบไหนเหมาะกว่า

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ถือเป็นปรากฏการณ์สำหรับนักลงทุนไทยที่สามารถลงทุนในกองทุนต่างประเทศได้โดยที่ไม่ต้องผ่าน บลจ.ของไทย แน่นอนด้วยความที่มันเป็นสิ่งใหม่ ย่อมตามมาด้วยคำถามหลาย ๆ ข้อ หนึ่งในคำถามสำคัญที่ถูกถามบ่อย  ๆ คือคำถามที่ว่า “การลงทุนกองทุนต่างประเทศตรง ๆ ผ่าน Direct Offshore กับการซื้อ FIF ผ่าน บลจ.ไทย มันแตกต่างกันอย่างไร” หลายคนอาจจะสงสัยว่า ในเมื่อสุดท้ายปลายทาง เราก็ถือกองทุนกองเดียวกันอยู่ดี แล้วแบบนี้จะลงทุนผ่านทางช่องทางไหนดี วันนี้ทาง FinVest จะมาช่วยอธิบายถึงความแตกต่างหลักๆ ให้นักลงทุนพิจารณากันครับ

FIF คืออะไร ?

เริ่มแรกเราต้องมาทำความรู้จักกับกองทุน FIF ก่อน ที่มีที่มาจาก Foreign Investment Fund กองทุนที่ว่านี้เป็นกองทุนประเภทหนึ่งที่นำเงินนักลงทุนไปลงทุนในต่างประเทศ แต่วิธีการลงทุนของกองทุนแบบนี้นั้น ผู้จัดการกองทุนจะไม่ได้เลือกหุ้นด้วยตัวเอง แต่จะเลือกกองทุนที่จะไปลงทุนเพียงกองเดียว แล้วลงทุนผ่านกองทุนนั้น โดยกองทุนที่ถูกเลือกนั้นเราจะเรียกว่า Master Fund ตัวอย่างเช่น กองทุน A จาก บลจ.ไทย ลงทุนในกองทุน B ซึ่งกองทุน B มีนโยบายลงทุนในหุ้นเติบโตทั่วโลก กองทุน A ก็จะถือว่ามีนโยบายอย่างเดียวกันทุกประการตามไปด้วย

การลงทุนผ่าน Direct Offshore ไปยัง Master Fund โดยตรงคืออะไร ?

คือการลงทุนที่เราลงทุนกองทุนต่างประเทศที่เราสนใจโดยตรง โดยไม่ผ่าน FIF นั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนั้นนักลงทุนไทยสามารถทำได้แล้ว เพียงซื้อขายกับทาง FinVest

ทีนี้เราจะมาเปรียบเทียบประเด็นที่น่าสนใจ เกี่ยวกับความต่างระหว่างการลงทุนทั้งสองแบบ โดยประเด็นที่เราจะมาวิเคราะห์กันวันนี้ประกอบไปด้วย ประเด็นทั้งหมด 4 ประเด็น ได้แก่

ประเด็นที่หนึ่ง ค่าธรรมเนียม

โดยทั่วไปแล้ว เวลานักลงทุนทำการซื้อกองทุน จะโดนหักค่าธรรมเนียมใหญ่ ๆ อยู่ 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยโดยตรง และอีกส่วนคือค่าธรรมเนียมที่ทางกองทุนรวมเรียกเก็บ ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าเราลงทุนผ่าน FIF เราจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมที่กล่าวมาทั้งหมดสองต่อ โดยส่วนแรกเป็นค่าธรรมเนียมการจัดการของ บลจ. ที่เป็น FIF และอีกส่วนเป็นค่าธรรมเนียมการจัดการของกองทุนที่เป็น Master Fund อีกรอบ ในขณะถ้าเลือกลงทุนแบบผ่าน Direct Offshore โดยตรง จะเสียค่าธรรมเนียมกองทุนแค่รอบเดียว คือกองทุนที่เราไปลงทุนไว้นั่นเอง

ประเด็นที่สอง ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

อัตราแลกเปลี่ยนถือเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผลการลงทุนนั้นผันผวน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วทาง ก.ล.ต กำหนดให้ทางบริษัทหลักทรัพย์ที่จัดการกองทุน ต้องบอกให้ผู้ลงทุนทราบถึงความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของหลักทรัพย์ที่ทางกองทุนได้ไปลงทุน ซึ่งข้อดีของการลงทุนกับ FIF คือกองทุนส่วนใหญ่ที่ดำเนินการจาก บลจ.จะมีการป้องกันความเสี่ยงไว้ให้ ทั้งนี้ต้องอ่านนโยบายกองทุนให้ดีว่าป้องกันความเสี่ยงแบบใด เพราะบางกองอาจจะตามดุลยพินิจผู้จัดการ ขณะที่บางกองก็กำหนดเป็นอัตราส่วนชัดเจน หรือแม้กระทั่งบางกองอาจจะไม่มีการป้องกันเลย แต่ถ้าเราทำการซื้อกองทุน Master Fund โดยตรง ในปัจจุบันยังไม่มีการป้องกันความเสี่ยง นักลงทุนอาจกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

ประเด็นที่สาม ภาษี

ผู้ลงทุนกองทุนจะต้องเสีย ณ ที่จ่าย 10% สำหรับเงินปันผล แต่ในส่วนของ Capital Gain หรือส่วนต่างจากราคาซื้อขายนั้น อ้างอิงตามเกณฑ์ภาษีปี 2563 จะพบว่าถ้าเป็นกรณีการขายกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฏหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กำไรส่วนนี้จะไม่ถูกนำไปคิดภาษี ทว่าสถานการณ์ปัจจุบัน การซื้อ FIF มีเรื่องที่ต้องคำนึงถึง เนื่องจากปัจจุบันกองทุนมีสภาพเป็นนิติบุคคล ดังนั้นเงินได้ที่กองทุนได้รับในรูปแบบผลตอบแทนจากดอกเบี้ย จะต้องเสียภาษีด้วย เรื่องนี้อาจจะไม่กระทบที่ตัวนักลงทุนรายบุคคลโดยตรง แต่จะกระทบมาที่ผลตอบแทนของกองทุนที่เราไปลงทุน อย่างไรก็ดี ในกรณีการลงทุนไปยัง Master Fund โดยตรง หากนักลงทุนรายบุคคลขายและนำกลับไทยในปีเดียวกัน ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ ฯ

ประเด็นที่สี่ จำนวนเงินขั้นต่ำในการลงทุน

ปัจจุบันจำนวนเงินขั้นต่ำในการซื้อขายกองทุนไปยัง Master Fund โดยตรง จะอยู่ที่ 30,000 บาทต่อหนึ่งคำสั่งซื้อ โดยถ้าเทียบจำนวนเงินขั้นต่ำกับ FIF จำนวนเงินขั้นต่ำจะน้อยกว่ามาก ดังนั้นการซื้อ FIF อาจเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น หรือวัยเพิ่งเริ่มทำงาน โดยบางกองนั้นในปัจจุบันสามารถซื้อขายโดยใช้เงินเริ่มต้นเพียงแค่ 1 บาทเท่านั้น


จากทั้งหมด 4 ข้อที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า บางครั้งนักลงทุนอาจต้องชั่งใจในการลงทุนว่าจะลงทุนผ่าน กองทุน FIF หรือซื้อขายตรง ๆ ผ่าน Master Fund ดี แต่หากอ่านมาถึงตรงนี้ขอบอกเลยว่าไม่ต้องกังวล ด้วย Platform ของ FinVest ที่สามารถให้นักลงทุนเลือกสรรกองทุนชั้นนำ ให้ลงทุนทั้งแบบ FIF และ ซื้อขายตรง ๆ ทั้งสองรูปแบบกันไปเลย แล้วยังมีทีมงานมืออาชีพคอยเลือกกองทุนให้นักลงทุนอีกด้วย อย่างเช่นกองทุน Ballie Gifford Worldwide Long Term Global Growth Fund A Usd Acc ที่มีจุดเด่นคือเฟ้นหาหุ้นเติบโตแบบก้าวกระโดดจากทั่วโลกที่มีจำนวนเพียงแค่หยิบมือ ผ่านการคัดสรรด้วยกระบวนการความคิดที่ไม่ติดกับกรอบเดิม ๆ ในหลากหลายธีมการลงทุน ทั้งกลุ่มวิธีการรักษาทางการแพทย์ที่ยังไม่เคยถูกค้นพบ , การค้ารูปแบบใหม่ที่ปฏิวัติการค้าแบบดั้งเดิม หรือกลุ่มนวัตกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ให้นักลงทุนสามารถซื้อตรงๆผ่าน App หรือจะซื้อผ่านกอง FIF อย่าง ONE-UGG-RA ก็สามารถทำได้ทั้งนั้น สองกองทุนทั้ง FIF และ Master Fund ได้รับการจัดอันดับสูงสุด 5 ดาว จากมอร์นิ่งสตาร์อีกด้วย (อ้างอิง 30 ก.ย. 2564)

ทำความรู้จักกับกองทุน Ballie Gifford Worldwide Longterm Global Growth อย่างละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ bit.ly/FinVestBLGF

กองทุนทั้งหมดนี้ สามารถลงทุนผ่านแอป FinVest ได้เลยที่
https://finvest.onelink.me/CoWV/cd81c26c
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ Line https://lin.ee/3wINMDBsz
Follow us on Website: www.finvest.co.th
.
#FinVest #YourWingsYourWay

อ้างอิง

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม | เงินปันผลและกำไรจากการขาย

https://www.moneyweb.co.za/financial-advisor-views/should-i-invest-in-direct-offshore-funds-or-feeder-funds/

https://www.linkedin.com/pulse/feeder-funds-vs-direct-offshore-investments-why-pays-invest-nel-cfp-

https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/foreign-investment-funds.html

ค่าธรรมเนียมกองทุนมีอะไรบ้าง? รู้ครบ จบในที่เดียว I POCKET MONEY EP19

https://www.rd.go.th/23766.html

Related Posts